Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6442
Title: THE  DEVELOPMENT  OF  MATHEMATICAL CONCEPTS  ON  RECTANGLE  FOR PRATHOMSUKSA  4  STUDENTS  USING  VAN HIELE’S THEORY AND  VIRTUAL MANIPULATIVE
การพัฒนามโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของ Van Hiele ร่วมกับสื่ออุปกรณ์เสมือน
Authors: INTU-ON WANTHAT
อินทุอร วันทัศน์
Artorn Nokkaew
อาทร นกแก้ว
Naresuan University
Artorn Nokkaew
อาทร นกแก้ว
artornn@nu.ac.th
artornn@nu.ac.th
Keywords: แนวคิดของ Van Hiele
สื่ออุปกรณ์เสมือน
มโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์
Van Hiele's Theory
Virtual Manipulatives
Mathematical Concepts
Issue Date:  3
Publisher: Naresuan University
Abstract: The purposes of this research are to study the approach of learning management using virtual manipulatives according to the Van Hiele’s theory to develop mathematical concepts of rectangle for prathomsuksa 4 students, and to study the results of the development of mathematical concepts on rectangular shapes of the prathomsuksa 4 students. The participants were fourty-five prathomsuksa 4.7 students from a large elementary school in Phitsanulok, Thailand. Three-cycle classroom action research (CAR) was applied. Research tools of this study included lesson plans, instructional reflection forms, post-lesson conceptual test, and post-unit conceptual test. The data was analyzed using content analysis.           The research results were found that:           1. Guidelines for learning management using virtual manipulatives based on the concept of Van Hiele theory to develop mathematical concept of rectangles of prathomsuksa 4 students should emphasize the design of learning step for fostering the concept gradually, including visualizing, observation of relationships, explication, summarizing concepts and practice the concept.           2. Developing mathematical concepts based on Van Hiele's geometric thinking. After each lesson learning management and after three post-learning management. Most students can develop mathematical maneuvers from Level 0, Level 1 to Level 2 from measuring maneuvers after each lesson learning management and can develop to level 3 from measuring maneuvers after three post-learning management.
การวิจัยในครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของ Van Hiele ร่วมกับสื่ออุปกรณ์เสมือน เพื่อพัฒนามโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และเพื่อศึกษาผลการพัฒนามโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เมื่อจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของ Van Hiele ร่วมกับสื่ออุปกรณ์เสมือน ผู้เข้าร่วมวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4.7 ภาคการเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง จำนวน 45 คน ผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน จำนวน 3 วงจรปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ แบบวัดมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์หลังเรียนแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้และหลังจบการเรียนรู้ทั้ง 3 แผนการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา           ผลการวิจัยพบว่า           1. แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของ Van Hiele ร่วมกับสื่ออุปกรณ์เสมือน เพื่อพัฒนามโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประเด็นที่ควรเน้น คือ การออกแบบการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นลำดับขั้น เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้มโนทัศน์อย่างค่อยเป็นค่อยไป เริ่มจากการมองภาพ สังเกตความสัมพันธ์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สรุปมโนทัศน์ และฝึกการนำมโนทัศน์ไปใช้           2. การวัดมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ตามระดับการคิดทางเรขาคณิตของ Van Hiele หลังเรียนแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้และหลังจบการเรียนรู้ทั้ง 3 แผนการจัดการเรียนรู้ พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่สามารถพัฒนามโนทัศน์จากระดับ 0 ระดับ 1 ไปสู่ระดับ 2 จากการวัดมโนทัศน์หลังเรียนแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ และสามารถพัฒนาไปสู่ระดับ 3 จากการวัดมโนทัศน์หลังจบการเรียนรู้ทั้ง 3 แผนการจัดการเรียนรู้
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6442
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63091098.pdf4.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.