Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6501
Title: | Storyline writing Together with metabolic techniques To develop skills in writing with knowledge management Of grade 1 students การพัฒนาทักษะการเขียนย่อความด้วยการจัดการเรียนการรู้ ด้วยกลวิธีการเขียนแบบสตอรี่ไลน์ ร่วมกับเทคนิคเมตาคอกนิชัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 |
Authors: | Siriphet Meechaiyo ศิริเพชร มีไชโย Omthajit Pansri อ้อมธจิต แป้นศรี Naresuan University Omthajit Pansri อ้อมธจิต แป้นศรี omthajitp@nu.ac.th omthajitp@nu.ac.th |
Keywords: | การจัดการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ เทคนิคเมตาคอกนิชัน การเขียนย่อความ Storyline Metacognition Technique writing a summary |
Issue Date: | 23 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | The objectives of this research were 1) to compare the summary writing skills of Mathayom 1 students between before and after using storyline writing combined with metacognition techniques 2) to compare the summary writing skills of Mathayom 1 students after taking learning management by using storyline writing combined with metacognition techniques with a criterion of 70 percent 3) to study satisfaction of Mathayom 1 students with teaching and learning management by using storyline writing combined with metacognition techniques. The sample of this research was 15 students in Mathayom 1, academic year 2023 of Nongplalai School located in Wangsaiphon District, Phichit Province chose by a simple random sampling (draw lots). The research tools included: the learning plans that had activities based on storyline writing combined with metacognition techniques, the test to measure academic achievement in summary writing skills, and learning management satisfaction assessment form. Statistical data were analyzed using t-test, average, and standard deviation.
The research results found that 1) Academic achievement comparison result found that students' academic achievement scores were significantly higher at the .05 level after taking learning management by using storyline writing combined with metacognition techniques 2) Academic achievement comparison result with a criterion of 70 percent found that the students' post-test scores had an average score of 22.67 or 75.57 percent and when comparing the 70 percent criteria with the test scores after learning management, it was found that the post-test scores for learning management of Mathayom 1 students were higher than the criteria, with statistical significance at the .05 level. 3) Results of the study of satisfaction of Mathayom 1 students with the storyline writting combined with metacognition techniques, overall satisfaction was at the highest level (= 4.64, S.D. = 0.21). Considering each aspect, it was found that the aspect with the highest level of satisfaction is learning management and benefits received ( = 4.87, S.D. = 0.35), second is learning materials (= 4.73, S.D. = 0.46), and learning atmosphere (= 4.67, S.D. = 0.72) serially. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการเขียนย่อความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การเขียนย่อความแบบสตอรี่ไลน์ ร่วมกับกลวิธีเมตาคอกนิชัน 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการเขียนย่อความ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนการสอนโดยใช้การเขียนแบบสตอรี่ไลน์ ร่วมกับกลวิธีเมตาคอกนิชันกับเกณฑ์ร้อยละ70 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การเขียนแบบสตอรี่ไลน์ ร่วมกับกลวิธีเมตาคอกนิชัน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านหนองปลาไหล ตำบล หนองปลาไหล อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร จำนวน 15 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยวิธีการแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบไปด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ที่มีกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ ร่วมกับเทคนิคเมตาคอกนิชัน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการเขียนย่อความ และแบบประเมินความพึงพอใจการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ การทดสอบค่าที (t-test) ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบทักษะการเขียนย่อความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังเรียน โดยการจัดการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ ร่วมกับเทคนิคเมตาคอกนิชัน พบว่า นักเรียนมีคะแนนหลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลการเปรียบเทียบทักษะการเขียนย่อความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ ร่วมกับเทคนิคเมตาคอกนิชัน เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 พบว่า คะแนนการทดสอบหลังการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 22.67 คิดเป็นร้อยละ 75.57และเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 กับคะแนนการทดสอบหลังการจัดการเรียนรู้ พบว่า คะแนนการทดสอบหลังการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่าเกณฑ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ ร่วมกับเทคนิคเมตาคอกนิชัน ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด (= 4.64, S.D. = 0.21) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดคือ ด้านการจัดการเรียนรู้และด้านประโยชน์ที่ได้รับ (= 4.87, S.D. = 0.35) รองลงมา คือ ด้านสื่อการเรียนรู้ (= 4.73, S.D. = 0.46) และ ด้านบรรยากาศในการเรียนรู้ (= 4.67, S.D. = 0.72) ตามลำดับ |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6501 |
Appears in Collections: | คณะศึกษาศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
65090990.pdf | 11.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.