Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6500
Title: A DEVELOPMENT OF THE SCIENCE LEARNING MANAGEMENT PROGRAM USING THE DESIGN THINKING PROCESS WITH THE MINDSET FRAMEWORK DEVELOPMENT GUIDELINE TO STRENGTHEN THE GROWTH MINDSET AND INNOVATION FOR GRADE 5 STUDENTS AT UNIVERSITY DEMONSTRATION SCHOOL
การพัฒนาโปรแกรมการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบร่วมกับแนวทางการพัฒนากรอบความคิด เพื่อเสริมสร้างกรอบความคิดเติบโต และความเป็นนวัตกร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย
Authors: Wuttiphan Tedklang
วุฒิพันธ์ เทศคลัง
Wareerat Kaewurai
วารีรัตน์ แก้วอุไร
Naresuan University
Wareerat Kaewurai
วารีรัตน์ แก้วอุไร
wareeratk@nu.ac.th
wareeratk@nu.ac.th
Keywords: โปรแกรมการจัดการเรียนรู้
กรอบความคิดเติบโต
ความเป็นนวัตกร
Science learning management program
Growth Mindset
Innovator
Issue Date:  23
Publisher: Naresuan University
Abstract: The purposes of this research were to develop the science learning management program using the design thinking process with the mindset framework development guideline, to strengthen the growth mindset and innovation for grade 5 students at University Demonstration School, using a 4-step research and development process. Step 1: Study basic information for program development by conducting in-depth interviews with 6 informants. Step 2. Create and check the quality of the program. Experts examined the suitability and piloted the program to study its feasibility. Step 3: Experimenting with a science learning management program using the design thinking process with the mindset framework development guideline, to strengthen the growth mindset and innovation for grade 5 students at Demonstration University School. Tested by experimenting with a sample group of Grade 5 students at Kindergarten and Demonstration Primary School, Naresuan University. Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, Semester 2, Academic Year 2023, 31 people, for 5 hours. And Step 4: Evaluation of the program by evaluating students' opinions on participating in program activities. The research findings were             1.study the basic information for developing the science learning management program using the design thinking process with the mindset framework development guideline            2. The science learning management program using the design thinking process with the mindset framework development guideline, to strengthen the growth mindset and innovation for grade 5 students at University Demonstration School, consists of 5 elements are principles, objectives, learning content. learning management process and measurement and evaluation. This program has integrated learning content consisting of 5 learning contents: 1) Meaning, types and importance of mindset. 2) Planning one's learning goals. and act with patience and diligence. 3) Learning methods and paths to success from successful people and positive communication is what helps the work to be completed smoothly. 4) Linking knowledge, information, or experiences to use in experimenting or creating work and connected to everyday phenomena, and 5) Creating new pieces of work from creative thinking in finding new experimental methods or solving problems. The program's activities use design thinking processes and the mindset framework development guideline, in which the quality inspection of the program and program user manual was found to be at the highest level of appropriateness. And the pilot study found that the program can actually be practical.             3. The results of the program trial found that 1) After the trial, students had a higher growth mindset than before the program trial with statistically significant at the .01 level.  2) There was a score of 83.40% as an innovator of students after using the program, which is higher than the threshold of 70% for statistically significant at the .01 level.            4. The results of the program evaluation found that students' opinions on participating in the program's learning activities were at the highest level.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์  โดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบร่วมกับแนวทางการพัฒนากรอบความคิด เพื่อเสริมสร้างกรอบความคิดเติบโตและความเป็นนวัตกร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย  โดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา 4 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาโปรแกรม โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูล จำนวน 6 ท่าน ขั้นตอนที่ 2 สร้างและตรวจสอบคุณภาพของโปรแกรม โดยผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสมและนำโปรแกรมไปทดลองนำร่องเพื่อศึกษาความเป็นไปได้  ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้โปรแกรมการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบร่วมกับแนวทางการพัฒนากรอบความคิด เพื่อเสริมสร้างกรอบความคิดเติบโตและความเป็นนวัตกร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ทดลองใช้โดยการทดลองกับกลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลและประถมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 31 คน เป็นเวลา 5 ชั่วโมง ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลโปรแกรมโดยประเมินความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเข้าร่วมกิจกรรมของโปรแกรม ผลการวิจัย พบว่า             1. ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาโปรแกรม ฯ ประกอบด้วย สภาพปัญหาและความต้องการ สาระการเรียนรู้ และกระบวนการส่งเสริมกรอบความคิดเติบโตและความเป็นนวัตกร            2. โปรแกรมการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบร่วมกับแนวทางการพัฒนากรอบความคิด เพื่อเสริมสร้างกรอบความคิดเติบโตและความเป็นนวัตกร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ประกอบไปด้วย 5 องค์ประกอบ คือ หลักการ  วัตถุประสงค์  สาระการเรียนรู้  กระบวนการจัดการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล โปรแกรมนี้มีการบูรณาการสาระการเรียนรู้ประกอบด้วย 5 สาระการเรียนรู้ ได้แก่ 1) ความหมาย ประเภทและความสำคัญของกรอบความคิด 2) การวางแผนเป้าหมายการเรียนรู้ของตน และลงมือปฏิบัติด้วยความอดทนเพียรพยายาม 3) การเรียนรู้วิธีการและหนทางสู่ความสำเร็จจากบุคคลที่ประสบความสำเร็จและการสื่อสารเชิงบวกเป็นสิ่งช่วยให้งานสำเร็จอย่างราบรื่น 4) การเชื่อมโยงความรู้  ข้อมูล หรือประสบการณ์ไปใช้ในการทดลองหรือสร้างสรรค์ชิ้นงาน และเชื่อมโยงกับปรากฏการณ์ในชีวิตประจำวัน และ 5) การสร้างชิ้นงานที่มีความแปลกใหม่จากการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการหาวิธีการทดลองหรือการแก้ปัญหาใหม่ ๆ การจัดกิจกรรมของโปรแกรมใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบและแนวทางการพัฒนากรอบความคิด ซึ่งการตรวจสอบคุณภาพโปรแกรมและคู่มือการใช้โปรแกรม พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และการศึกษานำร่องพบว่าโปรแกรมสามารถนำไปใช้ปฏิบัติได้จริง             3. ผลการทดลองใช้โปรแกรม พบว่า 1) นักเรียนมีกรอบความคิดเติบโตหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองใช้โปรแกรม อย่างมีนัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) มีคะแนนความเป็นนวัตกรของนักเรียนหลังการทดลองใช้โปรแกรมคิดเป็นร้อยละ 83.40 ซึ่งมีค่าสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01            4. ผลการประเมินโปรแกรม พบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นต่อการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ของโปรแกรมอยู่ในระดับมากที่สุด
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6500
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
65090969.pdf13.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.