Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5141
Title: การพัฒนาแบบจำลองการวัดตัวชี้วัดประสิทธิภาพของระบบขนส่งสินค้าทางราง กรณีศึกษา : รถไฟทางคู่เส้นทางนครสวรรค์ – กำแพงเพชร – ตาก – แม่สอด
Measurement Model of Rail Freight Performance Indicator: Case Study Mae Sot - Tak - Kamphaeng Phet - Nakhon Sawan Double - Track Railway
Authors: Patcharida Sungtrisearn
พัชริดา สังข์ตรีเศียร
Klairung Ponanan
ใกล้รุ่ง พรอนันต์
Naresuan University. Faculty of Logistics and Digital Supply Chain
Keywords: ตัวชี้วัดประสิทธิภาพ
ระบบขนส่งสินค้าทางราง
รถไฟทางคู่
แบบจำลองการวัด
การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน
Performance Indicator
Rail Freight
Double – Track Railway
Measurement Model
Confirmatory Factor Analysis (CFA)
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: Due to the plans for the development of a rail network in Thailand, in order to improve the existing rail system and complete the double-track rail system for connecting to each region of Thailand. The rail system can be promoted to be the main transportation mode for freight after completing the rail system in the development plan. Mae Sot – Tak – Kamphaeng Phet – Nakhon Sawan Double – Track Railway is one of the projects in the development plan, which is the main route to transport products through the Mae Sot border to Myanmar. The purpose of this research is 1) to study the performance indicator for Rail Freight of consumer products on the route Nakhon Sawan – Kamphaeng Phet – Tak – Mae Sot, 2) to develop measurement model of rail freight Performance Indicator for Consumer Products on Mae Sot – Tak – Kamphaeng Phet – Nakhon Sawan Double – Track Railway by applying the Confirmatory Factor Analysis (CFA), and 3) to propose the guidelines to induce entrepreneurs for selecting railway transport mode. In this study, the questionnaire is employed to collect the related information especially factors. The relevant factors are used in this study based on the literature review. The sample size is 150 samples, which consists of manufacturers, Logistics Service Providers (LSPs), warehouse operators, and distribution center operators. Furthermore, the Performance Indicator of rail freight for Consumer Products have been analyzed by applied Confirmatory Factor Analysis (CFA). The results showed that the model is consistent with the empirical data (χ2 = 244.728, χ2 /df = .967, df = 253, p = .634, GFI = .990, AGFI = .970, CFI =1.000, RMR = .036, RMSEA = .000). The main indicator is transportation cost, this indicator is considered first when the entrepreneurs select the transportation mode. Other factors i.e., security, reliability, transportation time, rail network accessibility, and facilities for supporting rail mode, these indicators have been considered as minor factors.
เนื่องจากประเทศไทยมีแผนในการพัฒนาระบบรางให้มีเส้นทางการขนส่งที่ครอบคลุมไปยังแต่ละภูมิภาค และสนับสนุนให้ระบบรางเป็นการรูปแบบการขนส่'สินค้าหลัก โครงการรถไฟทางคู่เส้นทางนครสวรรค์ – กำแพงเพชร – ตาก – แม่สอด เป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายตามแผนพัฒนาฯ และถือเป็นเส้นทางหลักในการขนส่งสินค้าผ่านด่านพรมแดนถาวรแม่สอดไปยังเมียนมา งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาตัวชี้วัดที่มีผลต่อประสิทธิภาพการขนส่งสินค้kอุปโภคบริโภคทางรางบนเส้นทางนครสวรรค์ –กำแพงเพชร – ตาก – แม่สอด 2) เพื่อพัฒนาแบบจำลองการวัดตัวชี้วัดประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าอุปโภคบริโภคทางรางบนเส้นทางนครสวรรค์ – กำแพงเพชร – ตาก – แม่สอด โดยการประยุกต์ใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางเบื้องต้นในการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเลือกรูปแบบการขนส่งสินค้าอุปโภคบริโภคทางราง โดยขั้นตอนในการศึกษาประกอบไปด้วย การทบทวนข้อมูลตัวชี้วัดที่ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการขนส่งสินค้า เพื่อนำมาใช้ประกอบการออกแบบแบบสอบถาม หลังจากนั้นทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่ได้ทำการออกแบบ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้ประกอบการด้านการผลิต ผู้ประกอบการด้านการขนส่ง และผู้ประกอบการที่ประกอบธุรกิจศูนย์กลางกระจายสินค้าอุปโภคบริโภค จำนวน 150 ตัวอย่าง และทำการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของแบบจำลองการวัดตัวชี้วัดประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าอุปโภคบริโภคด้วย โดยผลการวิเคราะห์ของแบบจำลองมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในเกณฑ์ที่ดี (χ2 = 244.728, χ2 /df = .967, df = 253, p = .634, GFI = .990, AGFI = .970, CFI =1.000, RMR = .036 และ RMSEA = .000) ซึ่งลำดับตัวชี้วัดประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าอุปโภคบริโภคทางรางที่จากผลของการวิเคราะห์ด้วยแบบจำลองการวัดฯ ที่ถูกพัฒนาขึ้น ได้แก่ 1) ต้นทุนการขนส่ง 2) ความปลอดภัยของสินค้า 3) ความน่าเชื่อถือและตรงเวลา 4) ความรวดเร็วในการขนส่ง 5) โครงข่ายที่สามารถเข้าถึงแหล่งผลิตสินค้า คลังเก็บสินค้า หรือศูนย์กระจายสินค้า และ 6) การบริการเครื่องมือและอุปกรณ์ในการขนถ่ายสินค้า ตามลำดับ
Description: Master of Science (M.S.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5141
Appears in Collections:คณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62062426.pdf3.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.