Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6425
Title: Problem based Learning Management in the Context of COVID-19 Pandemic for Developing Mathematical Connection Skills in Data Presentation Topic of Grade 6 Students
การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานภายใต้บริบทการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อพัฒนาทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การนำเสนอข้อมูล สำหรับผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Authors: RATI PITIJA
รติ ปิติจะ
Thitiya Bongkotphet
ธิติยา บงกชเพชร
Naresuan University
Thitiya Bongkotphet
ธิติยา บงกชเพชร
thitiyab@nu.ac.th
thitiyab@nu.ac.th
Keywords: การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน, สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, ทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์
Problem-based Learning COVID-19 Pandemic Mathematical Connection Skills
Issue Date:  26
Publisher: Naresuan University
Abstract: This research aims to study approaches to problem-based learning management in the context of COVID-19 pandemic for developing mathematical connection skills in data presentation and to study the results of the students’ mathematical connection skills development that gained a problem-based learning management in the context of COVID-19 pandemic. The participants were 21 students in grade 6 from one school in Phitsanulok Province in the second semester of 2021 academic year. The research used the classroom action research, and the total duration of the study was 10 hours. The instruments included a set of lesson plans, activity sheets, reflective learning journals, and a mathematical connection test. Content analysis was applied in analyzing the data. The statistics used were mean, percentage, standard deviation, and triangulation. The results showed that the problem-based management approaches in the context of COVID-19 pandemic should be started with real-life problems for students’ familiarity and encouragement to their understanding of the situations easier. These would encourage the linking of knowledge within mathematics to create a logical relationship based on mathematical principles through writing by using numbers, languages, and mathematical symbols as well as linking knowledge with other sciences in solving the problem. In doing this, teachers should stimulate students by asking questions for learners to do activities regularly to create the circumstances of students’ arguments and exchanges ideas which were led to discussions and conclusions. The results found that the students appeared to have development of mathematical connection skills were found that the development of the mathematics concept and another, mathematical and other subjects, and mathematics and daily life situations respectively.
การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานภายใต้บริบทการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อพัฒนาทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การนำเสนอข้อมูล และศึกษาผลการพัฒนาทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของผู้เรียนที่ได้รับแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานภายใต้บริบทการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยกลุ่มเป้าหมายที่ศึกษาในครั้งนี้ คือผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 21 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดพิษณุโลก รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน โดยใช้ระยะเวลาทั้งหมด 10 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ ใบกิจกรรม แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ และแบบทดสอบวัดทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ใช้สถิติพื้นฐานคือ การหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต การหาร้อยละ การหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการตรวจสอบแบบสามเส้า ผลการวิจัยพบว่าแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานภายใต้บริบทการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ควรใช้สถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวันของผู้เรียนเป็นจุดเริ่มต้นเพื่อให้ผู้เรียนมีความคุ้นเคย กระตุ้นความสนใจและทำให้เข้าใจสถานการณ์ปัญหาได้ง่ายขึ้น นอกจากนั้นยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมโยงความรู้ภายในคณิตศาสตร์มาสร้างความสัมพันธ์กันอย่างเป็นเหตุเป็นผลตามหลักการทางคณิตศาสตร์ผ่านการเขียนโดยใช้ตัวเลข ภาษา และสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ และสามารถเชื่อมโยงความรู้จากศาสตร์อื่นมาใช้แก้สถานการณ์ปัญหา ทั้งนี้ผู้สอนควรกระตุ้นผู้เรียนโดยใช้คำถามเพื่อให้ผู้เรียนทำกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ สร้างบรรยากาศให้เกิดการโต้แย้งแลกเปลี่ยนความคิดเพื่อนำไปสู่การอภิปรายสรุปผล ในส่วนการพัฒนาทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ พบว่า ผู้เรียนพัฒนาทักษะการเชื่อมโยงความรู้ภายในคณิตศาสตร์มากที่สุด รองลงมาเป็นการพัฒนาทักษะการเชื่อมโยงความรู้คณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น และพัฒนาทักษะการเชื่อมโยงความรู้คณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวัน ตามลำดับ
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6425
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63090770.pdf4.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.