Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6507
Title: | Sustainable livelihood of farmers who escaped poverty trap: a case study of a community in Yunnan Province, China การดำรงชีพอย่างยั่งยืนของเกษตรกรที่หลุดพ้นจากความยากจน กรณีศึกษา ชุมชนหนึ่งในมณฑลยูนนาน ประเทศจีน |
Authors: | Xinghong Li Li Xing Hong Rudklaw Pampasit รัดเกล้า เปรมประสิทธิ์ Naresuan University Rudklaw Pampasit รัดเกล้า เปรมประสิทธิ์ rudklawp@nu.ac.th rudklawp@nu.ac.th |
Keywords: | การดำรงชีพอย่างยั่งยืน หลุดพ้นจากความยากจน การแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างตรงจุด ประเทศจีน Sustainable livelihood Escape from the Poverty Trap Targeted Poverty Alleviation China |
Issue Date: | 17 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | This study examines the Sustainable livelihood of farmers who escaped poverty trap: a case study of a community in Yunnan Province, China.There are three research objectives: (1) to study the livelihood dynamics in Tanhua Community, Tanhua Township, Dayao County in Yunnan Province; (2) to analyze the changes in the livelihoods of households that have been lifted out of poverty; (3) to propose a sustainable livelihood model for these households. A qualitative research method was adopted, using purposive sampling to collect data from key informants. The research is divided into three parts corresponding to the above objectives: Part I: Data collection through group discussions involving 7 government officials, 6 community leaders, and 8 farmers. Part II: In-depth interviews with 31 households that have been lifted out of poverty. Part III: Focus group discussions with 20 stakeholders. Content analysis and event analysis were employed to analyze the data.
The findings reveal: a) Livelihood dynamics in physical, economic, social, and cultural aspects have changed with the implementation of policies that targeted poverty alleviation, addressing farmers' poverty in a goal-oriented and people-centered way. b) The livelihoods of households lifted out of poverty vary based on the available capital and strategies for utilizing that capital. The analysis shows that human capital is used most frequently, followed by social capital. Psychological capital is also significant in the context of Tanhua Community. c) The livelihood model of households lifted out of poverty is built upon the utilization of available capital and managing risks they face. The patterns of capital utilization include: 1) long-term stable employment, 2) agricultural income compensation, 3) continuous development of community infrastructure, 4) fostering hope, confidence, and resilience in the face of difficulties, 5) ensuring the safety of life and property, 6) promoting environmentally friendly agriculture, 7) investment and entrepreneurship based on the agricultural industry, 8) creating food security, and 9) enhancing psychological strength, which has contributed to sustainable livelihoods.
The policy recommendations proposed by this study are: First, to promote long-term stable employment in the community, provide labor remuneration for community enterprises and industry operators, evaluate and assess community sustainability, and pay attention to the transformation of young people's mindsets and values. The implementation of targeted poverty alleviation policies is a large-scale, long-term effort that requires sustained advancement to achieve success. At the same time, sustainable livelihood changes require attention to the adjustment of the mindset and values of households lifted out of poverty, making education the foundation of human development. Second, for future research, it is recommended to conduct empirical studies on the application of the sustainable livelihood model for households lifted out of poverty in other contexts or nearby communities. การวิจัยเรื่องการดำรงชีพอย่างยั่งยืนของเกษตรกรที่หลุดพ้นจากความยากจน กรณีศึกษา ชุมชนหนึ่งในมณฑลยูนนาน ประเทศจีน มีวัตถุประสงค์การศึกษา 3 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาพลวัตการดำรงชีพของชุมชนที่หลุดพ้นจากความยากจนชุมชนถานหัว ตำบลถานหัว อำเภอต้าเหย๋า มณฑลยูนนาน ประเทศจีน 2) เพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการดำรงชีพของครัวเรือนเกษตรกรที่หลุดพ้นจากความยากจน 3) เพื่อเสนอรูปแบบการดำรงชีพอย่างยั่งยืนของครัวเรือนเกษตรกรที่หลุดพ้นจากความยากจน การวิจัยนี้ดำเนินโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ทำการเก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ตามวัตถุประสงค์ 3 ประการได้แก่ ส่วนที่ 1 เก็บข้อมูลโดยการสนทนากลุ่มกับเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ 7 คน ผู้นำชุมชน 6 คน เกษตรกร 8 คน ส่วนที่ 2 สัมภาษณ์เชิงลึกกับหัวหน้าหรือตัวแทนครัวเรือนเกษตรกร 31 คน ส่วนที่ 3 คือ จัดการสนทนากลุ่มกับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย 20 คน การวิจัยนี้ตรวจสอบข้อมูลด้วยวิธีการสามเส้าและทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาและเหตุการณ์ ผลการวิจัยพบว่า (1) พลวัตการดำรงชีพด้านกายภาพ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและวัฒนธรรม เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นไปตามนโยบายแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างตรงจุด โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม (2) การเปลี่ยนแปลงการดำรงชีพของครัวเรือนเกษตรกรที่หลุดพ้นจากความยากจนเป็นกระบวนการที่แตกต่างกันไปตามทุนที่มีอยู่และกลยุทธ์การใช้ทุนของแต่ละครอบครัว จากการวิเคราะห์พบว่า ครัวเรือนเกษตรกรที่หลุดพ้นจากความยากจนมีการปรับใช้ทุนทางมนุษย์สูงที่สุด รองลงมาคือทุนทางสังคม ทุนทางจิตวิทยาในบริบทชุมชนถานหัวก็ไม่อาจถูกมองข้ามด้วย (3) รูปแบบการดำรงชีพของครัวเรือนเกษตรกรที่หลุดพ้นจากความยากจนจะเป็นการดำรงชีพโดยปรับใช้ทุนภายใต้ทุนที่มีและบริหารความเสี่ยงที่เผชิญอยู่บวกกับกระบวนการการใช้ทุนได้แก่ 1) การจ้างงานระยะยาว 2) การชดเชยรายได้จากผลผลิตทางการเกษตร 3) การพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานของชุมชนอย่างต่อเนื่อง 4) การสร้างความหวัง ความภูมิใจและความไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค 5) การป้องกันความปลอดภัยในชีวิต 6) การเกษตรเชิงอนุรักษ์และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 7) การพัฒนาการลงทุนด้านอุตสาหกรรมการเกษตร 8) การสร้างความมั่นคงทางอาหาร และ 9) การสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจกับการเปลี่ยนผ่านจากความยากจน จึงนำมาซึ่งผลลัพธ์การดำรงชีพที่ยั่งยืน การวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะ คือ 1) การส่งเสริมการจ้างงานแรงงานของคนในชุมชนให้มีความมั่นคง 2) การจ่ายค่าชดเชยแรงงานสำหรับประชาชนที่ประกอบวิสาหกิจชุมชนและอุตสาหกรรม 3) การตรวจสอบและประเมินความยั่งยืนของชุมชนอย่างต่อเนื่อง 4) การให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงความคิดและค่านิยมของวัยรุ่น การดำเนินงานนโยบายการแก้ปัญหาความยากจนนี้เป็นนโยบายขนาดใหญ่ การจะดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จต้องมีความต่อเนื่องในระยะยาว ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงการดำรงชีพอย่างยั่งยืนนั้นจำเป็นต้องเน้นที่การเปลี่ยนความคิดและค่านิยม โดยการให้การศึกษาเป็นพื้นฐานของการพัฒนามนุษย์ ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป คือ ควรมีการนำรูปแบบการดำรงชีพอย่างยืนของครัวเรือนเกษตรกรที่หลุดพ้นจากความยากจนไปใช้ในบริบทอื่น ๆ หรือชุมชนใกล้เคียง |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6507 |
Appears in Collections: | คณะสังคมศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
61030099.pdf | 9.99 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.