Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6505
Title: | การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทางเศรษฐศาสตร์โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ทางการเงิน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 DEVELOPMENT OF ECONOMIC LEARNING ACTIVITIES BY USING PHENOMENON-BASED TO PROMOTE FINANCIAL LITERACY FOR GRADE 7 STUDENTS |
Authors: | Sutida Janthaduang สุธิดา จันทะดวง Kobsook Kongmanus กอบสุข คงมนัส Naresuan University Kobsook Kongmanus กอบสุข คงมนัส kobsookk@nu.ac.th kobsookk@nu.ac.th |
Keywords: | กิจกรรมการเรียนรู้ เศรษฐศาสตร์ ปรากฎการณ์เป็นฐาน ความฉลาดดรู้การเงิน Learning Activities Economic Phenomenon-Based Financial Literacy |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | The purposes of this research were: 1) to construct and assess the efficiency of economic learning activities by using Phenomenon-Based to promote financial literacy for grade 7 students, using criterion of 80/80 2) to compare financial literacy on grade 7 students of pretest and posttest by using economic learning activities by using Phenomenon-Based to promote financial literacy for grade 7 students 3) to study satisfaction of economic learning activities by using Phenomenon-Based to promote financial literacy for grade 7 students. The research and development process involves three steps: 1) Creating and evaluating the effectiveness of learning activities using phenomena-based learning with non-sample Grade 7 students involves two approaches: one-on-one with three students and small group with nine students. 2) Comparing financial literacy before and after learning through phenomena-based learning with a convenience sample of 30 Grade 7 students from Chakangrao Vitthaya School, randomly selected by classroom, using a One Group Pretest-Posttest Design. 3)Studying student satisfaction towards phenomena-based learning activities involves assessing the satisfaction levels of 30 Grade 7 students from Chakangrao Vitthaya School, specifically from class 1/1, who have engaged in such activities. The research tools included 1) economic learning activities by using Phenomenon-Based 2) the measurement of financial literacy 3) Satisfaction questionnaire for economic learning activities by using Phenomenon-Based to promote financial literacy. The data were analyzed using mean scores, standard deviation, t-test for dependent Samples (T – test).
The result of this research
1. The learning activities by Phenomenon-Based to promote financial literacy for grade 7 students amount three steps as follow: 1) choosing interesting Phenomenon Based Learning 2) analyzing the value of existing lessons 3) defining the sequence of activities, questions and problems and 4) checking understanding. The economic learning activities by using Phenomenon-Based to promote financial literacy for grade 7 students had the effectiveness, that was 81.94/80.74.
2. The sample group had financial literacy after using economic learning activities by using Phenomenon-Based to promote financial literacy in the posttest was higher than in the pretest with a statistical level of .05.
3. The satisfaction of economic learning activities by using Phenomenon-Based to promote financial literacy for grade 7 students was high scores. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ : 1) เพื่อสร้างและประเมินประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ทางเศรษฐศาสตร์โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้การเงิน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตาม เกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบความฉลาดรู้ทางการเงินก่อนและหลังเรียน ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ทางเศรษฐศาสตร์โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้การเงิน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ทางเศรษฐศาสตร์โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้การเงิน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ดำเนินการวิจัยตามกระบวนการวิจัยและพัฒนามี 3 ขั้นตอนได้แก่ 1) การสร้างและประเมินประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน กับนักเรียนที่เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ไม่ใช่นักเรียนกลุ่มตัวอย่าง แบบหนึ่งต่อหนึ่ง จำนวน 3 คน และแบบกลุ่มเล็กจำนวน 9 คน 2) เปรียบเทียบความฉลาดรู้การเงิน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนชากังราววิทยา (อินทร์-ชุ่ม ดีสารอุปถัมภ์) อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยวิธีจับฉลาก มีหน่วยการสุ่มคือห้องเรียน แผนการวิจัยได้แก่ One Group Pretest – Posttest Design. 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียน ที่มีต่อการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนชากังราววิทยา (อินทร์-ชุ่ม ดีสารอุปถัมภ์) อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 30 คน ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) กิจกรรมการเรียนรู้ทางเศรษฐศาสตร์โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน 2) แบบวัดความฉลาดรู้ทางการเงิน และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ทางเศรษฐศาสตร์โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ทางการเงิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) และการทดสอบสมมติฐาน t-test แบบ Dependent ผลการวิจัยพบว่า 1. กิจกรรมการเรียนรู้ทางเศรษฐศาสตร์โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้การเงินสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน อ้างอิงจาก Daehler & Folsom (2016, อ้างอิงใน ชลาธิป สมาหิโต, 2562) ได้แก่ 1) เลือกปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ 2) วิเคราะห์คุณค่าของบทเรียน 3) วางลำดับกิจกรรม 4) วางแผนการตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียน กิจกรรมการเรียนรู้และแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางเศรษฐศาสตร์โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้การเงิน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 81.94/80.74 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2. นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีความฉลาดรู้ทางการเงินหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ทางเศรษฐศาสตร์โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้การเงิน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ทางเศรษฐศาสตร์โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6505 |
Appears in Collections: | คณะศึกษาศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
SutidaJanthaduang.pdf | 4.07 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.