Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6560
Title: | การเปรียบเทียบต้นทุนและระยะเวลาการทำงาน สำหรับโครงการก่อสร้างหมู่บ้านจัดสรรขนาดเล็ก ระหว่างวิธีการทำงานแบบดั้งเดิม กับกระบวนแบบจำลองสารสนเทศอาคาร Comparison of Cost and Duration for Small Housing Development Project Between Traditional Methods and Building Information Modeling |
Authors: | Jakkrit Senhom จักรกฤช เซ็นหอม Kumpon Subsomboon กำพล ทรัพย์สมบูรณ์ Naresuan University Kumpon Subsomboon กำพล ทรัพย์สมบูรณ์ kumpon@nu.ac.th kumpon@nu.ac.th |
Keywords: | ก่อสร้างหมู่บ้านจัดสรรขนาดเล็ก การทำงานแบบดั้งเดิม แบบจำลองสารสนเทศอาคาร การควบคุมงบประมาณก่อสร้าง วิธีส่งมอบงาน Small housing development project Traditional method BIM Cost control Project Delivery |
Issue Date: | 2567 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | This research presents a comparison of cost and duration for small housing development project between traditional methods and Building Information Modeling (BIM). This is a project to construct a number of small housing developments in Phitsanulok Province, Thailand. In a case study consisting of 47 reinforced concrete houses (with a usable area of 185 sq.m per house), the project delivery method used was the owner's direct force and design-build delivery methods. And the project did all the construction ourselves, with a crew (engineers, foremen, technicians, and labor) belonging to the project itself. By analyzing real data collected from the construction site in each work category, including structural work, architectural work, electrical and communications work, sanitation work, landscape architecture work, administrative fees, and others according to the work break structure (WBS), the results show that using the building information modeling process in the design process and construction of the said project can reduce losses in working time, material costs and labor costs (per house) by an estimated 15.82 percent, 9.45 percent and 13.49 percent respectively, which, when calculated as total costs, can save approximately 10.64 percent per house on average when compared with traditional methods. การวิจัยนี้นำเสนอการเปรียบเทียบต้นทุนและระยะเวลาการทำงาน สำหรับโครงการก่อสร้างบ้านจัดสรรขนาดเล็ก ระหว่างวิธีการทำงานแบบดั้งเดิมกับกระบวนแบบจำลองสารสนเทศอาคารของโครงการกรณีศึกษา โครงการก่อสร้างบ้านจัดสรรขนาดเล็กแห่งหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก ประกอบด้วยบ้านคอนกรีตเสริมเหล็กจำนวน 47 หลัง (พื้นที่ใช้สอย 185 ตารางเมตรต่อหลัง) การบริหารสัญญา และการส่งมอบโครงการใช้วิธีเจ้าของโครงการดำเนินการเองทั้งหมด โดยมีทีมงาน (วิศวกร ผู้ควบคุมงาน ช่าง และคนงาน) เป็นของโครงการเอง โดยวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บได้จริงจากภาคสนามในแต่ละหมวดงาน ได้แก่ งานโครงสร้าง งานสถาปัตยกรรม งานไฟฟ้าและสื่อสาร งานสุขาภิบาล งานภูมิสถาปัตย์ ค่าอำนวยการ และอื่น ๆ ตาม Work Break Structure ผลการศึกษาปรากฏว่า การใช้กระบวนแบบจำลองสารสนเทศอาคารในขั้นตอนออกแบบ และก่อสร้างของโครงการดังกล่าว สามารถลดความสูญเสียด้านระยะเวลาการทำงาน ต้นทุนด้านวัสดุ และต้นทุนด้านแรงงาน (ต่อหลัง) ลงได้ เฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 15.82 ร้อยละ 9.45 และร้อยละ 13.49 ตามลำดับ ซึ่งเมื่อคำนวณเป็นต้นทุนรวมแล้ว สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายลงได้ประมาณร้อยละ 10.64 ต่อหลัง เมื่อเทียบกับการทำงานแบบวิธีดั้งเดิม |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6560 |
Appears in Collections: | คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
JakkritSenhom.pdf | 5.81 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.