Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/3950
Title: ประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร
Effectiveness of Self-efficacy Building Program on Stroke Promoting Behaviors among Elderly with Chronic illness in Khlong Khung District, Kampaengphet Province.
Authors: PITCHANAN SAGUANSUK
พิชชานันท์ สงวนสุข
Sunsanee Mekrungruangwong
ศันสนีย์ เมฆรุ่งเรืองวงศ์
Naresuan University. Faculty of Public Health
Keywords: พฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง
ผู้สูงอายุโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะแห่งตนต่อการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
Promoting Self-Efficacy Program
Prevention Behavior Stroke
Eldery with chronic illness
Issue Date: 2564
Publisher: Naresuan University
Abstract: The purpose of this quasi-experimental research two group experimental research with a pre-test and post-test was to determine the effectiveness of enhancing self-efficacy program on stroke promoting behaviors among elderly with chronic illness. The sample consisted of 98 participants recruited from NCD service clinic at Khlong Khung Hospital in Kampaengphet province and above 60 years old with chronic illness. Purposive sampling technique was applied. They were randomly assigned into 2 groups: intervention and control group. Each group has 49 respondents respectively. Those in the control group were given normal care, whilst the patients in the experimental group were given combined in the enhancing self-efficacy program and also received usual advice is conducted for 12 weeks and 16 weeks more for the follow up period. Data collection instruments used were the stroke prevention behavior and perception’s self-efficacy questionnaire. Content Validity of all the research instruments were validated by 5 experts. The content validity of questionnaire behavior of stroke prevention was 0.87,  and questionnaire self-efficacy was 0.92. The questionnaires were tried out for testing relibability , using Cronbach’s alpha coefficient. The reliability of questionnaires self-efficacy was 0.87, and questionnaire behavior of stroke prevention was 0.90. Statistical analysis was performed by using descriptive statistics, Independent Samples T-Test and One-way Repeated ANOVA. When mean difference at least 1 pair, Bonferroni by set statistical significance 0.05. The results of this study revealed that: 1. The mean score behaviors of stroke prevention, perceived self-efficacy in the experimental group after the intervention of 12 weeks and 16 weeks follow up period had significance higher mean score than control group (p<.001). 2. The mean score behaviors of stroke prevention, perceived self-efficacy in the experimental group after the intervention of 12 weeks and 16 weeks follow up period had significance higher mean score than before intervention (p<.001) The results of this study have shown that perceived self-efficacy promoting program is effective in increasing health behaviors, that the group process and home health care help the Process learning self-care of ageing and health care providers should encourage the older age to the importance of cerebrovascular disease and should develop to have a group process and home health care on promoting stroke prevention knowledge and practice among elderly with chronic illness.
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มแบบวัดซ้ำ เพื่อศึกประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มาตรวจรับบริการที่คลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงพยาบาลคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 98 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มๆละ  49 คน โดยกลุ่มควบคุมได้รับคำแนะนำปกติ กลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะแห่งตน ร่วมกับคำแนะนำปกติ เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์และติดตามที่ 16 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง และ แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะของตนเอง แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่านได้ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง มีค่า 0.87  แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน มีค่า 0.92  และค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ด้านการับรู้สมรรถนะแห่งตน เท่ากับ 0.87 ด้านพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง เท่ากับ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติ Independent t-test วิเคราะห์ความแปรปรวนเมื่อมีการวัดซ้ำภายในกลุ่มด้วย ทดสอบรายคู่ด้วย Bonferroni ผลการวิจัย พบว่า 1. ค่าคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ภายหลังทดลอง 12 สัปดาห์ และระยะติดตาม 16 สัปดาห์ สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับคำแนะนำตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<.001 2. ค่าคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง หลังทดลอง 12 สัปดาห์ และระยะติดตาม 16 สัปดาห์ สูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<.001 จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนช่วยให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม บุคลากรสาธารณสุขควรมีการส่งเสริมให้กลุ่มผู้สูงอายุเห็นถึงความสำคัญของโรคหลอดเลือดสมองควรพัฒนา กิจกรรมกระบวนการกลุ่มและการเยี่ยมบ้านทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้สูงอายุ ควรมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้และการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/3950
Appears in Collections:คณะสาธารณสุขศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61061642.pdf4.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.