Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/1469
Title: รูปแบบการป้องกันการพยายามฆ่าตัวตายสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จังหวัดลำพูน
An Attempted Suicide Prevention Model for Chronic Illness patients, in Lamphun Province
Authors: SIWAPORN MAHATHAMNUCHOCK
ศิวาพร มหาทำนุโชค
Narongsak Noosorn
ณรงค์ศักดิ์ หนูสอน
Naresuan University. Faculty of Public Health
Keywords: การพยายามฆ่าตัวตาย
การป้องกัน
รูปแบบ
โรคเรื้อรัง
ปัจจัย
suicide attempt
prevention
model
chronic disease
factor
Issue Date: 2562
Publisher: Naresuan University
Abstract: This mixed method research aimed to 1) study the factors affecting attempted suicide among chronic illness patients 2) develop an attempted suicide  prevention model for chronic illness patients. The research was divided into two phases: 1) study the factors affecting attempted suicide among chronic illness patients consisted of an analytical cross sectional study. The samples were the 200 of primary caregivers of the chronic illness patients. The qualitative multiple-case study was also parallel conducted on 26 participants as follows: the primary caregiver of chronic illness patients who has a history of  attempted suicide, the healthcare worker, and the gatekeeper 2) develop an attempted suicide  prevention model for chronic illness patients consisted of homogeneous group discussion, the 14 participants were included the primary caregiver of chronic illness patients, the healthcare worker, and the gatekeeper. The connoisseurship was conducted on the six experts about suicide, mental health, and chronic disease, the study was also a parallel civil society forum conducted on 26 patients's family members, and stakeholder. Data collection consisted of the questionnaire, the semi structure interview question, the record form, and a digital voice recorder. The data were analyzed by using frequency, means, standard deviation, binary logistic regression, and thematic analysis. The study shows the factors that affected attempted suicide among chronic illness patients as follows: 1) personal factors were boring, being a burden toward nearly person, and lack of problem solving skill 2) health factors were the complication, the co-morbidity, and low self-esteem 3) environmental factors were conflicted and arguments, loss of spouse/partner, and economic problem (debt). As a result of developing an attempted suicide prevention model for chronic illness patients, the principle of a model was “strengthen and used of caregiver’s knowledge and skills, motivating the patients and each other’s for collaboration on attempted suicide  prevention among chronic illness patients” that consisted of 7 components: 1) P: Positive aspect of care-giving for care  2) A: Assertive and early detect warning signs toward lifesaving 3) R: Reinforce the resilience and self-esteem among patients 4) S: Self-management support to relieve physical and mental health complication and effect 5) A: Awareness and creates a suicide safety plan between patients and caregivers 6) R: Responding to a suicide safety plan, and 7) N: Network set up for suicide prevention and surveillance. The result of model evaluation found that the participant’s opinions to the model were at a high level of all categories, as follows: the feasibility, the utility, the propriety, and the accuracy. Therefore, this model can be used for attempted suicide prevention at the primary level.
การวิจัยแบบผสมผสานครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพยายามฆ่าตัวตายของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง  2) พัฒนารูปแบบการป้องกันการพยายามฆ่าตัวตายสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จังหวัดลำพูน ดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพยายามฆ่าตัวตายของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ประกอบด้วย การศึกษาเชิงปริมาณแบบสังเกตเชิงวิเคราะห์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลหลักของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน 200 คน ควบคู่กับการศึกษาเชิงคุณภาพแบบพหุกรณีศึกษา มีผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้ดูแลหลักของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีประวัติพยายามฆ่าตัวตาย ผู้ให้บริการ และผู้เฝ้าระวัง จำนวน 26 คน 2) พัฒนารูปแบบการป้องกันการพยายามฆ่าตัวตายสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โดยใช้การสนทนากลุ่มผู้มีภูมิหลังคล้ายคลึงกัน มีผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้ดูแลหลักของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้ให้บริการ และผู้เฝ้าระวัง จำนวน 14 คน และการสัมมนาอิงกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต การฆ่าตัวตายและโรคเรื้อรัง จำนวน 6 คน ศึกษาควบคู่กับการจัดเวทีประชาคมของสมาชิกครอบครัวของผู้ป่วยและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถาม แนวคำถามการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง แบบบันทึกข้อมูล และเครื่องบันทึกเสียง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การถดถอยโลจิสติกทวิ และการวิเคราะห์เชิงประเด็น ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพยายามฆ่าตัวตายของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง คือ 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ รู้สึกเบื่อหน่าย รู้สึกเป็นภาระต่อคนใกล้ชิด ขาดทักษะการเผชิญและจัดการกับปัญหาและการมีสัญญาณเตือนการพยายามฆ่าตัวตายด้านการพูดระดับปานกลาง  2) ปัจจัยด้านสุขภาพ ได้แก่ การมีภาวะแทรกซ้อน การมีโรคร่วมและความรู้สึกไม่มีคุณค่า  3) ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การทะเลาะหรือความขัดแย้ง การสูญเสียคนรัก/คู่ครองและปัญหาเศรษฐกิจ (หนี้สิน)  ผลการพัฒนารูปแบบได้รูปแบบ คือ PARSARN Model หรือ พาสานโมเดล ที่มีหลักการของรูปแบบ  คือ “เสริมสร้างและใช้ความรู้รวมถึงทักษะของผู้ดูแล การกระตุ้นจูงใจเพื่อให้ได้รับความร่วมมือจากผู้ป่วยและบุคคลอื่นเพื่อป้องกันการพยายามฆ่าตัวตายในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง” โดยประกอบด้วยกิจกรรม 7 กิจกรรม ได้แก่ 1) การสร้างมุมมองเชิงบวกจากการดูแลสำหรับการดูแล 2) กล้าเปิดใจ หู ตาว่องไว ช่วยคงชีวิตไว้ได้ทันการณ์ 3) เสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจและสร้างความรู้สึกมีคุณค่าแก่ผู้ป่วย 4) สนับสนุนการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนและลดผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจ 5) สร้างแผนความปลอดภัยป้องกันการพยายามฆ่าตัวตายร่วมกันระหว่างผู้ดูแลและผู้ป่วยด้วยความตระหนัก  6) ตอบสนองต่อแผนความปลอดภัยป้องกันการพยายามฆ่าตัวตาย 7) สร้างเครือข่ายสายสัมพันธ์เพื่อเกื้อกูลหนุนเสริมเฝ้าระวังและป้องกันการพยายามฆ่าตัวตาย ผลการประเมินรูปแบบ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นในระดับมากต่อรูปแบบในทุกด้าน คือ ด้านความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ ความเหมาะสม และความถูกต้องครอบคลุม ดังนั้น รูปแบบนี้จึงสามารถนำไปใช้ป้องกันการพยายามฆ่าตัวตายของผู้ป่วยโรคเรื้อรังในระดับปฐมภูมิต่อไป  
Description: Doctor of Public Health (Dr.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ส.ด.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/1469
Appears in Collections:คณะสาธารณสุขศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60031271.pdf3.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.