Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6506
Title: THE DEVELOPMENT OF A COMPETENCY-BASED UNIT ABOUT MATHEMATICAL PROBLEM SOLVING ON LET’S MATHEMATICAL PROBLEM SOLVING “NABUA NAKHONTHAI RICE” FOR GRADE III STUDENTS
การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ฐานสมรรถนะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง มาแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เกี่ยวกับข้าวนาบัวนครไทยกันเถอะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
Authors: Suphita Intakoon
สุภิตา อินทะกูล
Wichian Thamrongsotthisakul
วิเชียร ธำรงโสตถิสกุล
Naresuan University
Wichian Thamrongsotthisakul
วิเชียร ธำรงโสตถิสกุล
wichianth@nu.ac.th
wichianth@nu.ac.th
Keywords: หน่วยการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ
สมรรถนะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์
ข้าวนาบัวนครไทย
Competency-Based Unit
Mathematical Problem Solving
Nabua Nakhonthai Rice
Issue Date:  23
Publisher: Naresuan University
Abstract: The objective of this research was to develop a competency-based unit about Mathematical problem solving on let’s Mathematical problem solving “Nabua Nakhonthai rice” for grade III students with the following specific objectives: 1) To construct and validate a competency-based unit Mathematical problem solving on let’s Mathematical problem solving “Nabua Nakhonthai rice” for grade 3 students, 2) To implement a competency-based unit about Mathematical problem solving on let’s Mathematical problem solving “Nabua Nakhonthai rice” for grade 3 students by comparing the Mathematical problem solving with the 70 percent standard, 3) To assess opinion on teaching and learning to a competency-based unit Mathematical problem solving on let’s Mathematical problem solving “Nabua Nakhonthai rice” for grade 3 . This study was conducted through research and  development methodology. The sample consisted of 14 students from Grade 3, studying in the second semester of the 2023 at Prachasongkorpittaya School, Phitsanulok Primary Educational Service Area Office 3 selected by simple random sampling. This research used one group posttest only design with the 70 percent standard. The research instruments included a competency-based unit about Mathematical problem solving on let’s Mathematical problem solving “Nabua Nakhonthai rice” for grade 3 , the Mathematical problem solving test. Data were analyzed using mean, standard deviation, percentage, and binomial test. The research results revealed that: 1. The competency-based unit about Mathematical problem solving on let’s Mathematical problem solving “Nabua Nakhonthai rice” for grade 3 students; there were 9 components: : 1) Name of learningunit and class time, 2) Main point, 3) Core competencies Specific competencies and desired characteristics, 4) Course learning outcomes, 5) Learning content, 6) Learning management, 7) Learning activities, 8) Assessment of learning outcomes Assessment situation and evaluation criteria, and 9) Summative evaluation. The overall results of the appropriateness of learning activities were at the high level (X̅= 4.25, S.D. = 0.39). The competency-based unit was then piloted for the further improvement. Its result was at a high level of appropriateness and ready for the implementation. 2. The implementation of the competency-based unit about Mathematical problem solving on let’s Mathematical problem solving “Nabua Nakhonthai rice” for grade 3 students  found that the student's competencies on Mathematical problem solving after learning was higher than the 70 percent standard and statistically significant at the .05 level. 3. The overall average assessment of Grade 3 students' opinions on the competency-based unit was 4.59, indicating that students agreed with the teaching at the highest level.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ฐานสมรรถนะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง มาแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับข้าวนาบัวนครไทยกันเถอะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เฉพาะ ดังนี้ 1) เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพหน่วยการเรียนรู้ฐานสมรรถนะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง มาแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับข้าวนาบัวนครไทยกันเถอะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนตามหน่วยการเรียนรู้ฐานสมรรถนะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง มาแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับข้าวนาบัวนครไทยกันเถอะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่พัฒนาขึ้นกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อการเรียนการสอนตามหน่วยการเรียนรู้ฐานสมรรถนะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง มาแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับข้าวนาบัวนครไทยกันเถอะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ดำเนินการวิจัยตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีกลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนประชาสงเคราะห์พิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 จำนวน 14 คน ได้มาโดยการการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ใช้แบบแผนการทดลองกลุ่มเดียวทดสอบหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หน่วยการเรียนรู้ฐานสมรรถนะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง มาแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับข้าวนาบัวนครไทยกันเถอะ แบบวัดสมรรถนะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการเรียนการสอนตามหน่วยการเรียนรู้ฐานสมรรถนะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง มาแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ข้าวนาบัวนครไทยกันเถอะ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และการทดสอบทวินาม (Binomial Test)  ผลการวิจัย พบว่า 1. หน่วยการเรียนรู้ฐานสมรรถนะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง มาแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับข้าวนาบัวนครไทยกันเถอะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เป็นหน่วยการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ มี 8 ส่วน ได้แก่ 1) ชื่อหน่วยการเรียนรู้ 2) ผลลัพธ์การเรียนรู้ 3) สมรรถนะหลักที่เกี่ยวข้อง 4) สมรรถนะเฉพาะ 5) จุดประสงค์การเรียนรู้เชิงสมรรถนะ 6) การจัดการเรียนรู้ 7) หลักฐานการเรียนรู้ และ 8) เกณฑ์การประเมินผลการประเมินภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.25, S.D. = 0.39) ผลการศึกษานำร่องหน่วยการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ พบว่า หน่วยการเรียนรู้มีความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติใช้จริง 2. ผลการทดลองใช้หน่วยการเรียนรู้ฐานสมรรถนะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง มาแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับข้าวนาบัวนครไทยกันเถอะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า นักเรียนมีการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผลการประเมินความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อหน่วยการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 4.59 แสดงว่านักเรียนเห็นด้วยกับการเรียนการสอนในระดับมากที่สุด
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6506
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
65091218.pdf6.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.