Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6461
Title: PROBLEM BASED LEARNING DEVELOPS ACTIVE CITIZEN HUMAN RIGHTS MATTERS FOR MATHAYOM 3 STUDENTS
กิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อพัฒนาการเป็นพลเมืองตื่นรู้เรื่อง สิทธิมนุษยชน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Authors: Kamonthorn Chaosurin
กมลธร ชาวสุรินทร์
Parinya Soithong
ปริญญา สร้อยทอง
Naresuan University
Parinya Soithong
ปริญญา สร้อยทอง
parinyas@nu.ac.th
parinyas@nu.ac.th
Keywords: การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
พลเมืองตื่นรู้
สิทธิมนุษยชน
Problem Based Learning
Active Citizen
Human Rights
Issue Date:  23
Publisher: Naresuan University
Abstract: This research is a qualitative research study (Qualitative Research) with the objective. 1) To study the current state of learning management activities on human rights in the area of Ban Chan Subdistrict, Mueang District, Udon Thani Province and 2) To create problem-based learning management activities. To develop citizens aware of human rights for Mathayom 3 students in the area of Ban Chan Subdistrict, Mueang District, Udon Thani Province. The process of organizing education through problems is the basis for learning and actually occurs in society. and to create a process of participation in solving problems together in the classroom Develop innovative media for activities and evaluate students from real conditions. The research area is Kaiprajaksilpakom School, with a group of informants consisting of a group of 25 students and a group of 3 social studies teachers, totaling 28 people, collecting data from observation. interview and group discussion Triangulate the reliability of the data. and analyze the data and write descriptive narratives. The results of the research found that:         1. The current condition of learning management activities on human rights for Mathayom 3 students in Ban Chan Subdistrict, Mueang District, Udon Thani Province is as follows: Curriculum aspect: The curriculum has not been improved and the curriculum should be open. Unable to truly access the state of social problems Learning management Emphasis is placed on lectures. There is additional supplementary information from the textbook. Lack of connection to current event content Emphasis on skill-lack theory In terms of learning media, video media and pictures contained in books for accompanying lectures. There is no variety in learning media. The media is not up to date. Measurement and evaluation It is the measurement and evaluation of the work piece. It is not assessed according to the skills that students just have. and post-learning activities Teacher side It is content that teachers do not give importance to and teach in order to finish the content and move on to other content. Lack of stimulation in social studies content and is the only person who provides knowledge in one aspect. On the student side, students lack participation in class and do not Students do not dare express their opinions. There is little interest in learning. Due to uninteresting activities or rather dense learning content Because there are no topics to stimulate students, they are disconnected from problems or situations in Thai society. 2. Results of creating problem-based learning management activities To develop citizens aware of human rights for Mathayom 3 students in the Ban Chan Subdistrict area. Mueang District, Udon Thani Province are as follows: Curriculum: organizing teaching and learning to meet the standards and indicators according to the core education curriculum. In order to organize teaching with efficiency and effectiveness of teaching. Learning management Use activities to manage learning Using problems that occur around students It is a stimulant for student learning. Learning media The media is diverse and interesting. Appropriate to the age of the students There are every emotion in each activity. The media is interesting and relevant to the problem. Measurement and evaluation Measurement and evaluation meet the needs of teaching and learning in the classroom. There are various forms of evaluation obtained. Don't just rely on evaluating the work or answering questions at the end of the chapter. Teacher side Give importance to human rights content Content preparation The classroom atmosphere is not stressful and the learning activities are fun. Students pay attention to the content. An example can be given to compare with the topic. Dare to express your opinion Participate in class There is an increased focus on learning.
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ เรื่อง สิทธิมนุษยชน ในเขตพื้นที่ตำบลบ้านจั่น อำเภอเมือง  จังหวัดอุดรธานี  และ  2) เพื่อสร้างกิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อพัฒนาการเป็นพลเมืองตื่นรู้ เรื่อง สิทธิมนุษยชน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเขตพื้นที่ตำบลบ้านจั่น อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี กระบวนการจัดการศึกษาผ่านปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้และเกิดขึ้นจริงในสังคม และเพื่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาร่วมกันในชั้นเรียน พัฒนาสื่อนวัตกรรมประกอบการทำกิจกรรม และประเมินผู้เรียนจากสภาพจริง พื้นที่วิจัย คือ โรงเรียนค่ายประจักษ์ศิลปาคม โดยมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย กลุ่มนักเรียน จำนวน 25 คน และกลุ่มครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษา จำนวน 3 คน รวม 28 คน ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกตการสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลแบบสามเส้า และวิเคราะห์ข้อมูลเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ซึ่งผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพปัจจุบันของกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ เรื่อง สิทธิมนุษยชน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเขตพื้นที่ตำบลบ้านจั่น อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี มีดังนี้ ด้านหลักสูตร หลักสูตรไม่มีการปรับปรุง  และหลักสูตรควรมีการเปิดกว้าง  ไม่สามารถเข้าถึงสภาพปัญหาทางสังคมได้อย่างแท้จริง  ด้านการจัดการเรียนรู้  เน้นการบรรยายเป็นหลัก  มีเสริมเพิ่มเติมจากหนังสือเรียน ขาดการเชื่อมโยงเนื้อหาเหตุการณ์ในปัจจุบัน  เน้นทฤษฎีขาดทักษะ  ด้านสื่อการเรียนรู้ สื่อวีดิโอ และรูปภาพที่มีอยู่ในหนังสือในการประกอบการบรรยาย สื่อการเรียนรู้ไม่มีความหลากหลาย สื่อไม่ทันสมัย ด้านการวัดและประเมิน เป็นการวัดและประเมินผลจากชิ้นงาน ไม่ได้ประเมินตามทักษะที่พึงมีแก่นักเรียน และกิจกรรมหลังการเรียนรู้ ด้านครูผู้สอน เป็นเนื้อหาที่ครูผู้สอนไม่ได้ให้ความสำคัญและสอนเพื่อให้จบเนื้อหาและไปเนื้อหาอื่น ขาดการกระตุ้นเนื้อหาด้านวิชาสังคมศึกษา และเป็นผู้ให้ความรู้เพียงด้านเดียว ด้านนักเรียน นักเรียนขาดการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนและไม่ นักเรียนไม่กล้าแสดงความคิดเห็น  มีจุดสนใจในการเรียนน้อย  เนื่องจากกิจกรรมที่ไม่น่าสนใจ หรือเนื้อหาการเรียนที่ค่อนข้างแน่น เนื่องจากไม่ประเด็นหัวข้อในการกระตุ้นนักเรียนขาดการเชื่อมโดยปัญหาหรือสถานการณ์ในสังคมไทย 2. ผลการสร้างกิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อพัฒนาการเป็นพลเมืองตื่นรู้ เรื่อง สิทธิมนุษยชน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเขตพื้นที่ตำบลบ้านจั่น อำเภอเมืองจังหวัดอุดรธานี มีดังนี้ ด้านหลักสูตร การจัดการเรียนการสอนให้ตรงตามมาตรฐานและตัวชี้วัดตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา เพื่อให้มีการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการเรียนการสอน ด้านการจัดการเรียนรู้ ใช้กิจกรรมในการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาที่เกิดขึ้นรอบๆตัวของนักเรียน เป็นตัวกระตุ้นการเรียนรู้ของนักเรียน ด้านสื่อการเรียนรู้ สื่อมีความหลากหลายน่าสนใจ เหมาะสมกับวัยของนักเรียน มีทุกอารมณ์ในแต่ละกิจกรรม สื่อน่าสนใจและเข้ากับปัญหา  ด้านการวัดและประเมิน  การวัดและประเมินตอบโจทย์การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน  มีการประเมินผลที่ได้จากหลากหลายรูปแบบ  ไม่ยึดเพียงแค่ประเมินจากชิ้นงาน  หรือการตอบคำถามท้ายบทเพียงด้านเดียว ด้านครูผู้สอน ให้ความสำคัญกับเนื้อหาเรื่องสิทธิมนุษยชน  การเตรียมเนื้อหา  บรรยากาศในชั้นเรียนไม่ตึงเครียด  และกิจกรรมการเรียนรู้ที่สนุกสนาน  ด้านนักเรียน นักเรียนให้ความสนใจกับเนื้อหา สามารถยกตัวอย่างเพื่อเปรียบเทียบกับหัวข้อเรื่องได้ กล้าแสดงความคิดเห็น มีส่วนร่วมในชั้นเรียน มีจุดสนใจในการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6461
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
65070022.pdf6.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.