Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6481
Title: THE DEVELOPMENT OF TRAINING CURRICULUM ACCORDING TO CYBER FRIENDLY SCHOOL PROGRAM STRENGTHEN ON DIGITAL EMPATHY FOR LOWER SECONDARY SCHOOL STUDENTS
การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมตามแนวคิด Cyber Friendly School Program เพื่อเสริมสร้างความเห็นอกเห็นใจในโลกดิจิทัลสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
Authors: Shinnawat Vassanaraengsutti
ชินวัฒน์ วาสนาเรืองสุทธิ
Kobsook Kongmanus
กอบสุข คงมนัส
Naresuan University
Kobsook Kongmanus
กอบสุข คงมนัส
kobsookk@nu.ac.th
kobsookk@nu.ac.th
Keywords: แนวคิด Cyber Friendly School Program
ความเห็นอกเห็นใจในโลกดิจิทัล
หลักสูตรฝึกอบรม
Cyber Friendly School Program
Digital Empathy
Training Curriculum
Issue Date:  17
Publisher: Naresuan University
Abstract: The purposes were to: 1) developed curriculum and verify quality of training curriculum of Cyber Friendly School Program (CFSP), 2) experimented the training curriculum of CFSP and   3) evaluated the opinions of lower secondary school students towards the training curriculum of CFSP. The sample consisted of 35 seventh grade students and obtained by using purposive sampling. The research instruments were Training Curriculum of CFSP, pre-tests and post-test, Digital Empathy assessment and the students' opinion questionnaires. The data of this research were analyzed by mean, standard deviation, and t-test for dependent.           The results at each step were presented as follows:           1) The training curriculum of CFSP was consisted of 7 parts: principles, objectives, course description, course structure and learning contents, measurement and evaluation, and learning materials were appropriated at the highest level (X-bar =4.66, S.D= 0.42). The curriculum was then piloted for the further improvement. Its result was at high level of appropriateness and ready for the implementation.           2) The students have a capability after learning higher than pretest. And found that the digital empathy of students was the high level (X-bar = 3.96).           3) The evaluation of the curriculum found that the satisfaction of students was at high level (X-bar = 4.37).
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาคุณภาพของหลักสูตรฝึกอบรมตามแนวคิด Cyber Friendly School Program เพื่อเสริมสร้างความเห็นอกเห็นใจในโลกดิจิทัล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) เพื่อทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมตามแนวคิด Cyber Friendly School Program เพื่อเสริมสร้างความเห็นอกเห็นใจในโลกดิจิทัล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 3) เพื่อประเมินความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมฯ ดำเนินการศึกษาค้นคว้าตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา มีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 35 คน ที่ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หลักสูตรฝึกอบรมตามแนวคิด Cyber Friendly School Program  แบบทดสอบวัดความรู้ตามแนวคิด Cyber Friendly School Program แบบประเมินตนเองด้านความเห็นอกเห็นใจในโลกดิจิทัล และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่า t-test (dependent)           ผลการวิจัย พบว่า           1) หลักสูตรฝึกอบรม มี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ จุดมุ่งหมาย คำอธิบายรายวิชา โครงสร้างหลักสูตรฝึกอบรมและสาระการเรียนรู้ แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แนวทางการวัดและประเมินผล และสื่อการเรียนรู้ และมีความเหมาะสมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด (X-bar = 4.66, S.D. = 0.42) ผลการทดลองนำร่องหลักสูตรฝึกอบรม พบว่า หลักสูตรฝึกอบรมมีความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติจริง           2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรฝึกอบรมมีความรู้ตามแนวคิด Cyber Friendly School Program หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และนักเรียนมีความเห็นอกเห็นใจในโลกดิจิทัลอยู่ในระดับมาก (X-bar = 3.96)           3) ความคิดเห็นต่อหลักสูตรฝึกอบรมมีความรู้ตามแนวคิด Cyber Friendly School Program ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีความพึงพอใจในอยู่ระดับมาก (X-bar = 4.37)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6481
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
65090341.pdf5.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.