Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/1526
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorSIRIWON MOONJAIen
dc.contributorศิริวรรณ มูลใจth
dc.contributor.advisorCatthaleeya Aungen
dc.contributor.advisorแคทรียา อังทองกำเนิดth
dc.contributor.otherNaresuan University. Faculty of Humanitiesen
dc.date.accessioned2020-10-27T07:38:30Z-
dc.date.available2020-10-27T07:38:30Z-
dc.date.issued2563en_US
dc.identifier.urihttp://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/1526-
dc.descriptionMaster of Arts (M.A.)en
dc.descriptionศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)th
dc.description.abstractThe objective of this thesis research was to study the history of Chao Pho Mokkhala at Ban Huai PlaKong, Khanechue Sub-district, Mae Ramat District, Tak Province, - to uncover the beliefs and rituals surrounding him and to describe his role regarding the villagers. Documents and field data were collected during the period 2019-2020. This historical study found one version on Chao Pho Mokkhala’s history in Ban Huai PlaKong and three version from that point forward: version covering his history in Tha-song-yang District, Mae-La Sub-district Administrative Organization and Myanmar. The four version confirmed each other, all relating a single story, i.e. that he was a holy man living alone on Lewa mountain, responsible for taking care of the people in that area. The rituals worshipping Chao Pho Mokkhala were performed in three ways: 1) annual worship ritual by the Huai PlaKong villagers; 2) worshipping by the Huai PlaKong villagers who had transgressed community customs, and 3) worshipping by merchants who had obtained forest concessions in order to show their respect for Chao Pho Mokkhala. However, since there was no one to continue leading these rituals at a certain point, as well as the influence of Christianity and the social changes that were taking place, those rituals faded away. Then, in 2012, the villagers of Ban Huai PlaKong began to revive those practices, simplifying them to coincide with the current social context. The roles of Chao Pho Mokkhala included four aspects; 1) assist, protect and take care of the villagers, serve as a guardian of the community; 2) be the person to confirm the importance of the rituals and their origin; 3) be the person responsible for overseeing local behavior; and 4) promote the community economy and tourism.  en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและรวบรวมประวัติความเป็นมาของเจ้าพ่อโมกขละ หมู่บ้านห้วยปลากอง ตำบลขะเนจื้อ อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก เพื่อศึกษาความเชื่อและพิธีกรรมที่เกี่ยวกับเจ้าพ่อโมกขละ รวมถึงบทบาทของเจ้าพ่อโมกขละที่มีต่อชาวบ้านหมู่บ้านห้วยปลากอง ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลในช่วงปี พ.ศ. 2562 - 2563 จากข้อมูลเอกสาร และข้อมูลภาคสนาม ผลการศึกษาประวัติความเป็นมาของเจ้าพ่อโมกขละหมู่บ้านห้วยปลากอง ผู้วิจัยพบประวัติความเป็นมาของเจ้าพ่อโมกขละหมู่บ้านห้วยปลากองจำนวน 1 สำนวน และประวัติความเป็นมาของเจ้าพ่อโมกขละสำนวนอื่นจำนวน 3 สำนวนได้แก่ ประวัติความเป็นมาของเจ้าพ่อโมกขละสำนวนเมียนมา ประวัติความเป็นมาของเจ้าพ่อโมกขละสำนวนอำเภอท่าสองยาง และประวัติความเป็นมาของเจ้าพ่อโมกขละสำนวนองค์การบริหารส่วนตำบลแม่หละ ซึ่งประวัติความเป็นมาของเจ้าพ่อโมกขละทั้ง 4 สำนวน มีโครงเรื่องตรงกัน คือ มีการกล่าวถึงเจ้าพ่อโมกขละในฐานะผู้ศักดิ์สิทธิ์ สถิตอยู่ที่ดอยเลวา และทำหน้าที่คุ้มครองดูแลคนในพื้นที่ ผลการศึกษาพิธีกรรมการสักการบูชาเจ้าพ่อโมกขละ ของชาวบ้านหมู่บ้านห้วยปลากอง   พบว่า  ในอดีตพิธีกรรมการสักการบูชาเจ้าพ่อโมกขละมี  3  รูปแบบ  คือ  1) การสักการบูชาเจ้าพ่อโมกขละประจำปีของชาวบ้านหมู่บ้านห้วยปลากอง 2) การสักการบูชาเจ้าพ่อโมกขละของชาวบ้านหมู่ห้วยปลากองที่ทำผิดจารีตประเพณีของชุมชน และ 3) การสักการบูชาเจ้าพ่อโมกขละของพ่อค้าผู้ได้รับสัมปทานไม้เพื่อบอกกล่าวและแสดงความเคารพนับถือเจ้าพ่อโมกขละ แต่เนื่องจากไม่มีผู้สืบทอดเป็นป้อโข่ (ผู้นำในการประกอบพิธีกรรม) ประกอบกับอิทธิพลของศาสนาคริสต์ และสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้พิธีกรรมการสักการบูชาเจ้าพ่อโมกขละทั้ง 3 รูปแบบหายไป จนเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2555 ชาวบ้านหมู่บ้านห้วยปลากองได้รื้อฟื้นพิธีกรรมการสักการบูชาเจ้าพ่อโมกขละขึ้นมาอีกครั้ง โดยปรับเปลี่ยนรูปแบบพิธีกรรมให้เรียบง่ายขึ้นสอดคล้องกับบริบทสังคมในปัจจุบัน ในด้านบทบาทของเจ้าพ่อโมกขละที่มีต่อชาวบ้านหมู่บ้านห้วยปลากอง ตำบลขะเนจื้อ อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก มี 4 ประการ ได้แก่ 1) บทบาทในการช่วยเหลือ ปกป้องคุ้มครองและเป็นที่พึ่งทางใจให้กับคนในชุมชน 2) บทบาทในการอธิบายที่มาของพิธีกรรมและยืนยันความสำคัญของพิธีกรรม 3) บทบาทในการควบคุมพฤติกรรม และ 4) บทบาทในการส่งเสริมด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของชุมชนth
dc.language.isothen_US
dc.publisherNaresuan Universityen_US
dc.rightsNaresuan Universityen_US
dc.subjectเจ้าพ่อโมกขละ, ความเชื่อเเละพิธีกรรม, หมู่บ้านห้วยปลากอง, ตำบลขะเนจื้อ อำเภอเเม่ระมาด จังหวัดตากth
dc.subjectChao Pho Mokkhala Beliefs and rituals Ban Huai Plakongen
dc.subjectKhanechue Sub-district Mae Ramat District Tak Provinceen
dc.subject.classificationArts and Humanitiesen
dc.titleเจ้าพ่อโมกขละ: ความเชื่อเเละพิธีกรรมของชาวปกาเกอะญอ หมู่บ้านห้วยปลากอง ตำบลขะเนจื้อ อำเภอแม่ระมาด  จังหวัดตากth
dc.titleChao Pho Mokkhala: Pga N'gyau Belief and Ritual in Ban Huai Plakong, Khanechue Sub-district, Mae Ramat District, Tak Province. en
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:คณะมนุษยศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61062298.pdf5.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.