Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6552
Title: | Development of mathematical concepts on addition and subtraction of integers for seventh grade students using an inductive teaching method and board games. การพัฒนามโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนเต็ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้วิธีการสอนแบบอุปนัยร่วมกับบอร์ดเกม |
Authors: | Phimpaka Thangthong พิมผกา แท่งทอง Chakkrid Klin-eam จักรกฤษ กลิ่นเอี่ยม Naresuan University Chakkrid Klin-eam จักรกฤษ กลิ่นเอี่ยม chakkridk@nu.ac.th chakkridk@nu.ac.th |
Keywords: | วิธีการสอนแบบอุปนัย บอร์ดเกม มโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ Inductive teaching methods Board games Mathematical concept |
Issue Date: | 6 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | The purposes of this research were to study the approache for mathematics learning implementation on addition and subtraction of integers for seventh grade students using an inductive teaching method and board games and to develop mathematical concepts on addition and subtraction of integers for seventh grade students using an inductive teaching methods and board games. The target group was 20 students in seventh grade students, a medium school in Phichit province, in the academic year 2022. The researcher used the model of classroom action research for 4 cycles and the total time was 8 hours. Each cycle consists of 4 steps: Plan, Act, Observe and Reflect. The research tools were the lesson plans, a reflective form for learning activities, activities sheets, and a mathematical concept test. Data were analyzed using content analysis
The research results found that
1. The approache for mathematics learning on addition and subtraction of integers for seventh grade students using an inductive teaching method and board games were in 5 steps, Step 1 preparation, Step 2 Sample Presentation, 2.1 Presentation of the game, 2.2 Playing by the rules, 2.3 Conclusion and discussion, 2.4 Assessment of learning outcomes, Step 3 Comparison, Step 4 Summary and Step 5 Implementation. There are guidelines for learning implementation as follows: 1) Presentation of the game, the teacher should clearly explain the rules of playing the game, use Q&A to test students' understanding and demonstrate how to play board games for students. 2) During playing board games, teachers should carefully supervise when students move the piece because it related to writing equations which lead to develop mathematical concepts about addition and subtraction of integers. 3) Revising the board game on integer subtraction.
2. Most of the students’ concepts were in the complete understanding (CU) both during and after learning through inductive teaching method and board games. การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนเต็ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้วิธีการสอนแบบอุปนัยร่วมกับบอร์ดเกม และเพื่อพัฒนามโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนเต็ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้วิธีการสอนแบบอุปนัยร่วมกับบอร์ดเกม กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนขนาดกลางแห่งหนึ่งในจังหวัดพิจิตร ปีการศึกษา 2565 จำนวน 20 คน ผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน จำนวน 4 วงจรปฏิบัติการ ใช้ระยะเวลาทั้งหมด 8 ชั่วโมง ซึ่งแต่ละวงจรประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นวางแผน (Plan) ขั้นปฏิบัติการ (Act) ขั้นสังเกตการณ์ (Observe) และขั้นสะท้อนผลการปฏิบัติ (Reflect) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบสะท้อนผลการจัดกิจกรม ใบกิจกรรม และแบบทดสอบมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. แนวการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนเต็ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้วิธีการสอนแบบอุปนัยร่วมกับบอร์ดเกม มีขั้นตอนในการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การเตรียม ขั้นที่ 2 การนำเสนอตัวอย่าง 2.1 การนำเสนอเกม 2.2 การเล่นตามกติกา 2.3 การสรุปและอภิปรายผล 2.4 การประเมินผลการเรียนรู้ ขั้นที่ 3 การเปรียบเทียบ ขั้นที่ 4 การสรุป และขั้นที่ 5 การนำไปใช้ ซึ่งมีแนวทางในการจัดการเรียนรู้ที่ควรเน้น ได้แก่ 1) การนำเสนอเกม ครูควรอธิบายกติการการเล่นเกมให้ชัดเจน และใช้การถาม-ตอบ เพื่อทดสอบความเข้าใจของนักเรียน และสาธิตการเล่นบอร์ดเกมให้นักเรียนดู 2) การเล่นตามกติกา ครูต้องควบคุมดูแลการเดินหมาก เพื่อป้องกันการสับสนทิศทางในการเดินหมากของนักเรียน เพราะจะนำไปสู่การเขียนสมการที่นักเรียนต้องเขียนให้ถูกต้อง เพื่อทำให้นักเรียนเกิดมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่องการบวกและการลบจำนวนเต็ม 3) การปรับปรุงบอร์ดเกม เรื่อง การลบจำนวนเต็ม 2. นักเรียนส่วนใหญ่มีมโนทัศน์อยู่ในกลุ่มความเข้าใจที่ถูกต้องสมบูรณ์ (Complete Understanding: CU) ทั้งระหว่างและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบอุปนัยร่วมกับบอร์ดเกม |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6552 |
Appears in Collections: | คณะศึกษาศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
64090953.pdf | 4.74 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.