Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6528
Title: การพัฒนารูปแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมการรู้สารสนเทศของนักศึกษาปริญญาตรี วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
DEVELOPING A FLIPPED CLASSROOM MODEL WITH BLENDED LEARNING TO PROMOTE INFORMATION LITERACY OF UNDERGRADUATE STUDENTS, THE COLLEGE OF DRAMATIC ARTS, BUNDITPATANASILPA INSTITUTE
Authors: Pimpornlapat Laksanawichien
พิมพ์พรลภัส ลักษณะวิเชียร
Passkorn Roungrong
ภาสกร เรืองรอง
Naresuan University
Passkorn Roungrong
ภาสกร เรืองรอง
passkornr@nu.ac.th
passkornr@nu.ac.th
Keywords: ห้องเรียนกลับด้าน
การเรียนรู้แบบผสมผสาน
การรู้สารสนเทศ
Flipped Classroom
Blended Learning
Information Literacy
Issue Date: 2567
Publisher: Naresuan University
Abstract: This research aimed to 1) create and examine the quality of a flipped classroom model with blended learning; 2) compare information literacy among students before and after using this model; and 3) study student satisfaction with learning through this model to promote information literacy of undergraduate students at the College of Dramatic Arts, Bunditpatanasilpa Institute. The research was conducted in 2 steps: 1) the creation and examination of the quality of the flipped classroom model with blended learning, the user manual, and the learning management plan by experts using the appropriateness assessment form of the model, the user manual, and the learning management plan with an IOC value of 1.00 for all items. The model was then taught to assess its feasibility with 23 first-year undergraduate students at the Sukhothai College of Dramatic Arts. 2) the application of the model with 27 first-year undergraduate students. The tools used in this research were the information literacy test with an IOC value between 0.80-1.00, a discrimination power between 0.27-0.89, and a reliability value of 0.81. Student satisfaction was assessed using a satisfaction form covering inputs, processes, and outputs, with an IOC value between 0.60-1.00 and reliability of 0.88. The results showed that: 1. The developed flipped classroom model with blended learning to promote information literacy of undergraduate students at the College of Dramatic Arts, Bunditpatanasilpa Institute, has 9 main components, divided into 7 contextual components, called the MISSITE MODEL, and 2 process components, namely: contextual components: 1) teaching media, 2) teachers, 3) subject content, 4) learners, 5) information technology, 6) teaching methods, 7) evaluation, and process components: steps in managing learning and organizing teaching and learning activities. The results of the expert examination found that the developed model was very appropriate (x̅ = 4.43, S.D. = 0.20). The efficiency index of the model from the learning management with the information literacy test was 0.5882, which was 58.82 percent, higher than the minimum criterion of 50 percent, so it was considered effective. 2. Students had significantly higher information literacy after studying than before studying at a statistical level of .05. 3. Student satisfaction with the model was high, with an overall rating of very satisfied (x̅= 4.14, S.D. = 0.66). Satisfaction with inputs, processes, and outputs was also high (x̅ = 4.14, S.D. = 0.67; x̅ = 4.09, S.D. = 0.68 and x̅ = 4.19, S.D. = 0.64, respectively).
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้แบบผสมผสาน 2) เปรียบเทียบการรู้สารสนเทศก่อนและหลังการเรียนโดยใช้รูปแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้แบบผสมผสาน 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมการรู้สารสนเทศของนักศึกษาปริญญาตรี วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ การดำเนินการวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นการสร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้แบบผสมผสาน คู่มือการใช้ และแผนการจัดการเรียนรู้ โดยผู้เชี่ยวชาญ ด้วยแบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ คู่มือการใช้ และแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีค่า IOC 1.00 ทุกข้อ และทดลองสอนตามรูปแบบเพื่อพิจารณาความเป็นไปได้กับนักศึกษาชั้นปริญญาตรีปีที่ 1 วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย จำนวน 23 คน 2) ขั้นการใช้รูปแบบกับนักศึกษาชั้นปริญญาตรีปีที่ 1 จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบวัดการรู้สารสนเทศ ที่มีค่า IOC ระหว่าง 0.80-1.00 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.27-0.89 และค่าความเชื่อมั่น 0.81 ขั้นการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบ ในด้านปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต ที่มีค่า IOC ระหว่าง 0.60-1.00 และค่าความเชื่อมั่น 0.88 ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมการรู้สารสนเทศของนักศึกษาปริญญาตรี วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ที่พัฒนาขึ้น มีองค์ประกอบหลัก 9 องค์ประกอบ โดยแบ่งออกเป็นองค์ประกอบด้านบริบท 7 องค์ประกอบ มีชื่อว่า MISSITE MODEL และองค์ประกอบด้านกระบวนการ 2 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบด้านบริบท คือ 1) สื่อการสอน 2) ผู้สอน 3) เนื้อหาวิชา 4) ผู้เรียน 5) เทคโนโลยีสารสนเทศ 6) วิธีการสอน 7) การประเมินผล และองค์ประกอบด้านกระบวนการ คือ ขั้นตอนในการจัดการเรียนรู้ และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ผลการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมในระดับมาก (x̅ = 4.43, S.D. = 0.20) ค่าดัชนีประสิทธิภาพของรูปแบบจากการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบวัดการรู้สารสนเทศ มีค่าเท่ากับ 0.5882 คิดเป็นร้อยละ 58.82 สูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำ ร้อยละ 50 จึงถือว่ามีประสิทธิภาพ           2. นักศึกษามีการรู้สารสนเทศหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้แบบผสมผสาน เพื่อส่งเสริมการรู้สารสนเทศของนักศึกษาปริญญาตรี วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ โดยภาพรวมมีระดับความพึงพอใจมาก (x̅ = 4.14, S.D. = 0.66) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก    (x̅ = 4.14, S.D. = 0.67; x̅ = 4.09, S.D. = 0.68 และ x̅ = 4.19, S.D. = 0.64) ตามลำดับ
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6528
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
PimpornlapatLaksanawichien.pdf4.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.