Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6535
Title: Relationship Between Digital Leadership of School Administrators and The Academic Administration of Secondary School in Angthong Province
ความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดอ่างทอง
Authors: Narudom Engchuan
นฤดม เอ่งฉ้วน
Jitima Wannasri
จิติมา วรรณศรี
Naresuan University
Jitima Wannasri
จิติมา วรรณศรี
jitimaw@nu.ac.th
jitimaw@nu.ac.th
Keywords: ภาวะผู้นำยุคดิจิทัล การบริหารงานวิชาการ ผู้บริหารสถานศึกษา
Digital Leadership Academic Administration School administrators
Issue Date:  6
Publisher: Naresuan University
Abstract: The purposes of this research were to 1) study administrators’ digital leadership of  secondary school in Angthong Province, to 2) study the academic administration of  secondary school in Angthong Province, to 3) study relationship between digital leadership of school administrators and the academic administration of secondary school in Angthong Province. The sample consisted of 242 teachers in secondary school in Angthong Province. The tool used for collecting data was a 5 rating scale questionnaires. The statistics that used to analyze data were frequency, percentage, mean, Standard Deviation, and Pearson’s Correlation Coefficient The result revealed that 1. Administrators’ digital leadership of  secondary school in Angthong Province was overall at a high level. When considering each aspect, it was found that digital vision was the highest mean, followed by cooperation while motivation was the lowest mean. 2. The academic administration of  secondary school in Angthong Province was overall at a high level. When considering each aspect, it was found that the learning process development was the highest mean, followed by the curriculum development while the researching for the development of quality education was the lowest mean. 3. The relationship between digital leadership of school administrators and the academic administration of secondary school in Angthong Province. There was found positive and a high relation.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดอ่างทอง 2) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดอ่างทอง  3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดอ่างทอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา จังหวัดอ่างทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง จำนวน 242 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ Pearson ผลการวิจัย พบว่า 1. ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดอ่างทอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านวิสัยทัศน์ดิจิทัล รองลงมา คือ ด้านความร่วมมือ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการสร้างแรงจูงใจ 2. การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดอ่างทอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ รองลงมา คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตร และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา 3. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดอ่างทอง โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6535
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
64070474.pdf3.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.