Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6477
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorIngfa Sriyothaen
dc.contributorอิงฟ้า ศรีโยธาth
dc.contributor.advisorTaweesak Sawangmeken
dc.contributor.advisorทวีศักดิ์ สว่างเมฆth
dc.contributor.otherNaresuan Universityen
dc.date.accessioned2024-11-20T04:50:36Z-
dc.date.available2024-11-20T04:50:36Z-
dc.date.created2024en_US
dc.date.issued23/6/2024en_US
dc.identifier.urihttp://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6477-
dc.description.abstractThe objectives of this research were: 1) to study the level of organizational climate as perceived by teachers in schools under the jurisdiction of the Kamphaeng Phet Secondary Educational Service Area Office, 2) to study the level of job satisfaction as perceived by these teachers, 3) to examine the relationship between organizational climate and job satisfaction among these teachers, and 4) to identify predictors and develop a predictive model for the organizational climate and job satisfaction of teachers in schools under the Kamphaeng Phet Secondary Educational Service Area Office. The participants included 308 teachers from schools under the Kamphaeng Phet Secondary Educational Service Area Office in the 2023 academic year. The sample was selected through stratified random sampling based on school size. Data were collected using a questionnaire that assessed the levels of organizational climate and job satisfaction as perceived by the teachers, divided into three sections: 1) general information of the respondents, 2) organizational climate as perceived by the teachers, and 3) job satisfaction of the teachers. The data were analyzed using basic statistics, including frequency and percentage.    The relationship between organizational climate and job satisfaction was examined using Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient, and the predictors of organizational climate and job satisfaction were analyzed using Stepwise Multiple Regression Analysis.       The research findings were as follows: 1) The overall level of organizational climate factors affecting teachers' job satisfaction in schools under the Kamphaeng Phet Secondary Educational Service Area Office was high (mean = 4.30, S.D. = 0.46). 2) The overall level of job satisfaction of teachers in these schools was also high (mean = 4.34, S.D. = 0.46). 3) The correlation coefficient between organizational climate factors affecting teachers' job satisfaction was positively significant at the 0.01 level, with correlation values ranging from 0.59 to 0.81, indicating low to high levels of relationship. Considering the correlation coefficients between organizational climate factors affecting teachers' job satisfaction (Ytot), a positively significant correlation at the 0.01 level was found, with values ranging from 0.71 to 0.81, indicating a relatively high level of relationship. Six organizational climate factors significantly influenced job satisfaction: organizational policy, organizational structure, leadership, support, rewards and punishment, while intimacy could not predict job satisfaction. The predictive efficiency (R2) was 0.809, indicating that these five organizational climate factors could jointly predict 80.90% of the job satisfaction of teachers in schools under the Kamphaeng Phet Secondary Educational Service Area Office, with statistical significance at the 0.05 level. The regression equations are; Y^=0.473+0.168x1+0.248x2+0.056x3+0.276x5+0.150x6 and  Z^=0.183x1+0.304x2+0.064x3+0323x5+0.168x6en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับของบรรยากาศองค์การตามการรับรู้ของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กำแพงเพชร 2) เพื่อศึกษาระดับความสุขในการทำงานตามการรับรู้ของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กำแพงเพชร 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับความสุขในการทำงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กำแพงเพชร 4) เพื่อค้นหาตัวแปรพยากรณ์และสร้างสมการณ์พยากรณ์บรรยากาศองค์การกับความสุขในการทำงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กำแพงเพชร กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ครูของโรงเรียนที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร ในปีการศึกษา 2566 จำนวน 308 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามการศึกษาระดับของบรรยากาศองค์การและระดับความสุขในการทำงานตามการรับรู้ของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร จำนวน 1 ฉบับ แบ่งออกเป็น 3 ตอน 1) ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามเป็นแบบตรวจสอบรายการ 2) บรรยากาศองค์การตามความรับรู้ของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร 3) ความสุขในการทำงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กำแพงเพชร โดยมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วน ประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ความถี่ และร้อยละ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับความสุขในการทำงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร โดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียรสัน (Pearson’s Product Moment Correlation) และการวิเคราะห์ตัวแปรพยากรณ์ของบรรยากาศองค์การกับความสุขในการทำงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กำแพงเพชร ด้วยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)                     ผลการวิจัยพบว่า 1) ตาราง  ผลการวิเคราะห์ปัจจัยบรรยากาศองค์กรตามการรับรู้ของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (mean = 4.30, S.D. = 0.46) 2) 19  ผลการวิเคราะห์ระดับความสุขในการทำงานของครูโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (mean = 4.34, S.D. = 0.46) 3) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชรซึ่งมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าสหสัมพันธ์ระหว่าง 0.59-0.81 มีความสัมพันธ์ในระดับต่ำถึงระดับสูงและเมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร(Ytot) พบว่ามีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าสหสัมพันธ์ระหว่าง 0.71- -0.81 โดยมี ความสัมพันธ์ในระดับค่อนข้างสูง พบว่า ปัจจัยบรรยากาศองค์การ จำนวน 6 ปัจจัย ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร เรียงลำดับค่าอำนาจพยากรณ์ จากมากไปน้อยคือ ปัจจัยด้านนโยบายองค์การ (X6) ปัจจัยด้านโครงสร้างองค์การ (X1) ปัจจัยด้านภาวะผู้นำ (X2) ปัจจัยด้านความช่วยเหลือ (X3) ปัจจัยด้านการการให้รางวัลและการลงโทษ (X5) ส่วนปัจจัยด้านความสนิทสนม (X4) ไม่สามารถนำมาพยากรณ์ความสุขในการทำงานได้ ค่าประสิทธิภาพในการพยากรณ์ (R2) เท่ากับ .809 แสดงว่าปัจจัยบรรยากาศองค์การทั้ง 5 ปัจจัย สามารถร่วมกันทำนายความสุขในการทำงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร ได้ร้อยละ 80.90 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนดิบ ได้ดังนี้ Y^=0.473+0.168x1+0.248x2+0.056x3+0.276x5+0.150x6  สามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ในรูปแบบมาตราฐาน ได้ดังนี้               Z^=0.183x1+0.304x2+0.064x3+0323x5+0.168x6th
dc.language.isothen_US
dc.publisherNaresuan Universityen_US
dc.rightsNaresuan Universityen_US
dc.subjectบรรยากาศองค์การ, ความสุขในที่ทำงานth
dc.subjectOrganizational Climateen
dc.subjectHappiness at worken
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.subject.classificationEducationen
dc.subject.classificationEducation scienceen
dc.titleFACTORS OF ORGANIZATIONAL CLIMATE AFFECTING HAPPINESS AT WORK UNDER THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE KAMPHAENG PHETen
dc.titleปัจจัยบรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชรth
dc.typeIndependent Studyen
dc.typeการค้นคว้าอิสระth
dc.contributor.coadvisorTaweesak Sawangmeken
dc.contributor.coadvisorทวีศักดิ์ สว่างเมฆth
dc.contributor.emailadvisortaweesaksa@nu.ac.then_US
dc.contributor.emailcoadvisortaweesaksa@nu.ac.then_US
dc.description.degreenameMaster of Education (M.Ed.)en
dc.description.degreenameการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)th
dc.description.degreelevelMaster's Degreeen
dc.description.degreelevelปริญญาโทth
dc.description.degreedisciplineDepartment of Educational Administration and Developmenten
dc.description.degreedisciplineภาควิชาบริหาร วิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาth
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
65072170.pdf2.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.