Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6511
Title: The meaning contestation from below of the "Thai Nation" in the contemporary Thai politics, from the late 1990s the early 2020s
การช่วงชิงความหมาย “ชาติไทย” จากเบื้องล่างในประวัติศาสตร์การเมืองไทยร่วมสมัยช่วงทศวรรษที่ 2540 – 2560
Authors: Apirag Poolampai
อภิรักษ์ พูลอำไพ
Chaipong Samneing
ชัยพงษ์ สำเนียง
Naresuan University
Chaipong Samneing
ชัยพงษ์ สำเนียง
chaipongs@nu.ac.th
chaipongs@nu.ac.th
Keywords: ชาติไทย, นิยามชาติ, ช่วงชิงความหมาย, การเคลื่อนไหวทางการเมือง
Thai Nation The meaning contestation Nation definition political movement
Issue Date:  17
Publisher: Naresuan University
Abstract: This thesis aims to investigate the contestation of the meaning of the Thai nation during the political conflicts of the BE2540–2560 decades. It explores how, within these political conflicts—considered a “war of movement” between the Thai state, conservative groups, and opposition movements—there were also intellectual battles over the definition of the Thai nation. These “wars of position” aimed to politically legitimize the different movements’ actions. The state and conservative groups upheld a mainstream definition of the Thai nation, closely tied to the monarchy, and framed opposition groups as enemies of the nation. This approach marginalized opposition movements and justified the state’s use of repression. Meanwhile, opposition groups, particularly the Red Shirt and youth movements that gained momentum in the BE2560 decade, redefined the nation by centering the people as its core. This alternative conception of the nation was used to resist the state. The study of this meaning contestation reveals that the definition of the Thai nation is not singular, as often assumed, but rather a plurality of interpretations created to legitimize political aims—whether to preserve existing power relations or to establish new ones with the state.
วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาการช่วงชิงความหมายของชาติไทย ภายใต้บริบทการต่อสู้ทางการเมืองช่วงทศวรรษ 2540 – 2560 โดยพยายามอธิบายว่าภายใต้บริบทความขัดแย้งที่เป็นสงครามขับเคลื่อนพื้นที่ (War of Movement)  ในพื้นที่ทางการเมือง ระหว่างรัฐและฝ่ายอนุรักษนิยม กับฝ่ายตรงข้ามรัฐ ได้มีการช่วงชิงความหมายของชาติไทยในพื้นที่ทางความคิดที่มีลักษณะเป็นสงครามยึดพื้นที่ทางความคิด (War of Position) เกิดความพยายามนิยามความหมายชาติไทยขึ้น เพื่อมาใช้สร้างความชอบธรรมทางการเมืองให้แก่ฝ่ายตน โดยรัฐกับฝ่ายอนุรักษนิยมสร้างความชอบธรรมผ่านนิยามความเป็นชาติไทยกระแสหลักที่มีพระมหากษัตริย์เป็นองค์ประธาน และโจมตีฝ่ายตรงข้ามในฐานะศัตรูของชาติจนถูกผลักดันให้กลายเป็นชายขอบของความเป็นชาติแบบกระแสหลัก นำไปสู่ความชอบธรรมในการปราบปราม แต่ฝ่ายตรงข้ามของรัฐกับอนุรักษ์นิยม ไม่ว่าจะเป็นคนเสื้อแดงและขบวนการเคลื่อนไหวคนรุ่นใหม่ช่วงทศวรรษ 2560 ได้นิยามความเป็นชาติไทยขึ้นมาใหม่โดยให้ความสำคัญกับประชาชนเป็นองค์ประธาน เกิดความเป็นชาตินอกกระแสที่สร้างความชอบธรรมในการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐ การศึกษาช่วงชิงความหมายของชาติไทยของวิทยานิพนธ์เล่มนี้ ต้องการนำเสนอให้เห็นว่า นิยามความเป็นชาติที่อยู่ในทัศนะความคิดของผู้คนไม่ใช่ตัวตนเป็นเอกพจน์ หรือมีเพียงแค่นิยามความหมายหนึ่งเดียวเท่านั้น ตามที่คนส่วนใหญ่ของสังคมมักเข้าใจกัน แต่ความเป็นชาติคือสิ่งที่เป็นพหุลักษณ์ทางความคิดที่มีหลากหลายนิยามและถูกผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในการสร้างความชอบธรรมทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของการรักษาความสัมพันธ์เชิงอำนาจรัฐเดิม หรือการเคลื่อนไหวที่ต้องการเปลี่ยนความสัมพันธ์เชิงอำนาจรัฐใหม่
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6511
Appears in Collections:คณะสังคมศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63062982.pdf3.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.