Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6429
Title: | THE DEVELOPMENT OF SPELLING PRACTICE ON NON-CORRESPONDING FINAL CONSONANTS BY USING STAD-COOPERATIVE LEARNING TECHNIQUE FOR PRATHOMSUKSA 3 การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ เรื่อง มาตราตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 |
Authors: | WANLAPHA SANA วัลลภา สานา Brapaas Pengpoom ประภาษ เพ็งพุ่ม Naresuan University Brapaas Pengpoom ประภาษ เพ็งพุ่ม brapaasp@nu.ac.th brapaasp@nu.ac.th |
Keywords: | แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD spelling practice collaborative learning STAD technique |
Issue Date: | 10 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | The objectives of this research were 1) to determine the efficiency of Thai language skills practice on the skill in spelling different ending consonants together with collaborative learning by using STAD technique for elementary 3 students with 75/75 criteria of effectiveness and 2) to study the students' spelling skills before and after using the spelling skill practice skills practice on the skill in spelling different ending consonants together with collaborative learning by using STAD technique for elementary 3 students. The sample consisted of 20 students in elementary school grade 3 at Ban Nong Rangsit School, under the Sukhothai Primary Educational Service Area Office 2, semester 2 of the academic year 2021, totaling 20 people obtained by purposive sampling method. The tools used in the research were 1) a learning management plan to be used with the spelling skill exercises on the subject of the skill in spelling different ending consonants together with collaborative learning by using STAD technique. 2) The spelling skill exercises on the subject of the skill in spelling different ending consonants together with collaborative learning by using STAD technique and 3) The spelling skill exercises on spelling different ending consonants. The statistics used to analyze the data were percentage, mean, standard deviation and t-test dependent statistical test. The results of the research appeared as follows: 1. The spelling skill exercises on the subject of the skill in spelling different ending consonants together with collaborative learning by using the STAD technique for elementary 3 students had E1/E2 value of 77.38/78.50, which exceeded the threshold of 75/75 according to the prescribed hypothesis.
2. Students after using the spelling skill exercises on the subject of the skill in spelling different ending consonants combined with cooperative learning using STAD technique, students had statistically significantly higher spelling skills than before at .05 level.
The results could be concluded that the STAD skills practice and collaborative learning techniques can help improve spelling skills on the subject of the skill in spelling different ending consonants. This is because STAD collaborative learning is a learning management process where learners learn together in small groups, which emphasizes on the exchange of ideas amongst the learners, which will help teaching Thai language to be more efficient. การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อหาประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่อง การเขียนสะกดคำไม่ตรงตามมาตรา ร่วมกับการใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 และ 2) เพื่อศึกษาทักษะการเขียนสะกดคำของนักเรียนก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ เรื่อง มาตราตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองรังสิต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุโขทัย เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 20 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อประกอบแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ เรื่อง มาตราตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD 2) แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ เรื่องมาตราตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD และ 3) แบบทดสอบทักษะการเขียนสะกดคำ เรื่องมาตราตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าสถิติ t – test Dependent ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1. แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ เรื่อง การเขียนสะกดคำไม่ตรงตามมาตรา ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่า E1/E2 เท่ากับ 77.38/78.50 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 75/75 เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ 2. ผลการทดสอบหลังการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ เรื่อง มาตราตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD นักเรียนมีทักษะการเขียนสะกดคำสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จึงสรุปได้ว่า แบบฝึกทักษะและการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สามารถช่วยพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำ เรื่อง มาตราตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา ของนักเรียนได้ เนื่องจากการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ร่วมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ซึ่งเน้นให้ผู้เรียนมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ซึ่งจะช่วยให้การเรียนการสอนภาษาไทยให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6429 |
Appears in Collections: | คณะศึกษาศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
63090879.pdf | 7.52 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.