Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5157
Title: ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดในอำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์
Factors affecting self-protection behavior from pesticide using of corn growers in Ban Khok District, Uttaradit Province 
Authors: SUCHADA KHONGKAEW
สุชาดา ข้องแก้ว
Sarunya Thiphom
สรัญญา ถี่ป้อม
Naresuan University. Faculty of Public Health
Keywords: เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด, พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมี, สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
Corn farmer Chemical Self - Defense Behavior Chemical Pesticides
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: This research was cross-sectional descriptive study aimed to study the that influence corn growers' pesticide use for self-protection in Ban Khok district, Uttaradit Province. These 305 farmers who were registered as corn growers in 2017 were studied using cluster sampling. Data was collected using questionnaires based on the health belief model theory. The data were analyzed using descriptive statistic such as frequency, percentage, means and standard deviation.  Inferential statistics were calculated using multiple regression analysis. The findings found that the majority of farmers showed high levels of pesticide self-protection behaviors when using pesticides (64.3%). Factors including perceived susceptibility for pesticide use, perceived severity for pesticide use, marital status, duration of pesticide use, cue to action, and high school education was significantly (p<0.05) related to corn farmers' self-protection behavior from pesticide use. The results of the association factors can be used in a health promotion campaign to change behaviors and as a guideline for developing a pesticide exposure surveillance system for farmers.
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ของเกษตรผู้ปลูกข้าวโพดในอำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยศึกษาในเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดที่ขึ้น ทะเบียนปลูกข้าวโพดในปี 2560 จำนวน 305 ครัวเรือน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้นจากทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ (Health Belief Model) เป็นกรอบแนวคิด และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานโดยใช้วิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่ในระดับดี ร้อยละ 64.3 ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ได้แก่ การรับรู้โอกาสเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช การรับรู้ความรุนแรงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สถานภาพสมรส ระยะเวลาในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช การรับรู้ประโยชน์ต่อการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ระยะเวลาในการปลูกข้าวโพด สิ่งชักนำให้เกิดการปฏิบัติ และการศึกษามัธยมตอนปลาย ผลที่ได้จากการหาความสัมพันธ์สามารถนำไปประยุกต์ในจัดโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาระบบเฝ้าระวังการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรต่อไป
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5157
Appears in Collections:คณะสาธารณสุขศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60062947.pdf2.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.