Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/1558
Title: ประสิทธิผลโปรแกรมการดูแลสุขภาพช่องปากต่อการรับรู้ความสามารถตนเอง ความรู้ด้านทันตสุขภาพ และพฤติกรรมป้องกันโรคฟันผุของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
The effectiveness of an oral health care program on self efficacy, dental knowledge and dental caries preventive behaviors among secondary school students.
Authors: RAPEEPORN PIPATSART
รพีภรณ์ พิพัฒน์ศาสตร์
Nithra Kitreerawutiwong
นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์
Naresuan University. Faculty of Public Health
Keywords: โรคฟันผุ
วัยรุ่น
การรับรู้ความสามารถตนเอง
dental caries
adolescent
self-efficacy
Issue Date: 2562
Publisher: Naresuan University
Abstract: Dental caries remains significant to the health-related quality of life among early adolescents. This quasi-experimental study aimed to evaluate the effectiveness of an oral health care program on dental knowledge, self-efficacy, dental caries preventive behaviors, the debris index, and the oral hygiene skill achievement index. The sample consisted of 81 students from grade 7 of Bangkratum-pittayakom school. Forty students were assigned to the experimental group and received the dental health program based on self-efficacy, while 41 students were assigned to the control group and received a traditional dental health education. Data were collected by self-efficacy questionnaire, dental health knowledge, dental health preventive behavior, recording the debris index, and the oral hygiene skill achievement index. Data were analyzed by descriptive statistics, Chi-square test, independent t-test, and paired sample t-test. After finishing the oral health care program, the experimental group had higher mean scores for dental knowledge, self-efficacy, and dental caries preventive behavior, while the oral hygiene skill achievement index increased significantly compared to the control group (p < 0.001, 0.05, 0.05, 0.001). In addition, the debris index score was significantly lower than in the control group (p < 0.001). Furthermore, for the experimental group, the mean scores of dental knowledge, self-efficacy, dental caries preventive behavior, and the oral hygiene skill achievement index increased significantly following the intervention (p < 0.001, 0.05, 0.05, 0.001), while debris index score was significantly lower than before the intervention (p < 0.001). The result of this study indicated that the dental health program improves dental health knowledge, self-efficacy, dental health preventive behavior, and oral hygiene skill, and decreases the debris index. Moreover, a longitudinal study should be carried out to monitor the sustainability of oral health behaviors.
ฟันผุเป็นปัญหาสุขภาพที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของวัยรุ่น การศึกษาแบบกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลโปรแกรมการดูแลสุขภาพช่องปากต่อความรู้ด้านทันตสุขภาพ การรับรู้ความสามารถตนเอง พฤติกรรมป้องกันฟันผุ ดัชนีวัดทักษะอนามัยช่องปาก และดัชนีคราบอ่อน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบางกระทุ่มพิทยาคม จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 81 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลอง จำนวน 40 คน เข้าโปรแกรมการดูแลสุขภาพช่องปากที่ประยุกต์ใช้การรับรู้ความสามารถตนเองเป็นเวลา 4 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบ จำนวน 41 คน ได้รับทันตสุขศึกษาปกติ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเอง ความรู้ด้านทันตสุขภาพ พฤติกรรมในการป้องกันโรคฟันผุ ตรวจดัชนีคราบอ่อน และทักษะอนามัยช่องปาก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ไคสแคว์ และการทดสอบทีที่เป็นอิสระกับกลุ่มที่สัมพันธ์กัน ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ด้านทันตสุขภาพ การรับรู้ความสามารถตนเอง พฤติกรรมป้องกันฟันผุ และดัชนีวัดทักษะอนามัยช่องปากสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (p < 0.001, 0.05, 0.05, 0.001) ส่วนดัชนีคราบอ่อนต่ำกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (p < 0.001) และเมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่มพบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ด้านทันตสุขภาพ การรับรู้ความสามารถตนเอง พฤติกรรมป้องกันฟันผุและดัชนีวัดทักษะอนามัยช่องปากสูงกว่าก่อนทดลอง (p < 0.001, 0.05, 0.05, 0.001) ส่วนดัชนีคราบอ่อนต่ำกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) สรุปได้ว่าโปรแกรมดังกล่าวช่วยให้นักเรียนมีความรู้ด้านทันตสุขภาพ การรับรู้ความสามารถตนเอง พฤติกรรมป้องกันฟันผุที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตามควรมีการติดตามพฤติกรรมของนักเรียนในระยะยาวต่อไป
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/1558
Appears in Collections:คณะสาธารณสุขศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61061918.pdf3.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.