Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6421
Title: THE HANDS-ON LEARNING IMPLIMENTATION AND MATHEMATICAL TASKS TO ENHANCE GRADE 3 STUDENT’S MATHEMATICS IN EVERYDAY LIFE COMPETENCY ON MONEY AND RECORD OF INCOME AND EXPENSES
การจัดการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติโดยใช้งานทางคณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน เรื่อง เงินและบันทึกรายรับรายจ่าย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
Authors: PAYOM KUNSONG
พยอม กุลสง
Wanintorn Poonpaiboonpipat
วนินทร พูนไพบูลย์พิพัฒน์
Naresuan University
Wanintorn Poonpaiboonpipat
วนินทร พูนไพบูลย์พิพัฒน์
wanintorns@nu.ac.th
wanintorns@nu.ac.th
Keywords: การจัดการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติ
งานทางคณิตศาสตร์
สมรรถนะคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน
เงินและบันทึกรายรับรายจ่าย
Hands-on
Mathematical Tasks
Mathematics in Everyday Life
Money and Record of Income and Expenses
Issue Date:  3
Publisher: Naresuan University
Abstract: The purposes of this research were to study the hands-on learning implementation and mathematical tasks to enhance the mathematics in everyday life competency on Grade 3 students in the topic money and record of income and expenses. The participants were 20 students. This research acted through three circles of the six hands-on learning tasks which the processes included 1) introducing, 2) analyzing, 3) operating, 4) concluding, 5) adjusting and applying, and 6) evaluating. Research tools were lesson plans, learning reflective journal, observation forms and a test. Data were analyzed and verified by using data triangulation. This research findings revealed that the hand-on learning implementation and mathematical tasks had key points that should be highlighted. 1) Introducing, should arouse the interest of learners by using it in everyday situations. 2) Analyzing, should develop basic knowledge of skills and student experience. 3) Operating, should apply mathematical tasks which encourages higher-order thinking that emphasizes action in order for students to be able to solve problems. 4) Concluding, should determine the point of presentation. 5) Adjusting and applying, for students to apply, real-life scenarios should be used. 6) Evaluating, should be evaluated from the activity process rather than the answer. Moreover, students improved their mathematics in everyday life competency after learning.
การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติโดยใช้งานทางคณิตศาสตร์ และผลการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติโดยใช้งานทางคณิตศาสตร์ที่มีต่อสมรรถนะคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน เรื่อง เงินและบันทึกรายรับรายจ่าย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีผู้ร่วมเข้าวิจัยจำนวน 20 คน โดยจัดการเรียนรู้ตามวงปฏิบัติการจำนวน 4 วงจร ตามขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติ 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นนำสู่บทเรียน 2) ขั้นศึกษาวิเคราะห์ 3) ขั้นปฏิบัติ 4) ขั้นสรุป 5) ขั้นปรับปรุงการเรียนรู้และนำไปใช้ 6) ขั้นประเมินผล เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แผนจัดการเรียนรู้  แบบบันทึกการสะท้อน แบบสังเกต แบบทดสอบ ซึ่งผู้วิจัยนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการตรวจสอบแบบสามเส้า ผลการศึกษาค้นคว้าอิสระพบว่าแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติที่โดยใช้งานทางคณิตศาสตร์ มีประเด็นสำคัญที่ควรเน้น 1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียนควรกระตุ้นความสนใจของนักเรียนโดยใช้สถานการณ์ในชีวิตประจำวัน  2) ขั้นศึกษาวิเคราะห์ ควรพัฒนาความรู้พื้นฐานทักษะและประสบการณ์ของนักเรียน 3) ขั้นปฏิบัติควรเลือกใช้งานทางคณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมการคิดขั้นสูงที่เน้นการลงมือทำเพื่อให้นักเรียนสามารถแก้ไขสถานการณ์ปัญหา 4) ขั้นสรุปควรกำหนดประเด็นในการนำเสนอ 5) ขั้นปรับปรุงการเรียนรู้และนำไปใช้ ควรนำสถานการณ์จริงใช้มาให้นักเรียนประยุกต์ใช้ และ6) ขั้นประเมินผลควรประเมินผลจากกระบวนการทำกิจกรรมมากกว่าคำตอบ และผลการจัดการเรียนรู้พบว่านักเรียนพัฒนาการสมรรถนะคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันดีขึ้น
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6421
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63090633.pdf3.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.