Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6568
Title: | การจัดกิจกรรมเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ร่วมกันด้วยการสืบสอบ 4Ex2 ร่วมกับ Bar Model เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 The Development of Mathematical Problem - Solving Skills Using Collaborative Learning Management by Investigating 4EX2 with Bar Model to Enhance Mathematics Learning Activities for 5th Graders |
Authors: | Napapron Keawsangtong นภาพร แก้วแสงทอง Kobsook Kongmanus กอบสุข คงมนัส Naresuan University Kobsook Kongmanus กอบสุข คงมนัส kobsookk@nu.ac.th kobsookk@nu.ac.th |
Keywords: | การจัดการเรียนรู้ร่วมกันด้วยการสืบสอบ 4Ex2, Bar Model, ทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ Blended Learning Concept of Model Eliciting Activities Mathematical Problem - Solving Ability |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | The aims of this research were 1) to create and evaluate the efficiency of mathematics learning activities using collaborative learning management by Investigating 4EX2 with Bar Model to enhance mathematical problem - solving skills for 5th graders that had the efficiency criteria (E1/E2) at 75/75. 2) to balance mathematical problem – solving skills between pre-learning and post-learning achievement using collaborative learning management by Investigating 4EX2 with Bar Model for 5th graders. This was a purposive sampling, 21 students studying in 5th grade, semester 2, academic year 2022, Ban Wang Cha-on School, The Primary Educational Service Area Office Kamphaeng-Phet 2 (PEASOKPP) were eligible as the sample group. The research instruments were included herewith, 1) mathematics learning activities using collaborative learning management by Investigating 4EX2 with Bar Model to enhance mathematical problem - solving skills for 5th graders, 2) Numerical reasoning test. Four mains statistical methods were used in data analysis: mean, standard deviation, percentage, and dependent t-test.
Results can be split into two sections: The results on the mathematics learning activities using collaborative learning management by Investigating 4EX2 with Bar Model for 5th graders were developed into four steps as follows: Step 1: Building initiate collaboration, Step 2: Underpinning the Bar Model method with research, Step 3: Inferences and conclusions and Step 4: Expanding on the key ideas. Activities were engaged at the highest level (= 4.40, S.D. = 0.16) and had the efficiency results (E1/E2) at 76.86/76.44, which meets the criteria set.
The second section of results showed that 5th graders had mathematical problem-solving skills features in the post-learning achievement; using collaborative learning management by Investigating 4EX2 with Bar Model, which were higher than pretest results. A statistically significant test result was at the .05 (p=0.5). งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและประเมินประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ร่วมกันด้วยการสืบสอบ 4Ex2 ร่วมกับ Bar Model เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนคณิตศาสตร์โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ร่วมกันด้วยการสืบสอบ 4Ex2 ร่วมกับ Bar Model ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านวังชะโอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 จำนวน 21 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) กิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ร่วมกันด้วยการสืบสอบ 4Ex2 ร่วมกับ Bar Model เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 2) แบบทดสอบวัดทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการทดสอบค่าที (t-test dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ร่วมกันด้วยการสืบสอบ 4Ex2 ร่วมกับ Bar Model สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่พัฒนาขึ้นมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ขั้นร่วมกันสร้างความสนใจ ขั้นตอนที่ 2 ขั้นสำรวจค้นคว้าโดยใช้บาร์โมเดล ขั้นตอนที่ 3 ขั้นอธิบายลงข้อสรุป และขั้นตอนที่ 4 ขั้นขยายความคิด กิจกรรมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก(= 4.40, S.D. = 0.16)และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 76.86/76.44 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ร่วมกันด้วยการสืบสอบ 4Ex2 ร่วมกับ Bar Model สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6568 |
Appears in Collections: | คณะศึกษาศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
NapapronKeawsangtong.pdf | 5.18 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.