Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6510
Title: Social Movement Organization of Movement Against Potash Mining and Stone Salt of the "Khon Rak Ban Kerd  Bumnet Narong Chaiyaphum"
องค์การการเคลื่อนไหวของขบวนการทางสังคมต่อต้านเหมืองแร่โปแตซและเกลือหินของ "ฅนรักษ์บ้านเกิดบำเหน็จณรงค์ชัยภูมิ"
Authors: Nawaphat Tosuwan
นวภัทร โตสุวรรณ์
Weera Wongsatjachock
วีระ หวังสัจจะโชค
Naresuan University
Weera Wongsatjachock
วีระ หวังสัจจะโชค
weeraw@nu.ac.th
weeraw@nu.ac.th
Keywords: ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม, เหมืองแร่, โปแตซและเกลือหิน, ฅนรักษ์บ้านเกิดบำเหน็จณรงค์ชัยภูมิ
Social Movement Mining Potash and Stone Salt Khon Rak Ban Kerd Bumnet Narong Chaiyaphum
Issue Date:  17
Publisher: Naresuan University
Abstract: This research aims to explain the social movement against the potash and rock salt mininges and to address  the following research topics,: 1) What was the motivation behind the “Khon Rak Ban Kerd Bamnet Narong Chaiyaphum” movement against the potash and rock salt mines?, 2) What were the forms of the movement and the connections with external organizations?  3) What were the movement’s achievements and shortcomings as an organization? According to the study, “Khon Rak Ban Kerd Bamnet Narong Chaiyaphum” is a social movement that seeks to resist the potash and rock salt mining. Local villagers in various communities surrounding the area have a common opinion that the project will cause damage to natural resources and the community’s way of life. Therefore, the social movement group was formed under two important factors: structural factors, which determined that the cause of the movement’s formation occurred under distrust and anxiety towards the existing political system and policy decision-making process; and factors that play a key role for the formation of social movements, known as enabling and reinforcing factors, which can be divided into two aspects: internal factors, such as community culture and resource mobilization; and external factors, like political and social opportunity structures, and opposition. The movement pattern against the potash and rock salt mines relies on the strategy used in the movement against it, including the legal strategy, which uses the movement pattern through the regular political system and the struggle through the application of legal rights and the legal system, negotiation strategy with the government/private sector, the pattern of obstructing and challenging the regular system, and the pressure in the form of protest marches, the public communication pattern, involving campaigning in various communities, communicating through mainstream media channels, producing one’s own media for communication, and networking with people who directly benefit and those who are aware of the issues. In addition, the cultural movement strategy has been used, which relies on the beliefs and customs of the community that are connected to the way of life of the communities surrounding the mine in the cultural movement, including the use of social mechanisms in the form of social boycotts, with the goal of showing symbols of protest to create an impact at the community level. Lessons acquired from achievements and shortcomings in organizing the movement have caused repercussions and criticisms of the movement, including legal repercussions, leading to ongoing legal battles in court up until the present. For policy consequences, the movement is not only limited to the issue of court cases, but policy is also an important part that urges the government to adjust related policies, such as public participation in the preparation of Environmental Impact Assessment (EIA) reports. The repercussions of the movement can be classified into two aspects: effects within the movement and effects outside the movement, both on the political regime and public spaces.
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นการอธิบายการเคลื่อนไหวของขบวนการทางสังคม ในการต่อต้านเหมืองแร่โปแตซและเกลือหิน และเป็นการตอบคำถามการวิจัยคือ 1) ทำไม “ฅนรักษ์บ้านเกิดบำเหน็จณรงค์ชัยภูมิ” จึงมีการเคลื่อนไหวต่อต้านเหมืองแร่โปแตซและเกลือหิน 2) รูปแบบการเคลื่อนไหว และการเชื่อมโยงกับองค์กรภายนอกของ “ฅนรักษ์บ้านเกิดบำเหน็จณรงค์ชัยภูมิ” มีลักษณะอย่างไร และ 3) การจัดองค์การการเคลื่อนไหวของ “ฅนรักษ์บ้านเกิดบำเหน็จณรงค์ชัยภูมิ” มีความสำเร็จและล้มเหลวอย่างไร ผลการศึกษาพบว่า 1) “ฅนรักษ์บ้านเกิดบำเหน็จณรงค์ชัยภูมิ” เป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมที่มีจุดมุ่งหมายในการออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านเหมืองแร่โปแตซและเกลือหินที่ชาวบ้านในชุมชนต่าง ๆ ในเขตพื้นที่มีความเห็นพ้องร่วมกันว่าโครงการฯ ดังกล่าวจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติและวิถีชีวิตของชุมชน ดังนั้นจึงรวมกลุ่มกันของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม โดยเกิดขึ้นภายใต้ปัจจัยที่มีความสำคัญ สองประการ คือปัจจัยเชิงโครงสร้าง พบว่าสาเหตุของการก่อตัวขบวนการเกิดขึ้นภายใต้ความไม่ไว้ใจและความวิตกกังวล ในระบบที่เป็นอยู่ของการเมืองและกระบวนการตัดสินใจเชิงนโยบาย  และปัจจัยที่มีส่วนสำคัญต่อการก่อตัวของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม นั่นคือปัจจัยเอื้ออำนวยและหนุนเสริม แบ่งเป็น 2 ด้านคือ ปัจจัยภายใน ได้แก่ วัฒนธรรมชุมชน การระดมทรัพยากร และปัจจัยภายนอก ได้แก่ โครงสร้างโอกาสทางการเมือง โครงสร้างโอกาสทางสังคม และฝ่ายต่อต้าน 2) รูปแบบการเคลื่อนไหวต่อต้านเหมืองแร่โปแตซและเกลือหิน อาศัยยุทธศาสตร์ในการเคลื่อนไหวยึดเอายุทธศาสตร์ที่ใช้ในการเคลื่อนไหวต่อต้านได้แก่ ยุทธศาสตร์ด้านกฎหมาย ที่ใช้รูปแบบการเคลื่อนไหวผ่านระบบการเมืองปกติและการต่อสู้ผ่านการใช้สิทธิตามกฎหมายและกระบวนการทางยุติธรรม ยุทธศาสตร์ด้านต่อรองต่อภาครัฐ/เอกชน รูปแบบการขัดขวางท้าทายระบบปกติ และการกดดัน ได้แก่ การเดินขบวนประท้วง รูปแบบการสื่อสารกับสาธารณะ ได้แก่ การรณรงค์ในชุมชนต่างๆ การสื่อสารผ่านช่องทางสื่อกระแสหลัก การผลิตสื่อของตนเองเพื่อการสื่อสาร และการสร้างเครือข่าย ได้แก่ การสร้างเครือข่ายกับผู้มีโอกาสได้รับผลประโยชน์โดยตรง การสร้างเครือข่ายกับบรรดาผู้มีจิตสำนึกในประเด็นปัญหา นอกจากนี้ได้ใช้ ยุทธศาสตร์การเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรม ที่อาศัยความเชื่อและบรรทัดฐานของชุมชนที่มีความเชื่อมโยงกับการดำเนินชีวิตของชุมชนรอบๆ เหมืองแร่ฯ ในการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรม รวมถึงการใช้กลไกทางสังคมที่เป็นลักษณะของการคว่ำบาตรทางสังคม โดยมีเป้าหมายเพื่อแสดงสัญญะ แห่งการประท้วงให้เกิดผลสะเทือนในระดับชุมชนให้เกิดขึ้น และ 3) ผลการถอดบทเรียนความสำเร็จและล้มเหลวในการจัดองค์การการเคลื่อนไหวได้ก่อให้เกิดผลสะเทือนและเกิดข้อวิพากษ์ของขบวนการเคลื่อนไหว คือ ผลสะเทือนด้านกฎหมาย จนนำมาสู่การต่อสู้ในทางด้านกฎหมายที่เป็นกรณีพิพาทที่มีการต่อสู้ในชั้นศาลจนถึงปัจจุบัน ผลสะเทือนด้านนโยบาย ขบวนการเคลื่อนไหวนั้นไม่ได้เคลื่อนไหวแต่เพียงประเด็นของการต่อสู้ทางกฎหมายเท่านั้น แต่ด้านนโยบายก็มีส่วนสำคัญ โดยการเรียกร้องให้ภาครัฐให้มีการปรับนโยบายที่เกี่ยวข้องคือการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)  ผลสะเทือนด้านขบวนการเคลื่อนไหว สามารถสรุปการเคลื่อนไหวได้ 2 ด้าน คือ ผลสะเทือนที่เกิดขึ้นภายในขบวนการ และผลสะเทือนที่เกิดขึ้นภายนอกขบวนการทั้งต่อระบอบการเมืองและพื้นที่สาธารณะ
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6510
Appears in Collections:คณะสังคมศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63031292.pdf4.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.