Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5085
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorAUTSANI SIMUANGen
dc.contributorอุษณีย์ สีม่วงth
dc.contributor.advisorJakkrit Jantakoonen
dc.contributor.advisorจักรกฤษณ์ จันทะคุณth
dc.contributor.otherNaresuan University. Faculty of Educationen
dc.date.accessioned2023-01-11T02:30:45Z-
dc.date.available2023-01-11T02:30:45Z-
dc.date.issued2565en_US
dc.identifier.urihttp://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5085-
dc.descriptionMaster of Education (M.Ed.)en
dc.descriptionการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)th
dc.description.abstractThis research aims to 1) create and determine the effectiveness of maths learning activities using the DAPIC problem solving process through a digital platform based on the 75/75 criteria via a digital platform, 2) study the results of an experiment on maths learning activities using the DAPIC problem-solving process through a digital platform; 2.1) compare grade 6 students' maths problem solving abilities before and after  the treatment, 2.2) compare the maths problem solving abilities of Grade 6 students after the treatment with 75% of the criteria followed by research and development processes. The sample group was twenty-one Grade 6 students who were studying during semester 2 academic year, 2021 that were chosen by cluster sampling. The research instrument are maths learning activities by using the DAPIC problem solving process through a digital platform to promote the mathematical problems solving for students in grade 6 and maths problem solving ability test. The statistics were analysed using mean, standard deviation, and t-test.                 The results of the research were as follows: 1. The results of creating and determining the efficiency  of maths learning activities by using the DAPIC problem-solving process through a digital platform. was 82.96/84.17, which met the the 75/75 criteria. 2. ability to solve maths problems after the treatment (Mean = 31.24, S.D.= 2.28) was significantly higher than before (Mean = 9.86, S.D = 5.51) at the 0.05 level of significance and ability to solve maths problems after the treatment (Mean = 31.24, S.D. = 2.28) was 75 percent higher than the criteria. at the 0.05 level of significanceen
dc.description.abstractงานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหา DAPIC ผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์ม ตามเกณฑ์ 75/75 2) ศึกษาผลการทดลองใช้กิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหา DAPIC ผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์ม 2.1) เปรียบเทียบความสามารถ ในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนและหลังเรียน 2.2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 75 โดยดำเนินการศึกษาตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1 ห้องเรียน 21 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ กิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหา DAPIC ผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์ม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และแบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. กิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหา DAPIC ผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.96/84.17 ซึ่งมีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ 75/75 2. นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ หลังเรียน (Mean = 31.24, S.D.= 2.28) สูงกว่าก่อนเรียน (Mean = 9.86, S.D. = 5.51) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียน (Mean = 31.24, S.D.= 2.28) สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05th
dc.language.isothen_US
dc.publisherNaresuan Universityen_US
dc.rightsNaresuan Universityen_US
dc.subjectกระบวนการแก้ปัญหา DAPICth
dc.subjectกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์th
dc.subjectดิจิทัลแพลตฟอร์มth
dc.subjectDAPICen
dc.subjectlearning activities in Mathematicsen
dc.subjecta digital platformen
dc.subject.classificationMathematicsen
dc.titleการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหา DAPIC ผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์ม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6en
dc.titleThe development of learning activities in Mathematics using the DAPIC problem solving process through a digital platform to enhance Mathematical solving problem ability for grade 6 studentsth
dc.typeIndependent Studyen
dc.typeการค้นคว้าอิสระth
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63091111.pdf6.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.