Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6448
Title: | THE PROBLEM BASED LEARNING WITH ONLINE LEARNING IN THE COVID-19 SITUATION TO DEVELOP ABILITY ON MATHEMATICAL PROBLEM SOLVING GRADE 9 STUDENT การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานผ่านการเรียนรู้แบบออนไลน์ในสถานการณ์โควิด-19 เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 |
Authors: | ATCHARIYAPHON RONNAPOPRATTANAKUL อัจฉริยาภรณ์ รณภพรัตนกุล Artorn Nokkaew อาทร นกแก้ว Naresuan University Artorn Nokkaew อาทร นกแก้ว artornn@nu.ac.th artornn@nu.ac.th |
Keywords: | ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานผ่านออนไลน์ เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร Problem-based learning Online learning Problem Solving System of linear equation with two variable |
Issue Date: | 26 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | The objectives of this research (1) were to study the approach of problem-based learning management through online learning in the situation of COVID-19 (2) to study the students ability to solve mathematical problems. after problem-based learning management through online learning in the situation of COVID-19 and (3) to study students attitudes towards learning mathematics towards problem-based learning management through Online learning amid COVID-19 The sample group was Grade 9 students at a school in Mae Wong district who were selected by specific selection. The research instruments were (1) a learning management plan, (2) a reflection form, (3) a math problem-solving ability test, and (4) an attitude test towards the subjects mathematics. A reflective content-based analysis was used to synthesize approaches. The results showed that (1) problem-based learning management approaches through online learning consisted of 5 steps: Step 1: Identify the problem and present the problem; Step 2: Understanding the problem, Step 3: Determine the educational framework, Step 4: Assign responsibilities, and Step 5: Summarize, present and evaluate results. the ability to solve mathematical problems after problem-based learning management through online learning was at a fair level(average scores = 1.50) and The overall attitude towards learning mathematics of the students was at a moderate level (average scores = 3.38). การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานผ่านการเรียนรู้แบบออนไลน์ในสถานการณ์โควิด-19 (2) เพื่อศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานผ่านการเรียนรู้แบบออนไลน์ในสถานการณ์โควิด-19 และ (3) เพื่อศึกษาเจตคติต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานผ่านการเรียนรู้แบบออนไลน์ในสถานการณ์โควิด-19 กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนแห่งหนึ่งในอำเภอแม่วงก์จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 24 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้ (2) แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ (3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และ (4) แบบวัดเจตคติที่มีต่อวิชาคณิตศาสตร์ ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาวิเคราะห์แบบสะท้อนเพื่อสังเคราะห์แนวทาง ผลการวิจัย พบว่า (1) แนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานผ่านการเรียนรู้แบบออนไลน์ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 กำหนดปัญหาและนำเสนอปัญหา ขั้นที่ 2 ทำความเข้าใจปัญหา ขั้นที่ 3 กำหนดกรอบการศึกษา ขั้นตอนที่ 4 มอบหมายความรับผิดชอบ และขั้นที่ 5 สรุป นำเสนอ และประเมินผล โดยผู้วิจัยได้สังเคราะห์แนวทางการจัดการเรียนรู้ 2 แนวทาง ดังนี้ 1 แนวทางการเตรียมความพร้อมก่อนและระหว่างการจัดการเรียนรู้ และ 2 แนวทางการส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ (2) ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานผ่านการเรียนรู้แบบออนไลน์อยู่ในระดับพอใช้ (M=1.50, S.D.=0.76) และ (3) เจตคติต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนอยู่ในระดับปานกลาง (M=3.38, S.D.=1.05) |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6448 |
Appears in Collections: | คณะศึกษาศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
63091302.pdf | 5.17 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.