Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6435
Title: The Effect of Learning Activities Based on Design Thinking Process Coped with the Spread of COVID-19 on Promoting Citizenship Education of Mattayomsuksa 6 Students
ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบสำหรับสร้างนวัตกรรมในการรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
Authors: SUPARAT KATENARAI
สุภรัตน์ เกศณรายณ์
Jakkrit Jantakoon
จักรกฤษณ์ จันทะคุณ
Naresuan University
Jakkrit Jantakoon
จักรกฤษณ์ จันทะคุณ
jakkritj@nu.ac.th
jakkritj@nu.ac.th
Keywords: การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
กระบวนการคิดเชิงออกแบบ
ความเป็นพลเมือง
Learning Activities Based
Design Thinking
Citizenship
Issue Date:  26
Publisher: Naresuan University
Abstract: The objectives of this research were 1) to study citizenship after engaging with learning activities. Using a non-linear iterative process or Design Thinking for creating innovations to handle the outbreak of Covid–19. 2) to study creativity and innovation skills after engaging with learning activities using the Design Thinking Process in regarding of any Covid-19 variants. The sample group for this research contains 31 students of Matthayom students or class 6/1 in semester 2, academic year 2021, Wittayanukulnaree School, Secondary Education Service Area Office, Phetchabun. Cluster sampling was used in this research. The research tools consisted of1) a citizenship questionnaire for creating innovations to handle the outbreak of Covid - 19. 2) an interview form for citizenship in creating innovations in response to the COVID-19 epidemic. 3) Creativity and innovation skills assessment form in order to handle the outbreak of Covid-19. The quantitative data analysis tools were used in the research were statistics, mean, standard deviation, and percentage. The qualitative data analysis tool was content analysis.                The results of the research showed that 1) Mathayomsuksa 6 students were citizens. The overall is at a high level. The students can create innovations to cope with the spread of COVID-19, awareness, and see the benefits of participating and solving problems for others and the community.  2) Mathayomsuksa 6 students have creative and innovative skills. The overall is at a very good level.
การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความเป็นพลเมือง หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบสำหรับสร้างนวัตกรรมในการรับมือการแพร่ระบาด ของโรคโควิด-19 2) เพื่อศึกษาทักษะการสร้างสรรค์และนวัตกรรม หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบสำหรับสร้างนวัตกรรมในการรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ห้องเรียนที่ 6/1 จำนวน 31 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนวิทยานุกูลนารี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์ ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามความเป็นพลเมืองในการสร้างนวัตกรรมรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 2) แบบสัมภาษณ์ความเป็นพลเมืองในการสร้างนวัตกรรมรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และ 3) แบบประเมินทักษะการสร้างสรรค์และนวัตกรรมในการรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยการใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา             ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีความเป็นพลเมือง ภาพรวมอยู่ในระดับมาก นักเรียนสามารถสร้างนวัตกรรมรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เกิดความตระหนักเห็นประโยชน์ของการมีส่วนร่วม แก้ปัญหาให้ผู้อื่นและชุมชน 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีทักษะการสร้างสรรค์และนวัตกรรม ภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6435
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63090992.pdf3.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.