Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6571
Title: | การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ผ่านทางทฤษฎีการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ร่วมกับการเป็นผู้สร้างสรรค์คอนเทนต์บนสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการพููดภาษาจีน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/ A DEVELOPMENT OF LEARNING ACTIVITY THROUGH EXPERIENTIAL LEARNING THEORY COMBINED WITH BEING A CONTENT CREATOR TO ENHANCE CHINESE SPEAKING ABILITY FOR MATTHAYOMSUKSA 3 STUDENTS |
Authors: | Sawit Kaewmola สาวิทย์ แก้วโมลา Angkana Onthanee อังคณา อ่อนธานี Naresuan University Angkana Onthanee อังคณา อ่อนธานี angkanao@nu.ac.th angkanao@nu.ac.th |
Keywords: | ผู้สร้างสรรค์คอนเทนต์บนสื่อสังคมออนไลน์ ทฤษฎีการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ ความสามารถด้านการพูดภาษาจีน Experiential Learning Theory Content Creator Chinese Speaking Ability |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | The purposes of this independent study were twofold: 1) to construct and assess the efficiency of a learning activity based on experiential learning theory combined with being a content creator on social media, using a criterion of 75/75, and 2) to implement and study the outcomes of this learning activity by comparing the Chinese speaking ability of students before and after the activity, and examining the results of the activity itself. The study followed a research and development process in two steps. Step 1: involved constructing and assessing the effectiveness of the learning activity through experiential learning theory combined with being a content creator on social media. The activity was certified by five experts and tried out with three students of Matthayomsuksa 3 at Bankhokwittayakhom School under the Secondary Educational Service Area Office Phitsanulok Uttaradit in the second semester of academic year 2022, to evaluate the appropriateness of the language, time, and learning materials. After revising the activity, it was tried out with nine students of Matthayomsuksa 3 at the same school to assess its effectiveness using a standard criterion of 75/75. Step 2: involved implementing and studying the outcomes of the learning activity through experiential learning theory combined with being a content creator on social media. The sample group was 40 students of Matthayomsuksa 3 at Bankhokwittayakhom School under the Secondary Educational Service Area Office Phitsanulok Uttaradit in the second semester of academic year 2022. The research tools included the learning activity through experiential learning theory combined with being a content creator on social media, field notes, and a Chinese speaking ability test. The data were analyzed using mean scores, standard deviation, and effectiveness equal (E1/E2).
The results of the study revealed that:
1. The learning activity through experiential learning theory combined with being a content creator on social media involved five steps: 1) Experience Creation and Goal Setting 2) Reflection and Concept Building 3) Content Planning 4) Creating and Publishing 5) Evaluation. The activity was of appropriate quality with the highest level of effectiveness (X-bar = 4.61, S.D. = 0.56) at 76.33/75.11.
2. The implementation and study of the outcomes of the learning activity through experiential learning theory combined with being a content creator on social media showed that:
2.1 Chinese speaking ability in the posttest was higher than in the pretest with a statistical level of .01.
2.2 Students gained proficiency in Chinese speaking during the learning activity through experiential learning theory combined with being a content creator on social media. They were able to improve their Chinese speaking skills by using new synthesized experiences to create content on social media, and apply the knowledge gained in daily life. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและประเมินประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านทฤษฎีการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ร่วมกับการเป็นผู้สร้างสรรค์คอนเทนต์บนสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการพูดภาษาจีน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ 75/75 2) ใช้และศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ผ่านทฤษฎีการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ร่วมกับการเป็นผู้สร้างสรรค์คอนเทนต์บนสื่อสังคมออนไลน์ โดย 2.1) เปรียบเทียบความสามารถด้านการพูดภาษาจีนระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านทฤษฎีการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ร่วมกับการเป็นผู้สร้างสรรค์คอนเทนต์บนสื่อสังคมออนไลน์ 2.2) ศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านทฤษฎีการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ร่วมกับการเป็นผู้สร้างสรรค์คอนเทนต์บนสื่อสังคมออนไลน์ ดำเนินการวิจัยตามระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มี 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและประเมินประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านทฤษฎีการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ร่วมกับการเป็นผู้สร้างสรรค์คอนเทนต์บนสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งพิจารณาความเหมาะสมของกิจกรรมการเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน จากนั้นจึงนำไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านโคกวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 3 คน เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมด้านภาษา เวลา และสื่อ แล้วปรับปรุงแก้ไข จากนั้นจึงนำไปทดลองใช้กับนักเรียน จำนวน 9 คน เพื่อประเมินประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ตามเกณฑ์ 75/75 ขั้นตอนที่ 2 การใช้และศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ผ่านทฤษฎีการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ร่วมกับการเป็นผู้สร้างสรรค์คอนเทนต์บนสื่อสังคมออนไลน์ กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านโคกวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 40 คน โดยใช้แบบแผนการทดลอง One Group Pretest-Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) กิจกรรมการเรียนรู้ผ่านทฤษฎีการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ร่วมกับการเป็นผู้สร้างสรรค์คอนเทนต์บนสื่อสังคมออนไลน์ 2) แบบวัดความสามารถด้านการพูดภาษาจีน 3) แบบบันทึกภาคสนาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test แบบ dependent sample และหาค่าประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สูตร E1/E2 ผลการวิจัย พบว่า 1. กิจกรรมการเรียนรู้ผ่านทฤษฎีการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ร่วมกับการเป็นผู้สร้างสรรค์คอนเทนต์บนสื่อสังคมออนไลน์ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นสร้างประสบการณ์และกำหนดเป้าหมาย 2) ขั้นสะท้อนผลอย่างไตร่ตรองและสร้างแนวคิด 3) ขั้นวางแผนสร้างคอนเทนต์ 4) ขั้นสร้างสรรค์คอนเทนต์และเผยแพร่ 5) ขั้นประเมินผลงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีความเหมาะสมระดับมากที่สุด (X-bar = 4.61, S.D. = 0.56) และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 76.33/75.11 2. ผลการใช้และศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ผ่านทฤษฎีการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ร่วมกับการเป็นผู้สร้างสรรค์คอนเทนต์บนสื่อสังคมออนไลน์ 2.1 ความสามารถด้านการพูดภาษาจีนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2.2 นักเรียนเกิดความสามารถด้านการพูดภาษาจีนระหว่างปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านทฤษฎีการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ร่วมกับการเป็นผู้สร้างสรรค์คอนเทนต์บนสื่อสังคมออนไลน์ โดยสามารถพัฒนาทักษะการพูดภาษาจีนผ่านการนำประสบการณ์ใหม่ที่สังเคราะห์ขึ้นมาไปสร้างสรรค์คอนเทนต์บนสื่อสังคมออนไลน์ และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6571 |
Appears in Collections: | คณะศึกษาศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
SawitKaewmola.pdf | 3.92 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.