Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6469
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Napakamon Chutinatarakorn | en |
dc.contributor | นภกมล ชุตินธรากร | th |
dc.contributor.advisor | Nanthima Nakhaphong Asvaraksha | en |
dc.contributor.advisor | นันทิมา นาคาพงศ์ อัศวรักษ์ | th |
dc.contributor.other | Naresuan University | en |
dc.date.accessioned | 2024-11-20T04:50:35Z | - |
dc.date.available | 2024-11-20T04:50:35Z | - |
dc.date.created | 2024 | en_US |
dc.date.issued | 23/6/2024 | en_US |
dc.identifier.uri | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6469 | - |
dc.description.abstract | The objectives of this research were 1) to assess the need for enhancing motivation in the performance of teachers under the Kamphaeng Phet Primary Educational Service Area Office 2 and, 2) to study guidelines for enhancing motivation in the performance of teachers under the Kamphaeng Phet Primary Educational Service Area Office 2 The research methodology was divided into 2 steps. Step 1 was a 5-point rating scale questionnaire on the current conditions and desired conditions of enhancing motivation in the performance of teachers under the Kamphaeng Phet Primary Educational Service Area Office 2. The sample group consisted of 306 qualified and non-qualified teachers, government employees, and contract teachers. Data were analyzed using percentage statistics, mean (x ̅), standard deviation (S.D.), and the Priority Needs Index (PNI modified). Step 2 was a study of guidelines for enhancing motivation in the performance of teachers under the Kamphaeng Phet Primary Educational Service Area Office 2 by using Structured interviews on guidelines for enhancing motivation in the performance of teachers under the Kamphaeng Phet Primary Educational Service Area Office 2. The interviewees were 5 experts. Data were analyzed using content analysis. The findings revealed that 1. The results of the assessment of the need for enhancing motivation in the performance of teachers under the Kamphaeng Phet Primary Educational Service Area Office 2 in all 7 areas revealed that teacher performance motivation is arranged in order from highest to lowest as follows: 1) Assignment and job description, 2) Good relationships in educational institutions, 3) Performance environment management, 4) Policy setting and administration, 5) Position advancement, 6) Respect, 7) Benefits and compensation. 2. The results of the study of guidelines for enhancing motivation in the work of teachers under the Kamphaeng Phet Primary Educational Service Area Office 2 revealed that 1) In terms of assignments and job descriptions, educational administrators should create an agreement with guidelines and goals to acknowledge the scope of duties according to the position standards. It must be an agreement between the school administrators and teachers. Assignments should match teachers' majors, abilities, and aptitudes with full flexibility in designing assignments or solutions during the performance of the assignment. Moreover, the assignments should be appropriate in numbers and promote new teachers' knowledge by experienced teachers for smoother and more efficient performance, 2) In terms of good relationships in educational institutions, educational institution administrators should thoroughly inform teachers of educational institution news, supporting cooperation in coordination without discrimination. Teamwork should be promoted through PLC meetings to solve problems together. Moreover, it must encourage teachers to participate in joint activities such as organizing festivals or important days according to appropriate occasions. Teachers should be congratulated on their monthly success or wished for their birthday as well as being good co-workers to show equality and reasonable friendliness, and 3) In terms of performance environment management, educational institution administrators should promote the division of office space into sections to accommodate 4 administrative tasks. A good environment in educational institutions should be promoted such as learning media to stimulate students' interest in the classroom. Teachers must always be able to use various media conveniently, orderly, and suitable for organizing any learning methods. Moreover, there should be learning resources within the educational institution for an unlimited time. A facilitator should be appointed to oversee the availability of necessary materials, equipment, and tools for the educational institution. Quality tools and materials should be provided to facilitate learning. Safety considerations should be given to teachers performing their duties in educational institutions, such as installing fences, and CCTV cameras and opening and closing doors at specific times. | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นของการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 2) เพื่อศึกษาแนวทางการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 โดยวิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 การประเมินความต้องการจำเป็นของการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 โดยใช้แบบสอบถาม เรื่อง สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูที่มีวิทยฐานะและไม่มีวิทยฐานะ พนักงานราชการ และอัตราจ้าง จำนวน 306 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาแนวทางการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 โดยใช้แบบสัมภาษณ์ เรื่อง แนวทางการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 มีลักษณะเป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ผู้ให้สัมภาษณ์คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการประเมินความต้องการจำเป็นของการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 ทั้ง 7 ด้าน พบว่า ความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู เรียงตามลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นจากมากไปน้อย ดังนี้ 1) การมอบหมายงานและลักษณะงาน 2) ความสัมพันธ์อันดีในสถานศึกษา 3) การจัดสภาพแวดล้อมในการทำงาน 4) การกำหนดนโยบายและการบริหาร 5) การมีความก้าวหน้าในตำแหน่งงาน 6) การได้รับการยอมรับนับถือ 7) สวัสดิการและค่าตอบแทน 2. ผลการศึกษาแนวทางการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 พบว่า 1) การมอบหมายงานและลักษณะงาน ผู้บริหารศึกษาควรจัดทำข้อตกลงในการปฏิบัติงานที่เป็นแนวทางและเป้าหมายของงาน ซึ่งทำให้ทราบขอบเขตในการปฏิบัติงานในหน้าที่ตามมาตรฐานตำแหน่ง เป็นข้อตกลงระหว่างผู้บริหารสถานศึกษากับคณะครู ควรมอบหมายงานให้ตรงกับวิชาเอกความสามารถ และความถนัด ของคณะครู ให้อิสระในการออกแบบงาน หรือตัดสินใจเลือกวิธีการแก้ไขปัญหาในระหว่างการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มที่ อีกทั้งการมอบหมายงานควรมีปริมาณงานที่เหมาะสม มีการส่งเสริมให้ครูที่มีความรู้ความชำนาญเป็นพี่เลี้ยงช่วยเหลือครูที่มาปฏิบัติงานใหม่ ช่วยให้การปฏิบัติงานราบรื่นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น 2) ความสัมพันธ์อันดีในสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาควรแจ้งข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษาให้ครูรับทราบอย่างทั่วถึง สนับสนุนให้ครูมีความร่วมมือในการติดต่อประสานงาน ไม่มีการแบ่งพรรคพวก ควรส่งเสริมให้มีการปฏิบัติงานเป็นทีม มีการประชุม PLC เพื่อช่วยเหลือและแก้ปัญหาร่วมกัน อีกทั้งให้ครูมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน เช่น การจัดเลี้ยงงานเทศกาล หรือวันสำคัญ ตามโอกาสที่เหมาะสม มีการแสดงความยินดีกับคณะครูที่ประสบความสำเร็จในแต่ละเดือน หรือมีคำอวยพรแก่ครูเมื่อถึงวันคล้ายวันเกิด ตลอดจนวางตัวเหมือนเป็นเพื่อนร่วมงานของคณะครู เพื่อแสดงความเสมอภาค และให้ความเป็นกันเองตามสมควร 3) การจัดสภาพแวดล้อมในการทำงาน ผู้บริหารสถานศึกษาควรส่งเสริมการจัดแบ่งพื้นที่ห้องทำงานเป็นสัดส่วนเพื่อรองรับงานบริหาร 4 ฝ่าย ส่งเสริมการจัดสภาพแวดล้อมที่ดีในสถานศึกษา เช่น ห้องเรียนมีสื่อการเรียนรู้เร้าความสนใจผู้เรียน ครูสามารถหยิบใช้สื่อต่าง ๆ ได้สะดวก เหมาะกับการจัดการเรียนรู้ จัดวางสื่อต่าง ๆ ให้เป็นระเบียบอยู่เสมอ อีกทั้งมีแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษาที่สามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลา อีกทั้งควรเป็นผู้อำนวยความสะดวก กำกับดูแลความพร้อมของวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานในสถานศึกษา มีการส่งเสริมให้จัดหาเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่มีคุณภาพ เพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ ตลอดจนควรคำนึงถึงความปลอดภัย เมื่อครูปฏิบัติหน้าที่ในสถานศึกษา เช่น การมีรั้วรอบขอบชิด มีกล้องวงจรปิด และเปิด - ปิด ประตูเป็นเวลา | th |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | Naresuan University | en_US |
dc.rights | Naresuan University | en_US |
dc.subject | ความต้องการจำเป็น | th |
dc.subject | แนวทางการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู | th |
dc.subject | แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู | th |
dc.subject | Needs | en |
dc.subject | Guidelines for Enhancing Motivation of The Teacher Performance | en |
dc.subject | Enhancing Motivation of The Teacher Performance | en |
dc.subject.classification | Social Sciences | en |
dc.subject.classification | Education | en |
dc.subject.classification | Education science | en |
dc.title | NEEDS AND GUIDELINES FOR ENHANCING MOTIVATION OF THE TEACHER PERFORMANCE UNDER KAMPHAENG PHET PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 2 | en |
dc.title | ความต้องการจำเป็นและแนวทางการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 | th |
dc.type | Independent Study | en |
dc.type | การค้นคว้าอิสระ | th |
dc.contributor.coadvisor | Nanthima Nakhaphong Asvaraksha | en |
dc.contributor.coadvisor | นันทิมา นาคาพงศ์ อัศวรักษ์ | th |
dc.contributor.emailadvisor | nanthiman@nu.ac.th | en_US |
dc.contributor.emailcoadvisor | nanthiman@nu.ac.th | en_US |
dc.description.degreename | Master of Education (M.Ed.) | en |
dc.description.degreename | การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) | th |
dc.description.degreelevel | Master's Degree | en |
dc.description.degreelevel | ปริญญาโท | th |
dc.description.degreediscipline | Department of Educational Administration and Development | en |
dc.description.degreediscipline | ภาควิชาบริหาร วิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา | th |
Appears in Collections: | คณะศึกษาศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
65070817.pdf | 4.28 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.