Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/3918
Title: คำรื่นหูในภาษาเขมร : การศึกษาตามแนวอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์
EUPHEMISM IN KHMER: AN ETHNOSEMANTIC STUDY
Authors: SOPHEAKTRA HIEN
Sopheaktra Hien
Orathai Chinakkhrapong
อรทัย ชินอัครพงศ์
Naresuan University. Faculty of Humanities
Keywords: คำรื่นหู
ภาษาเขมร
ค่านิยม
โลกทัศน์
อรรถศาสตร์ชาติพันธุ์
Euphemism
Khmer Language
Value
Worldview
Ethnosemantics
Issue Date: 2562
Publisher: Naresuan University
Abstract: The purpose of this study is to analyze the strategies of euphemism creations in the Khmer Language and to conduct an ethnosemantic study on reflection of the Khmer values and worldview on euphemism. Data were collected in several sources such as the Khmer dictionary, websites, novels, and research articles with a collection of 247 words. The results of the study show that there are 7 patterns of the linguistics strategies used in forming euphemism in Khmer; that is, metaphoric words, loanwords, devalued words, litotes, distortions, antonyms, and abbreviation. Moreover, the results also show that the denotative meaning is primarily used much more than metaphorical meaning. The denotative meaning of euphemism related to body organs was mostly found, and physical appearance, animals, bodies effluvia, sexual activity, diseases, occupations, mental states, ethnicities, intelligence, and death were found respectively. For the sake of the metaphorical meaning, a comparison to death has been mostly found, while others were natural environments, foods, activities, wars, happiness and suffering, objects or utensils, cultural practices, management, time, and love, respectively. It is also found that the euphemism in Khmer was from the reflection of three Khmer values that concern with belief, person and society, and lifestyle. Finally, the reflection in Khmer's worldview on euphemism was related to nature, sin and merit, and inequality.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กลวิธีการสร้างคำรื่นหูที่ใช้แทนคำต้องห้ามในภาษาเขมร และวิเคราะห์ประเภททางความหมายของคำรื่นหูที่สะท้อนค่านิยมและโลกทัศน์ของชาวเขมรตามแนวคิดทางอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์  ข้อมูลที่ใช้การวิเคราะห์ได้มาจากแหล่งข้อมูล ได้แก่ พจนานุกรมภาษาเขมร เว็บไซต์ที่ใช้วัจนลีลาที่เป็นภาษาเขียน นวนิยาย และงานวิจัยที่ผ่านมา โดยคำรื่นหูที่เก็บรวบรวมได้จำนวนทั้งสิ้น 247 คำ  ผลการวิเคราะห์กลวิธีการสร้างคำรื่นหูในภาษาเขมรพบ 7 รูปแบบ ได้แก่ การใช้คำอุปลักษณ์ การยืมคำศัพท์ภาษาต่างประเทศ การลดความหมายของคำ การใช้คำอุปนิเสธ การดัดแปลงคำ การใช้คำตรงข้าม และการย่อคำ  นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์ความหมายของคำรื่นหูพบว่ามีการใช้ความหมายตรงมากกว่าความหมายอุปลักษณ์ โดยความหมายตรงของคำรื่นหูจะเกี่ยวกับอวัยวะในร่างกายมากที่สุด รองลงมาเป็นเรื่องรูปลักษณ์ สัตว์ ของเสียและการขับถ่าย กิจกรรมทางเพศ โรคภัยไข้เจ็บ อาชีพ สภาพจิต ชาติพันธุ์ สติปัญญา และความตาย ตามลำดับ  ในส่วนของความหมายอุปลักษณ์ของคำรื่นหูพบการใช้อุปลักษณ์เกี่ยวกับความตายมากที่สุด รองลงมาเป็นอุปลักษณ์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ การกระทำ/กิจกรรม สงคราม ความสุขและความทุกข์ สิ่งของ/เครื่องใช้/วัตถุต่าง ๆ เครือญาติ อาหาร การปฏิบัติทางวัฒนธรรม การปกครอง เวลา และความรัก ตามลำดับ  การใช้คำรื่นหูดังกล่าวสะท้อนให้เห็นค่านิยม 3 ประการ ได้แก่ ค่านิยมที่เกี่ยวกับความเชื่อ ค่านิยมที่เกี่ยวกับบุคคลและสังคม และค่านิยมที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิต  ส่วนโลกทัศน์ที่สะท้อนจากการใช้คำรื่นหูในภาษาเขมรพบโลกทัศน์ 3 ประการ ได้แก่ โลกแห่งธรรมชาติ โลกแห่งบุญและบาป และโลกแห่งความไม่เท่าเทียม
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/3918
Appears in Collections:คณะมนุษยศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61060201.pdf3.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.