Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/2475
Title: การพิจารณาการสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะในทางปฏิบัติเปรียบเทียบกับการปฏิบัติตามเครื่องมือทำนายโอกาสการติดเชื้อแบคทีเรีย Mclsaac ในโรคคอหอยอักเสบและทอนซิลอักเสบ ณ โรงพยาบาลเกาะจันทร์ :การทบทวนเวชระเบียนย้อนหลัง
Antimicrobial Prescription in General Practice Compared with Using Mclsaac Clinical Decision Rule in Pharyngitis and Tonsillitis at Ko Chan Hospital: A Retrospective medical record review
Authors: RUETHAIRAT SRIKWAN
ฤทัยรัตน์ ศรีขวัญ
Prayuth Poowaruttanawiwit
ประยุทธ ภูวรัตนาวิวิธ
Naresuan University. Faculty of Pharmaceutical Sciences
Keywords: คอหอยอักเสบเฉียบพลัน
Acute pharyngitis
Mclsaac score
Antibiotic prescribing
Issue Date: 2563
Publisher: Naresuan University
Abstract: Objective: To study the determination of antibiotic prescribing and cost of antibiotics in pharyngitis and tonsillitis in general practice the correlation of Mclsaac criteria. Methods: This research was a retrospective descriptive study during October 1, 2017 to March 31, 2019 at a community hospital. The study collected clinical data of outpatients diagnosed with acute pharyngitis and acute tonsillitis from electronic database of the hospital. Results: Number of visits of eligible outpatients diagnosed with acute pharyngitis and acute tonsillitis was 1,228. When using Mclsaac score to assess patients with the cut point for antibiotics prescribing at ≥ 4, numbers of visits with the scores reaching the level for antibiotic prescribing were 63 (5.13%) of total visits, whereas antibiotics were prescribed in 955 (77.7%) of total visits. 65.02% of antibiotic prescribing involved the drugs recommended by the guideline for treating these diseases including amoxicillin, cephalexin, azithromycin, roxithromycin, and clindamycin, only 8.95% received appropriate. Mclsaac criteria adherence decreased cost to 95.89%. Conclusion: Antibiotic prescribed at the community hospital in the study site was not consistent to the recommendations in standard treatment guidelines for acute pharyngitis and acute tonsillitis in terms of indications, drugs and duration of treatment. The McIsaac score is a tool to predict the risk of infection with Group A Streptococcus  that reduced unnecessary antibiotic prescription if in following these tool.
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการพิจารณาการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะ และค่าใช้จ่ายของยาปฏิชีวนะในโรคคอหอยอักเสบและต่อมทอนซิลอักเสบในทางปฏิบัติ ที่เกี่ยวข้องกับเกณฑ์ตัดสินใจสั่งใช้ยาปฏิชีวนะตามเครื่องมือทำนายโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อ Group A Streptococcus แบบ Mclsaac score วิธีการ: เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนาในช่วงระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2560 ถึง 31 มีนาคม 2562 ที่โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง การศึกษารวบรวมข้อมูลลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยนอกที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหอยอักเสบและทอนซิลอักเสบเฉียบพลันจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของโรงพยาบาล ผลการวิจัย: จำนวนครั้งของผู้ป่วยนอกที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคคอหอยอักเสบและทอนซิลอักเสบเฉียบพลัน และผ่านเกณฑ์คัดเลือกผู้ป่วยที่กำหนดไว้คือ 1,228 ครั้ง เมื่อใช้เครื่องมือ McIsaac score ประเมินผู้ป่วยโดยกำหนดคะแนนการตัดสินสั่งใช้ยาปฏิชีวนะ คือ ≥ 4 พบว่าจำนวนครั้งที่ผู้ป่วยมีคะแนนถึงเกณฑ์การตัดสินการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะ คือ 63 ครั้ง (ร้อยละ 5.13) ในขณะที่มีการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะในทางปฏิบัติ 955 ครั้ง (ร้อยละ 77.77) ร้อยละ 65.02 ของจำนวนครั้งในการสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะเป็นการใช้ยาปฏิชีวนะที่ถูกแนะนำให้ใช้ตามแนวทางการดูแลรักษาโรคนี้ ซึ่งได้แก่ amoxicillin, cephalexin, azithromycin, roxithromycin, และ clindamycin ในขณะที่มีการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมเพียงร้อยละ 8.95 ของจำนวนครั้งในการสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะ ค่าใช้จ่ายของยาปฏิชีวนะลดลงเมื่อสั่งใช้ยาที่ Mclsaac score ≥ 4 ที่ร้อยละ 95.89 เมื่อเปรียบเทียบเทียบกับการสั่งใช้ยาในทางปฏิบัติ สรุป: โรงพยาบาลชุมชนที่เป็นสถานที่วิจัยยังมีการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะไม่สอดคล้องตามคำแนะนำของแนวทางการรักษามาตรฐานในโรคคอหอยอักเสบและทอนซิลอักเสบเฉียบพลัน ทั้งในแง่ข้อบ่งใช้ยา ชนิด และระยะเวลาการใช้ยา McIsaac score เป็นเครื่องมือทำนายโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อ Group A Streptococcus ที่ทำให้สั่งใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุผลน้อยลงหากมีความร่วมมือในการนำไปใช้ในการปฏิบัติจริงทางคลินิก
Description: Master of Pharmacy (M.Pharm.)
เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/2475
Appears in Collections:คณะเภสัชศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60062350.pdf3.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.