Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/4459
Title: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี
Factors influencing falls prevention behavior among the elderly in Thapthan District Uthaithani Province
Authors: NUTCHAYA PHAONGTHONG
ณัฐชยา พวงทอง
Orawan Keeratisiroj
อรวรรณ กีรติสิโรจน์
Naresuan University. Faculty of Public Health
Keywords: การหกล้ม
ผู้สูงอายุ
พฤติกรรมป้องกันการหกล้ม
Eldery
Fall
Fall prevention behavior
Issue Date: 2564
Publisher: Naresuan University
Abstract: This cross-sectional descriptive study aimed to: 1) study fall prevention behavior of older adults, and 2) investigate factors influencing on falls prevention behavior among older people living in Thap Than District. Uthai Thani Province. A sample consisted of 349 older adults aged 60 years and over. Data was collected by interviews. Data were analyzed by using descriptive statistics and analyze influencing factors by using binary logistic regression analysis. The major findings were as follows: About 89.7% of participants reported that they had a good level of fall prevention behaviors. Multivariate binary logistic regression revealed that a model containing age, occupation, perception severity, perception barriers, access to information, and The safety of the residential environment, both internal and external. It is a factor influencing fall prevention behavior in the elderly at a 0.05 statistical significant level. The suggestion for this research is the healthcare organization should promote and prepare for a pre-aging period and elderly in order to solve health problems and services in accordance with the needs of the elderly. By giving precedence to the correct behavior and the daily life of the elderly.
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ และ 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในอำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป จำนวน 349 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลคุณลักษณะส่วนบุคคลและเครื่องมือการประเมินการหกล้ม แบบสอบถามการรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ แบบสอบถามสิ่งชักนำสู่การปฏิบัติ แบบสอบถามสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัย และแบบสอบถามพฤติกรรมป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีอิทธิพลโดยใช้สถิติวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกทวิ (ฺBinary logistic regression analysis) ผลการวิจัย พบว่า ผู้สูงอายุ ร้อยละ 89.7 มีพฤติกรรมป้องกันการหกล้มอยู่ในระดับดี (x̄ = 53.32, SD = 4.20) โดยอายุ อาชีพ การรับรู้ความรุนแรงของการหกล้ม การรับรู้อุปสรรคต่อพฤติกรรมป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ การได้รับข้อมูลข่าวสาร  และสภาพความปลอดภัยของที่อยู่อาศัยทั้งสิ่งแวดล้อมภายในและภายนอก เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ข้อเสนอแนะการวิจัยครั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมและเตรียมความพร้อมสำหรับช่วงวัยก่อนสูงอายุและสำหรับวัยสูงอายุเพื่อแก้ไขปัญหาและบริการทางสุขภาพให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้สูงอายุ โดยให้ความสำคัญกับการปฏิบัติพฤติกรรมที่ถูกต้องและเหมาะสมกับการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/4459
Appears in Collections:คณะสาธารณสุขศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60060950.pdf3.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.