Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5062
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorTamareen Tongtaben
dc.contributorแทมมารีน ทองทับth
dc.contributor.advisorTussana Jarucharten
dc.contributor.advisorทัศนา จารุชาตth
dc.contributor.otherNaresuan University. Faculty of Educationen
dc.date.accessioned2023-01-11T02:30:42Z-
dc.date.available2023-01-11T02:30:42Z-
dc.date.issued2565en_US
dc.identifier.urihttp://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5062-
dc.descriptionMaster of Education (M.Ed.)en
dc.descriptionการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)th
dc.description.abstractThe main objective of the present study was to determine the relations between emotional quotient, intelligence quotient, physical activity, physical fitness and stress in overweight and obese adolescents. The overweight and obese middle school students, aged 12-13 years, participated in this study. The samples had BMI greater than the 85th percentile compared to the CDC Body mass index for age (BMI-for-age) for aged 2-20 years (n = 65, 30 males, and 35 females). The data were collected three times within 3rd-6th week of the course, which were divided into 1) collecting a series of demographic and physiological variables, 2) collecting a set of variables including, emotional quotient, intelligence quotient, and physical activity, and 3) collecting a set of stress and physical fitness testing. Bivariate correlation (Pearson’s correlation) analyses were used to examine the relations of all variables with level of significance .05. The results showed that 1) emotional quotient was positively associated at a high level with intelligence quotient (p< 0.01), 2) emotional quotient was positively associated at a high level with physical activity and all variables of physical fitness, but were negatively associated at a very high levels with stress (p< 0.01), and 3) intelligence quotient was positively associated at a medium level with physical activity (p< 0.01). There was a high level of positive association with flexibility (p<0.01) and the results showed a low positive association with strength and endurance of the upper muscles (p<0.05). Also, there was a moderate positive association with strength and endurance of the lower muscles, and cardiovascular endurance (p<0.01), but were negatively associated at a very high level with stress (p<0.01), In conclusion, emotional quotient showed an association with intelligence quotient. This is noted that they were declining in overweight and obese adolescents who had insufficient physical activity, low health related physical fitness, and high stress.en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์ ความฉลาดทางเชาวน์ปัญญา การมีกิจกรรมทางกาย สมรรถภาพทางกาย และความเครียดในวัยรุ่นที่มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน อายุ 12-13 ปี ที่มีค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 85th percentile เมื่อเทียบกับกราฟดัชนีมวลกายของ CDC Body mass index for age (BMI-for-age) สำหรับอายุ 2-20 ปี จำนวน 65 คน ซึ่งแบ่งเป็นเพศชาย 30 คน และเพศหญิง 35 คน ผู้วิจัยทำการเก็บข้อมูลทั้งหมด 3 ครั้ง ภายในสัปดาห์ที่ 3-6 ของการเรียน แบ่งเป็น 1) เก็บข้อมูลลักษณะประชากรและตัวแปรทางสรีรวิทยา 2) ตรวจวัดค่าตัวแปรต่างๆ ได้แก่ ความฉลาดทางอารมณ์ ความฉลาดทางเชาวน์ปัญญา และระดับการมีกิจกรรมทางกาย และ 3) ตรวจวัดภาวะเครียด และทดสอบสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ แล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Bivariate correlation; Pearson’s Correlation) ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1) ความฉลาดทางอารมณ์มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงกับความฉลาดทางเชาวน์ปัญญาอย่างมีนัยทางสถิติที่ระดับ .01 2) ความฉลาดทางอารมณ์มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงกับการมีกิจกรรมทางกายและสมรรถภาพทางกายทุกด้านอย่างมีนัยทางสถิติที่ระดับ .01 แต่มีความสัมพันธ์เชิงลบในระดับสูงมากกับความเครียดอย่างมีนัยทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) ความฉลาดทางเชาวน์ปัญญามีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลางกับการมีกิจกรรมทางกายอย่างมีนัยทางสถิติที่ระดับ .01 มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงกับสมรรถภาพทางกายด้านความอ่อนตัวอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับต่ำกับสมรรถภาพทางกายด้านความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อส่วนบนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลางกับสมรรถภาพทางกายด้านความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อส่วนล่าง และด้านความอดทนของระบบหัวใจและไหลเวียนเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่มีความสัมพันธ์เชิงลบในระดับสูงมากกับความเครียดอย่างมีนัยทางสถิติที่ระดับ .01 สรุปได้ว่า ความฉลาดทางอารมณ์และความฉลาดทางเชาวน์ปัญญามีความสัมพันธ์ระหว่างกัน โดยพบความฉลาดทางอารมณ์และเชาวน์ปัญญาที่น้อยลงในวัยรุ่นที่มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน ซึ่งเป็นผู้ที่มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ มีสมรรถภาพทางกายต่ำ และมีความเครียดสูงth
dc.language.isothen_US
dc.publisherNaresuan Universityen_US
dc.rightsNaresuan Universityen_US
dc.subjectความฉลาดทางอารมณ์และเชาวน์ปัญญาth
dc.subjectกิจกรรมทางกายth
dc.subjectสมรรถภาพทางกายth
dc.subjectความเครียดth
dc.subjectภาวะน้ำหนักเกินth
dc.subjectอ้วนth
dc.subjectEmotional and Intelligence quotienten
dc.subjectPhysical activityen
dc.subjectPhysical fitnessen
dc.subjectStressen
dc.subjectOverweighten
dc.subjectObeseen
dc.subject.classificationArts and Humanitiesen
dc.titleความสัมพันธ์ของความฉลาดทางอารมณ์ ความฉลาดทางเชาวน์ปัญญา การมีกิจกรรมทางกาย สมรรถภาพทางกาย และความเครียดในวัยรุ่นที่มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนth
dc.titleTHE RELATION OF EMOTIONAL QUOTIENT, INTELLIGENCE QUOTIENT, PHYSICAL ACTIVITY, PHYSICAL FITNESS AND STRESS IN OVERWEIGHT AND OBESE ADOLESCENTSen
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63061770.pdf8.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.