Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6564
Title: การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยแนวคิด Model Eliciiting Activities เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
The Development of Blended Learning Activities with the concept of Model Eliciting Activities to Promote Mathematical Problem - Solving Ability for 7th Graders
Authors: Kunjira Thawonsuphacharoen
กุลจิรา ถาวรสุภเจริญ
Kobsook Kongmanus
กอบสุข คงมนัส
Naresuan University
Kobsook Kongmanus
กอบสุข คงมนัส
kobsookk@nu.ac.th
kobsookk@nu.ac.th
Keywords: การเรียนรู้แบบผสมผสาน
แนวคิด Model Eliciting Activities
ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
Blended Learning
Concept of Model Eliciting Activities Mathematical
Problem - Solving Ability
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract:       This research aimed to study as follows: 1) to create and evaluate the efficiency of blended learning activities using the concept of Model Eliciting Activities to promote mathematical problem – solving ability for 7th students that had the efficiency criteria ( E1/E2) at 75/75, 2) to compare the ability of mathematical problem – solving  with blended learning features of the pretest - posttest comparison; manipulating the Model Eliciting Activities for 7th graders, carrying out research into Research and Development (R&D) Process. This was a purposive sampling, 34 students studying in 7th grade, semester 2, academic year 2022, Watcharawittaya School, The Secondary Educational Service Area Office Kamphaeng-Phet (SESAOKPP) were eligible as the sample group. Herein, the research instruments were included as follows: 1) Blended learning activities with the concept of Model Eliciting Activities in order to promote mathematical problem – solving ability for 7th graders. 2) Numerical reasoning test. Four mains statistical methods were used in data analysis: mean, standard deviation, percentage, and dependent t-test.           The Results of study :           1. The results on the blended learning activities with the concept of Model Eliciting Activities for 7th graders were developed into four steps as follows: Step 1: Online learning, Step 2: Face-to-face Mathematical Problem - Solving, Step 3: sharing educational outcomes with online classmates and Step 4: online assessment. Activities were engaged at the highest level and had the efficiency results ( E1/E2) at 78.09/75.37, which meets the criteria set.           2. The results revealed that 7th graders were able to solve mathematical problems after learning with blended learning activities using  the concept of Model Eliciting Activities, which were higher than pretest results. A statistically significant test result was at the .05
           งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยแนวคิด Model Eliciting Activities เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยแนวคิด Model Eliciting Activities สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ดำเนินการวิจัยด้วยกระบวนการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนวัชรวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร จำนวน 34 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) กิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยแนวคิด Model Eliciting Activities  เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการทดสอบค่าที (t-test แบบ dependent)             ผลการวิจัยพบว่า              1. กิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยแนวคิด Model Eliciting Activities สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่พัฒนาขึ้นมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ขั้นศึกษาบทความออนไลน์ ขั้นตอนที่ 2 ขั้นดำเนินการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์แบบต่อหน้า ขั้นตอนที่ 3 ขั้นนำเสนอผลร่วมกันกับเพื่อนในชั้นเรียนแบบออนไลน์ และขั้นตอนที่ 4 ขั้นประเมินผลออนไลน์ กิจกรรมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 78.09/75.37 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้             2. นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยแนวคิด Model Eliciting Activities สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6564
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
KunjiraThawonsuphacharoen.pdf2.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.