Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/3216
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตามบทบาทการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุข ในพื้นที่ระบาดซ้ำซาก อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์
Factors Affecting the Role of Dengue Hemorrhagic Fever Prevention and Control on Health volunteers in the Area of ​​Repetitive Epidemics in Mueang District, Uttaradit Province.
Authors: WIPAWADEE WUTHIDECH
วิภาวดี วุฒิเดช
Pattanawadee Pattanathaburt
พัฒนาวดี พัฒนถาบุตร
Naresuan University. Faculty of Public Health
Keywords: บทบาทการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
The role of prevention and control of dengue fever
พื้นที่ระบาดซ้ำซาก
โรคไข้เลือดออก
Issue Date: 2564
Publisher: Naresuan University
Abstract: This study applied a cross-sectional descriptive research; the samples used in the study were 345 public health volunteers in the repeated outbreak areas, Mueang District, Uttaradit Province by systematic sampling. The instruments used were compliance questionnaire defensive role and control of dengue fever by health volunteers was valuable KR-20 and the alpha coefficient of Cronbach between 0.75-0.90. Data were analyzed using Frequency, Percentage, Mean, Standard Deviation, and stepwise multiple regression analysis. The statistical significance was set at level 0.05. The study found that the samples followed degree of protective role and control dengue fever was at a moderate level of 60.29 percent (  = 36.63, SD = 5.09). The stepwise multiple regression analysis was found that perception of preventive and control measures for dengue fever (β = 0.14, p <0.001), social support (β = 0.19, p <0.001), self-efficacy (β = 0.22, p=0.002) and holding other positions in the village (β = 0.24, p=0.002) affected the performance of village health volunteers in protective and control dengue fever in the repeated outbreak areas of 23.10 percent. In conclusion, Perception of preventive and control measures for dengue fever, social support factor, self-efficacy, and holding other positions in the village affected the performance of a protective role and control of dengue fever by health volunteers in the repeated outbreak areas, Mueang District, Uttaradit Province  
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ อาสาสมัครสาธารณสุข ในพื้นที่ระบาดซ้ำซาก อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 345 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามการปฏิบัติตามบทบาทการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุข  มีค่า KR-20 และ ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ระหว่าง 0.75-0.90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับการปฏิบัติตามบทบาทการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 60.29 (  = 36.63, SD = 5.09) การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่า การรับรู้มาตรการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก (β = 0.14, p <0.001) ปัจจัยแรงสนับสนุนทางสังคม (β = 0.19, p <0.001) ความคาดหวังในความสามารถของตนต่อการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก (β = 0.22, p=0.002) และการดำรงตำแหน่งอื่นๆในหมู่บ้าน (β = 0.24, p=0.002) มีผลต่อการปฏิบัติตามบทบาทการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่ระบาดซ้ำซาก อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ร้อยละ 23.10   ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การรับรู้มาตรการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปัจจัยแรงสนับสนุนทางสังคม ความคาดหวังในความสามารถของตนต่อการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก การดำรงตำแหน่งอื่นๆในหมู่บ้าน มีผลต่อการปฏิบัติตามบทบาทการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุข ในพื้นที่ระบาดซ้ำซาก อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/3216
Appears in Collections:คณะสาธารณสุขศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61062113.pdf5.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.