Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6465
Title: | STRATEGIES FOR ADMINISTRATIVE EARLY CHILDHOOD CURRICULA IN MULTICULTURAL. AREA BAN JADEEKHO SCHOOL กลยุทธ์การบริหารหลักสูตรปฐมวัยในพื้นที่พหุวัฒนธรรมโรงเรียนบ้านเจดีย์โคะ |
Authors: | Chanikan Wongkit ชนิกานต์ วงษ์กิจ Nat Rattanasirinichakun ณัฎฐ์ รัตนศิริณิชกุล Naresuan University Nat Rattanasirinichakun ณัฎฐ์ รัตนศิริณิชกุล natr@nu.ac.th natr@nu.ac.th |
Keywords: | กลยุทธ์, การบริหารหลักสูตรปฐมวัย, พื้นที่พหุวัฒนธรรม Strategy Early Childhood Curriculum Administration Multicultural Spaces. |
Issue Date: | 23 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | The purpose of this independent study was to 1) analyze strengths, opportunities, aspirations, and outcomes; and 3) study the results of the trial and transcription of early childhood curriculum management strategies in the multicultural area of Ban Jadeekho School. The Three - Step Approach to The research is 1) Analysis of Strengths, Opportunities, Aspirations, And outcomes; The informant group includes school administrators. Academic Teacher, Early Childhood Teacher Basic education committee and parents 17 persons 2) Study of the results of strategy creation. And 3) Study of trial results and transcript results. Using Action research, the informant group includes school administrators, academic teachers, early childhood teachers. In step 2, The study of the results of creating a strategy to collect research data by an assessment to check the suitabillty. The research tool uses assessments, And each step uses interviews. Focus groups research tools use strategies manuals, Projects/Activities, Interview forms. Focus group issues and data analysis use content analysis.
The results showed that The research findings revealed the following: 1.Environmental Analysis Results: 1)Strengths: The school serves as a foundation for cultural and vocational learning. School administrators, teachers, and staff promote and support the quality development of early childhood education. 2) Opportunities: The community has a rich multicultural heritage, lives together peacefully, and supports educational management. 3) Inspirations: School administrators and teachers have faith in their profession and promote diverse learning management to reintegrate children into the early childhood education system. They aim to develop the school into a community learning center. 4) Outcomes: Reflects community participation, instilling the culture, lifestyle, and tribal traditions of the community. 2.Strategy Development and Evaluation Results : 1)Strategy Development: Includes the development of a participatory management system in a multicultural area, early childhood education management strategies based on multicultural ways, and strategies to promote public relations for community learning exchanges in a multicultural context. 2)Strategy Evaluation: The strategies were found to be highly appropriate. 3.Strategy Implementation and Lessons Learned: Implemented through action research consisting of : Planning Action Observation Reflection Lessons Learned: The administration resulted from the participation of all sectors in the multicultural area. The multicultural early childhood curriculum was developed and practically applied. The community was informed to build a mutual understanding in the multicultural area. การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพแวดล้อม 2) สร้างและตรวจสอบกลยุทธ์ และ 3) ทดลองใช้และถอดบทเรียนกลยุทธ์การบริหารหลักสูตรปฐมวัยในพื้นที่พหุวัฒนธรรมโรงเรียนบ้านเจดีย์โคะ วิธีดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอน 1 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูวิชาการ ครูปฐมวัย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง จำนวน 17 คน ขั้นตอน 2 การสร้างและตรวจสอบกลยุทธ์ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือการวิจัยใช้แบบสอบถามตรวจสอบความเหมาะสม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอน 3 การทดลองใช้และถอดบทเรียนกลยุทธ์ การทดลองใช้ตามขั้นตอนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (PAOR) และการถอดบทเรียนความสำเร็จ ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 17 คน เครื่องมือการวิจัยใช้คู่มือการใช้กลยุทธ์ โครงการ/กิจกรรม แบบสัมภาษณ์ แบบการสะท้อนคิด แบบการทบทวนหลังปฎิบัติงาน (AAR) ประเด็นการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม พบว่า 1) จุดแข็ง คือ โรงเรียนเป็นฐานของการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมงานอาชีพ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเด็กปฐมวัย 2) โอกาส คือ ชุมชนมีต้นทุนทางพหุวัฒนธรรม การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และสนุนการจัดการศึกษา 3) แรงบันดาลใจ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู มีศรัทธาในวิชาชีพ ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อดึงเด็กกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาเด็กปฐมวัย มุ่งพัฒนาโรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน และ 4) ผลลัพธ์ คือ สะท้อนการมีส่วนร่วมของชุมชน ปลูกฝังวัฒนธรรม วิถีชีวิตชุมชน และวัฒนธรรมชนเผ่า 2. ผลการสร้างและตรวจสอบกลยุทธ์ พบว่า 1) ผลการสร้างกลยุทธ์ ประกอบไปด้วย กลยุทธ์การพัฒนาระบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในพื้นที่พหุวัฒนธรรม กลยุทธ์การจัดการศึกษาปฐมวัยบนวิถีพหุวัฒนธรรม และกลยุทธ์การส่งเสริมการประชาสัมพันธ์เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของชุมชนบนวิถีพหุวัฒนธรรม และ 2) ผลการตรวจสอบกลยุทธ์ พบว่า กลยุทธ์มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 3. ผลการทดลองใช้และการถอดบทเรียนกลยุทธ์ ทดลองใช้โดยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 1) การวางแผน 2) การปฏิบัติ 3) การสังเกตการณ์ 4) การสะท้อนผล ผลการถอดบทเรียน พบว่า การบริหารเกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในพื้นที่พหุวัฒนธรรม หลักสูตรปฐมวัยพหุวัฒนธรรมได้รับการพัฒนาสามารถนำมาใช้ได้จริง ชุมชนได้รับการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกันบนพื้นที่พหุวัฒนธรรม |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6465 |
Appears in Collections: | คณะศึกษาศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
65070350.pdf | 2.33 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.