Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6440
Title: The development of Academic Stress Scale of Graduate Students
การพัฒนาแบบวัดความเครียดทางวิชาการของนิสิตบัณฑิตศึกษา
Authors: ATCHARAPORN NAEPHAI
อัจฉราพร แนไพร
Nattakan Prechanban
ณัฐกานต์ ประจันบาน
Naresuan University
Nattakan Prechanban
ณัฐกานต์ ประจันบาน
nattakanp@nu.ac.th
nattakanp@nu.ac.th
Keywords: ความเครียด
ความเครียดทางวิชาการ
เกณฑ์ปกติระดับชาติ
Stress
Academic Stress
National Norms
Issue Date:  3
Publisher: Naresuan University
Abstract: The objectives of this research were 1) to develop the Academic Stress Scale of graduate students, 2) to examine the quality of the Academic Stress Scale of graduate students, and 3) to create a norm of the Academic Stress Scale of the graduate students. The sample group consisted of 240 graduate students from 4 universities which were obtained by multi-stage random sampling. The research instrument was the Academic Stress Scale of Graduate Students. It is a model for Likert rating scales. Research Methods Step 1 Develop and verify the quality of components and indicators. and create an academic stress test of graduate students. Step 2: Checking the quality of the measure. In terms of content accuracy classification power Confidence and the structural validity of the measurement model. Step 3 is the development of the national norms of the measurement model. Data were analyzed by using software packages such as spss for Windows Version 24 and Mplus Program Version. Research results 1) Academic Stress Scale consisted of 4 components, 9 indicators, 21 questions, the appropriateness was at the highest level. 2) The IOC content accuracy was between 0.60 - 1.00 power factor. Classified between 0.334 – 0.823 and 2 confidence levels were 0.951 and 0.921 respectively. By analyzing the second corroborative component, it was found that the academic stress model of graduate students was consistent with the empirical data. with statistical test values ​​ Chi-square = 23.660, p-value = 0.129, CFI = 0.996, TLI = 0.992, RMSEA = 0.040, SRMR = 0.028 3) The national norm of the Academic Stress Scale of Graduate Students  = 61.07, SD = 19.17 with a percentile rank of 1.3-100.0 and has a normalized T-score range of 28 - 89. The normal criteria for academic stress of graduate students are divided into 4 levels: high level of academic stress, relatively high, moderate and low.
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแบบวัดความเครียดทางวิชาการของนิสิตบัณฑิตศึกษา 2) เพื่อตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดความเครียดทางวิชาการของนิสิตบัณฑิตศึกษา และ 3) เพื่อสร้างเกณฑ์ปกติของแบบวัดความเครียดทางวิชาการของนิสิตบัณฑิตศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตบัณฑิตศึกษา 240 คน จาก 4 มหาวิทยาลัย ซึ่งได้มาจากการสุ่มหลายขั้นตอน (Multi-stage Random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดความเครียดทางวิชาการของนิสิตบัณฑิตศึกษา เป็นรูปแบบมาตราส่วนประมาณค่าของลิเคิร์ท (Likert rating scales)  วิธีดำเนินการวิจัย ขั้นตอนที่ 1 พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ และสร้างแบบวัดความเครียดทางวิชาการของนิสิตบัณฑิตศึกษา ขั้นตอนที่ 2 การตรวจสอบคุณภาพของแบบวัด ด้านความตรงเชิงเนื้อหา ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่น และความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลการวัด ขั้นตอนที่ 3 เป็นการพัฒนาเกณฑ์ปกติระดับชาติของแบบวัดความเครียดทางวิชาการของนิสิตบัณฑิตศึกษา  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ได้แก่ โปรแกรม spss for Windows Version 24 และโปรแกรม Mplus Program Version 7.11 ผลการวิจัย 1) แบบวัดความเครียดทางวิชาการ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 9 ตัวบ่งชี้ 21 ข้อคำถาม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด  2) ความตรงเชิงเนื้อหา IOC อยู่ระหว่าง  0.60 - 1.00 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.334 – 0.823 และความเชื่อมั่น 2 ครั้ง มีค่าเท่ากับ 0.951 และ 0.921 ตามลำดับ ความตรงเชิงโครงสร้าง โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่ 2 พบว่า โมเดลความเครียดทางวิชาการของนิสิตบัณฑิตศึกษามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าสถิติทดสอบ Chi-square = 23.660, p-value = 0.129, CFI = 0.996, TLI = 0.992, RMSEA = 0.040, SRMR = 0.028 3) เกณฑ์ปกติระดับชาติของแบบวัดความเครียดทางวิชาการของนิสิตบัณฑิตศึกษา  = 61.07, S.D. = 19.17 มีช่วงคะแนนเปอร์เซ็นไทล์ (Percentile Rank) อยู่ระหว่าง 1.3-100.0 และมีช่วงคะแนนทีปกติ (Normalized T-score) อยู่ระหว่าง 28 - 89 โดยเกณฑ์ปกติความเครียดทางวิชาการของนิสิตบัณฑิตศึกษาแบ่งออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ ความเครียดทางวิชาการในระดับสูง ค่อนข้างสูง ปานกลาง และต่ำ
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6440
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63091074.pdf3.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.