Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/4454
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของหัวหน้าครัวเรือนกลุ่มชาติพันธุ์ ตำบลป่ากลาง อำเภอปัว จังหวัดน่าน
Factors Affecting Dengue Hemorrhagic Fever Prevention Behavior of Ethnic Household Heads in Pa Klang Subdistrict,  Pua District, Nan Province
Authors: NAPARAT OUNGERN
นภารัตน์ อู่เงิน
Pramote Wongsawat
ปราโมทย์ วงศ์สวัสดิ์
Naresuan University. Faculty of Public Health
Keywords: พฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก
โรคไข้เลือดออก
หัวหน้าครัวเรือนกลุ่มชาติพันธุ์
กลุ่มชาติพันธุ์
Preventive behaviors of dengue fever
Dengue fever
Ethnic household head
Ethnic population
Issue Date: 2564
Publisher: Naresuan University
Abstract: This research aimed to 1) study the levels of perceived susceptibility, perceived severity, perceived outcomes of dengue prevention, perceived self-efficacy in dengue prevention and preventive behaviors of dengue fever among ethnic household heads, and 2) to determine factors affecting dengue prevention behaviors among ethnic household heads. The samples in the research were 319 ethnic household heads, Pa Klang Subdistrict, Pua District, Nan Province, selecting by systematic random sampling. Data were collected using the interview form created by the researcher. The interview form was verified and met the standard criteria. Data were analyzed by percentage, means, standard deviation, min, max and stepwise multiple regression analysis. The statistical significance was determined at 0.05 level. It is the criterion for accepting the hypothesis. The results showed that perceived susceptibility, perceived severity, perceived outcomes of dengue prevention, perceived self-efficacy in dengue prevention and preventive behaviors of dengue fever among ethnic household heads were observed at the high level. It was found that factors affecting dengue prevention behaviors among ethnic household heads, Pa Klang sub-district, Pua District, Nan Province, ranked in descending order were as follows: 1) perceived self-efficacy in dengue prevention, 2) obtaining advice on dengue prevention from village health volunteers, 3) age, 4) perceived severity of dengue fever and these four variables had a positive effect on dengue prevention behaviors, 5) perceived susceptibility of dengue fever with a negative effect on disease prevention behavior, 6) receiving information about dengue fever, and 7) obtaining advice on prevention of dengue fever from health personnel was a positive effect on dengue prevention behavior. These 7 variables were able to predict dengue prevention behaviors by 36.6% (R Square = 0.366). Regarding to the findings in this research, relevant institutions can use the research results to create activities for promoting perceived self-efficacy, perceived severity of dengue fever, including giving advices and information for dengue prevention. All of these activities can affect the prevention behavior of dengue fever and lead to decrease morbidity and mortality of dengue fever among ethnic populations in Pa Klang Sub-District, Pua District, Nan Province. Moreover, these activities can be applied in other areas as appropriate.
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับของการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค การรับรู้ความรุนแรงของโรค การรับรู้ผลลัพธ์ของการป้องกันโรคไข้เลือดออก การรับรู้ความสามารถตนเองในการป้องกันโรคไข้เลือดออก และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก ของหัวหน้าครัวเรือนกลุ่มชาติพันธุ์ และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของหัวหน้าครัวเรือนกลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ หัวหน้าครัวเรือนกลุ่มชาติพันธุ์  ตำบลป่ากลาง อำเภอปัว จังหวัดน่าน จำนวน 319 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และผ่านการตรวจสอบคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เป็นเกณฑ์ในการยอมรับสมมติฐาน  ผลการวิจัย พบว่า การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้เลือดออก รับรู้ความรุนแรงของโรคไข้เลือดออก การรับรู้ผลลัพธ์ของการป้องกันโรคไข้เลือดออก การรับรู้ความสามารถตนเองในการป้องกันโรคไข้เลือดออกและพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก อยู่ในระดับสูง และพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของหัวหน้าครัวเรือนกลุ่มชาติพันธุ์ ตำบลป่ากลาง อำเภอปัว จังหวัดน่าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ ดังนี้ 1) การรับรู้ความสามารถตนเองในการป้องกันโรคไข้เลือดออก 2) การได้รับคำแนะนำในการป้องกันโรคไข้เลือดออกจากอาสาสมัครสาธารณสุข 3) อายุ 4) การรับรู้ความรุนแรงของโรคไข้เลือดออก โดยทั้ง 4 ตัวแปรมีผลทางบวกต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก 5) การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้เลือดออก โดยมีผลทางลบต่อพฤติกรรมการป้องกันโรค 6) การได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก และ 7) การได้รับคำแนะนำในการป้องกันโรคไข้เลือดออกจากบุคลากรสาธารณสุข โดยมีผลทางบวกต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยตัวแปรดังกล่าวสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกได้ร้อยละ 36.6 (R Square = 0.366) จากผลการวิจัยครั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างการรับรู้ความสามารตนเอง การรับรู้ความรุนแรงของโรคไข้เลือดออก รวมทั้งการให้คำแนะนำและข้อมูลข่าวสารในการป้องกันโรคไข้เลือดออก ซึ่งจะส่งผลต่อการมีพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก อันจะนำไปสู่การลดลงของอัตราป่วยและอัตราตายด้วยโรคไข้เลือดออกของประชากรกลุ่มชาติพันธุ์ ตำบลป่ากลาง อำเภอปัว จังหวัดน่าน รวมทั้งการประยุกต์ใช้ในพื้นที่อื่นๆ ตามความเหมาะสมต่อไป
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/4454
Appears in Collections:คณะสาธารณสุขศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62061306.pdf3.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.