Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6433
Title: | The Development Of Thai Literature Analytical By Gamification Collaborative Learning For Matthayomsueksa 6 Students การพัฒนาความสามารถในการวิเคราะห์วรรณคดีไทยโดยใช้การจัดการเรียนรู้ร่วมมือแบบเกมิฟิเคชันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 |
Authors: | SIRIPORN PREMPREE ศิริพร เปรมปรีดิ์ Krittayakan Topithak กฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์ Naresuan University Krittayakan Topithak กฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์ krittayakant@nu.ac.th krittayakant@nu.ac.th |
Keywords: | การเรียนรู้ร่วมมือแบบเกมิฟิเคชัน การเรียนรู้แบบร่วมมือ เกมิฟิเคชัน วรรณคดีไทย Gamification Collaborative Learning Cooperative learning Gamification Thai literature |
Issue Date: | 3 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | The purposes of this study were 1) To construct and find an index of effectiveness of Gamification Collaborative Learning “Khun Chang Khun Phaen” ; (Khun Chang Tawai Dika) 2) To compare the ability to analyze Thai literature of Matthayomsueksa 6 Students, before and after using Gamification Collaborative Learning “Khun Chang Khun Phaen” ; (Khun Chang Tawai Dika) 3) To study the satisfaction of students in Matthayomsueksa 6 towards Gamification Collaborative Learning, “Khun Chang Khun Phaen” ; (Khun Chang Tawai Dika). The sample group consisted of 30 students in Matthayomsueksa class 6/1 Pamai Utid 4 School, which were obtained by Cluster random sampling. Research Instrument were 1) A Gamification Collaborative Learning lesson plan “Khun Chang Khun Phaen” ; (Khun Chang Tawai Dika) 2) A test to measure the ability to analyze Thai literature. 3) Satisfaction survey statistics used in the data analysis were ; Mean, Standard Deviation and A dependent t-test.
The results of the research were as follows:
1) The results of the construct and indexing of effectiveness of Gamification Collaborative Learning “Khun Chang Khun Phaen”; (Khun Chang Tawai Dika) have shown that the effectiveness index was = 0.5920 indicating that the students' ability to analyze Thai literature increased for 0.5920 or 59.20 percent.
2) The results of Comparison of the ability to analyze Thai literature of students in Matthayomsueksa 6 before and after by using a Gamification Collaborative Learning was found that the test of the after were higher than before with statistical significance at .05 level.
3) The results of the satisfaction of students in Matthayomsueksa 6 towards the Gamification Collaborative Learning was found that the students had a high level of satisfaction (x̄ = 4.47 and S.D. = 0.43). การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ร่วมมือแบบเกมิฟิเคชัน เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการวิเคราะห์วรรณคดีไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การเรียนรู้ร่วมมือแบบเกมิฟิเคชัน เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ร่วมมือแบบเกมิฟิเคชัน เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ร่วมมือแบบเกมิฟิเคชัน เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการวิเคราะห์วรรณคดีไทย เรื่องขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t-test dependent ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการสร้างและหาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ร่วมมือแบบเกมิฟิเคชัน เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา มีดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.5920 ซึ่งแสดงว่านักเรียนมีความสามารถในการวิเคราะห์วรรณคดีไทยเพิ่มขึ้น 0.5920 หรือคิดเป็นร้อยละ 59.20 2) ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการวิเคราะห์วรรณคดีไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การเรียนรู้ร่วมมือแบบเกมิฟิเคชัน เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา พบว่า ผลการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ร่วมมือแบบเกมิฟิเคชัน เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.47 และ S.D. = 0.43) |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6433 |
Appears in Collections: | คณะศึกษาศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
63090954.pdf | 8.6 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.