Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/3876
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสุโขทัย
Factors Affecting to Health Literacy among Village Health Volunteers in Sukhothai Province.
Authors: TATSANEE BOONMUN
ทรรศนีย์ บุญมั่น
Orawan Keeratisiroj
อรวรรณ กีรติสิโรจน์
Naresuan University. Faculty of Public Health
Keywords: ความรอบรู้ด้านสุขภาพ
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
Health Literacy
Village Health Volunteer
Issue Date: 2564
Publisher: Naresuan University
Abstract: This research aimed to study the factors affecting the health literacy of village health volunteers (VHV), Sukhothai Province. The sample in this study was 416 volunteers in 9 districts of Sukhothai Province. The research tools were a questionnaires 4 parts: general information, personal abilities, village health volunteers work and health literacy which has been verified for content validity and reliability. The statistics were used for data analysis including number, percentage, mean, standard deviation, median, maximum, minimum, and multiple linear regression analysis. The results of the study showed that most of the volunteers had good knowledge of health. The factors affecting the health literacy of the village health volunteers were statistically significant at the level 0.05, namely working motivation (p-value < 0.001, β = 0.606), recognition of volunteer roles and duties (p-value < 0.001, β = 0.253) ,social support (p-value < 0.001, β = 0.202) and average monthly income (p-value < 0.001, β = 0.046). The results of this study could be used for further development of the health literacy promotion program. To be ready to perform duties in the community, including the transfer of knowledge to the people in the future.
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จังหวัดสุโขทัย กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้คือ อสม. ในจังหวัดสุโขทัย 9 อำเภอ จำนวน 416 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป ความสามารถส่วนบุคคล การปฏิบัติงานเป็น อสม. และความรอบรู้ด้านสุขภาพ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและความเชื่อมั่น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า อสม.ส่วนใหญ่ มีความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับดี โดยปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของ อสม. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน (p-value < 0.001, β = 0.606) การรับรู้บทบาทหน้าที่ อสม. (p-value < 0.001, β = 0.253) การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม (p-value < 0.001, β = 0.202) และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน (p-value < 0.001, β = 0.046) จากผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำข้อมูลไปใช้ในการพัฒนาต่อยอดในการจัดโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพให้แก่ อสม. เพื่อให้มีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ในชุมชนรวมถึงการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ประชาชนต่อไป
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/3876
Appears in Collections:คณะสาธารณสุขศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62060699.pdf2.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.