Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6450
Title: Effects of High Intensity Interval Training with Miniband on Sandon Health – Related Physical Fitness and Heart Rate Variability inOverweight and Obese Children
ผลของการฝึกออกกำลังกายแบบหนักสลับช่วงที่ความหนักสูงด้วยยางยืดห่วงเล็กบนพื้นทรายที่มีต่อสุขสมรรถนะและความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจในเด็กที่มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน
Authors: Nattasak Pungamchun
ณัฐศักดิ์ ภู่งามชื่น
Tussana Jaruchart
ทัศนา จารุชาต
Naresuan University
Tussana Jaruchart
ทัศนา จารุชาต
tussanaj@nu.ac.th
tussanaj@nu.ac.th
Keywords: ความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจ
สุขสมรรถนะ
ระบบประสาทอัตโนมัติ
Heart rate variability
Health – related physical fitness
Autonomic nervous system
Issue Date:  17
Publisher: Naresuan University
Abstract: The objectives of the study were to examine and compare the effects of high intensity interval training (HIIT) with miniband on sand on health – related physical fitness and heart rate variability (HRV) in overweight and obese children. The thirty – four participants were the children aged 13 – 15 years. They were equally divided into 2 groups, the experimental (EX) group (n=17) and the control (CON) group (n=17). The EX group underwent HIIT exercise program with miniband at vigorous  (80 – 90%HRR), 40 – 47 minutes per day, 3 days a week for 8 weeks, while the CON group did regular daily life. The health – related physical fitness and HRV were measured before and after program. The outcomes were analyzed using Two – way ANOVA with repeated measures and non – parametric statistic at statistically significant difference at .05 level. The results showed that after 8 weeks of training, body mass index (BMI), body fat percentage, waist circumference, hip circumference, waist to hip ratio (WHR), lean body mass, muscular strength and endurance, flexibility, and cardiorespiratory endurance in EX group were greater than CON group at .05 level.  Moreover, high frequency (HF) and total power (TP) of HRV increased only in EX group (p
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการฝึกออกกำลังกายแบบหนักสลับช่วงที่ความหนักสูงด้วยยางยืดห่วงเล็กบนพื้นทรายที่มีต่อสุขสมรรถนะและความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจในเด็กที่มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนที่มีอายุ 13 – 15 ปี จำนวน 34 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 17 คน โดยกลุ่มทดลองเป็นกลุ่มที่ฝึกออกกำลังกายแบบหนักสลับช่วงที่ความหนักสูงบนพื้นทรายด้วยยางยืดห่วงเล็ก (EX) ที่ความหนักระดับสูง (80-90%HRR) เป็นเวลา  40 – 47 นาทีต่อวัน จำนวน 3 วันต่อสัปดาห์ และกลุ่มควบคุม (CON) เป็นกลุ่มที่ใช้ชีวิตประจำวันตามปกติ จำนวน 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ผู้วิจัยทำการเก็บข้อมูลตัวแปร สุขสมรรถนะและความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจก่อนและหลังการทดลอง แล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยการทดสอบความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ และสถิติแบบไม่ใช้พารามิเตอร์ ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีดัชนีมวลกาย เปอร์เซ็นต์ไขมัน รอบเอว รอบสะโพก สัดส่วนรอบเอวต่อรอบสะโพก มวลร่างกายปราศจากไขมัน ความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อ ความอ่อนตัว และความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิตและหายใจดีขึ้น โดยพบว่า ดัชนีมวลกาย เปอร์เซ็นต์ไขมัน อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก รอบเอว รอบสะโพก ความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อ ความอ่อนตัว และความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิตและหายใจของกลุ่มทดลองดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 รวมถึงค่าความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจความถี่สูง (High frequency; HF) และความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจความถี่รวม (Total power; TP) ของกลุ่มทดลองมีค่าเพิ่มขึ้น ในขณะที่ความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจสัดส่วนความถี่ต่ำต่อความถี่สูง (LF/HF Ratio) ลดลง บ่งชี้ถึงการปรับปรุงการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติในกลุ่มทดลอง โดยเป็นการเพิ่มการทำงานของระบบประสาทพาราซิมพาเธติก
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6450
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
64031260.pdf5.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.