Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6413
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Tattariya Ruankam | en |
dc.contributor | ทัตทริยา เรือนคำ | th |
dc.contributor.advisor | Saifon Vibulrangson | en |
dc.contributor.advisor | สายฝน วิบูลรังสรรค์ | th |
dc.contributor.other | Naresuan University | en |
dc.date.accessioned | 2024-11-20T04:50:28Z | - |
dc.date.available | 2024-11-20T04:50:28Z | - |
dc.date.created | 2022 | en_US |
dc.date.issued | 26/10/2022 | en_US |
dc.identifier.uri | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6413 | - |
dc.description.abstract | This project evaluation aimed to assess the eco-printing training workshop by implementing stakeholder-based evaluation. This evaluation allowed the stakeholders to participate in the project evaluation process, including five steps: (1) identifying and selecting the stakeholders; (2) contacting and discussing with them; (3) collecting and evaluating the data; (4) giving suggestions for report preparation and utilization; and (5) reporting the results. The source of data was the project stakeholders, including the vice president, director, supervisor, staff from the Art and Culture Conservation Division, Naresuan University, and participants from the eco-printing training workshop, totaling 40 people. An interview, a focus group discussion, and a five-point scale questionnaire were used as the research instruments. Mean and standard deviation were the statistics utilized to analyze the quantitative data. Content analysis and presentation in the form of a qutline were used for the qualitative data. The evaluation results were presented in accordance with the evaluating objectives, which were collaboratively developed by the stakeholders in four issues as follows: 1) In terms of the planning process and training workshop preparation, the study found that staff participated in planning the training workshop through the consultative meeting in order to improve the planning process to be appropriate. This reflects the organization’s culture focusing on teamwork and collaboration, and this is called “Long Khaek” in Thai. This approach mitigated potential issues or delay in the process of project approval. As a result, the training workshop was organized to meet the goals in terms of duration and the amount of work being achieved. However, staff needed more budget support, which was adequate to provide the necessary facilities for an effective training workshop. 2) In terms of satisfaction towards the training workshop, the results were as follows. (1) Regarding the contents, it was found that the participants were satisfied with the contents at the highest level ( X= 4.57, S.D. = 0.49) because they suited the participants’ needs. They were also up-to-date and suitable for current situations. In addition, the contents were well-structured, which meant that they were easy to understand and follow. However, it was found that the contents and duration were not consistent. As a result, the participants were not able to complete their tasks on time. (2) In terms of the lecturer, the study found that the participants were satisfied with the lecturer at the highest level (X= 4.60, S.D. = 0.49), due to the lecturer’s expertise and knowledge of workshop’s content. The lecturer was also able to impart the knowledge to the participants and assist them in putting what they had learned into practice. (3) The participants were satisfied with the facilities of the workshop at a high level (X = 4.60, S.D. = 0.49), because of the support provided by staff, workshop handout, materials and equipment for the workshop, and relaxing atmosphere. This resulted in an effective learning of participants. However, the venue was unsuitable and unaccommodating for the participants to practice. 3) In terms of the impact on the participants, the results were as follows. (1) Regarding a career and income, the majority of the participants did not use the knowledge gained from the training to start a business or enhance their income due to a lack of materials and equipment to produce the eco-printing on textiles. However, only some participants who were entrepreneurs were able to afford the materials and equipment to produce the commercial products and gain the income for their groups. (2) In terms of imparting the knowledge gained, the participants passed on their knowledge to the others and their society in different ways: giving a lecture; instructing their friends and the members of their groups or other people; and sharing the handout and videos from the workshop with the others.(3) The participants also applied knowledge gained from the workshop in producing the eco-printing on the textiles that were turned into the handicrafts and clothes. They were sold to the other participants in the workshop and the other groups of customers. (4) In terms of value, the study found the abstract values as follows: It was worthwhile to do what you enjoyed. It was worthwhile to get specialized Knowledge. Spending time with the family was worthwhile. It was worthwhile to have the participants' friendship. 4) In terms of the impact on the organization, the results were as follows: (1) Regarding networking, there was a relationship between the participants and the training workshop staff on a social networking site, specifically a Line group. This platform was used to keep in touch between the participants and the staff, and it was also used to intercommunicate and share experiences in terms of the eco-printing on textiles. (2) Regarding the organizations’ image, it was found that the participants did not know the role of the Art and Culture Conservation Division; however, they did know it after participating in the training workshop. | en |
dc.description.abstract | การประเมินโครงการในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการผ้าพิมพ์สีธรรมชาติ โดยใช้การประเมินแบบอิงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งเป็นการประเมินที่เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการประเมินโครงการ ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินการ 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) กำหนดและคัดเลือกผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 2) ติดต่อพูดคุยกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 3) เก็บรวบรวมข้อมูลและประเมิน 4) ให้ข้อเสนอแนะในการจัดทำรายงานและการใช้ประโยชน์ 5) รายงานผล โดยแหล่งข้อมูล คือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับโครงการ ประกอบด้วย รองอธิการบดี ผู้อำนวยการ หัวหน้างาน บุคลากรและผู้เข้ารับการอบรมผ้าพิมพ์สีธรรมชาติ รวมจำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ ประเด็นสนทนากลุ่มและแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอแบบสรุปความ ผลการประเมินนำเสนอโดยยึดตามวัตถุประสงค์การประเมินที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ร่วมกันกำหนดขึ้น จำนวน 4 ประเด็น คือ 1) กระบวนการวางแผนและเตรียมการจัดอบรม พบว่า บุคลากรมีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดอบรมผ่านการประชุม การพูดคุยปรึกษาหารือ เพื่อปรับปรุงและพัฒนากระบวนการวางแผนการดำเนินงานให้มีความเหมาะสม ซึ่งเป็นวัฒนธรรมองค์กรของการทำงานเป็นทีม มีการช่วยเหลือ หรือ “ลงแขก” ในการทำงาน ทำให้ไม่พบปัญหาหรือความล่าช้าในขั้นตอนของการขออนุมัติโครงการ ส่งผลให้การจัดอบรมเป็นไปตามเป้าหมายทั้งด้านระยะเวลาและจำนวนผลงานในขณะเดียวกัน พบว่า บุคลากรบางส่วนต้องการได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความเพียงพอและเหมาะสมต่อการจัดเตรียมสิ่งสนับสนุนให้การจัดอบรมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 2) ความพึงพอใจต่อกระบวนการจัดอบรม พบว่า (1) ด้านเนื้อหา ผู้เข้าอบรมพึงพอใจต่อเนื้อหาการอบรมอยู่ในระดับมากที่สุด ( X = 4.57, S.D. = 0.49) เนื่องจากสอดคล้องกับความต้องการ ประกอบกับเนื้อหามีความทันสมัย เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันและมีความต่อเนื่องตามลำดับขั้นตอน ทำให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจและปฏิบัติตาม แต่อย่างไรก็ตาม พบว่า เนื้อหากับระยะเวลาการอบรมไม่สอดคล้องกัน ทำให้ไม่สามารถทำชิ้นงานให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดได้ (2) ด้านวิทยากร พบว่า ผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อวิทยากร อยู่ในระดับมากที่สุด ( X= 4.60, S.D. = 0.49) เนื่องด้วยความชำนาญและรอบรู้ในเนื้อหาการอบรม สามารถถ่ายทอด อธิบายและเชื่อมโยงเนื้อหาไปสู่การปฏิบัติงานได้จริง (3) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกและการจัดอบรม พบว่า มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก ( X= 4.40, S.D. = 0.54) โดยเป็นความพึงพอใจต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ เอกสารประกอบการบรรยาย วัสดุและอุปกรณ์ รวมถึงบรรยากาศในการอบรมที่มีความผ่อนคลาย ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีของผู้เข้าอบรม แต่อย่างไรก็ตาม พบว่า สถานที่ไม่เหมาะสมและเอื้ออำนวยต่อการฝึกปฏิบัติของผู้เข้าอบรม 3) ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เข้าอบรม พบว่า (1) ด้านการสร้างอาชีพและรายได้ พบว่า ผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่ไม่ได้นำความรู้จากการการอบรมไปสร้างอาชีพหรือเพิ่มเติมรายได้ เนื่องจากขาดแคลนอุปกรณ์จำเป็นสำหรับใช้ในการทำผ้าพิมพ์สีธรรมชาติ ทั้งนี้ มีเพียงผู้เข้าอบรมบางส่วนเท่านั้น ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่สามารถจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์สำหรับสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เพื่อนำไปจำหน่ายและสร้างรายได้ให้กับกลุ่มของตนเองได้ (2) ด้านการนำไปถ่ายทอด พบว่า ผู้เข้าอบรมนำความรู้ไปถ่ายทอดสู่ผู้คนและสังคมรอบข้างด้วยวิธีการที่หลากหลาย เช่น การเป็นวิทยากร การสอนเพื่อน คนรอบข้างหรือสมาชิกภายในกลุ่ม การแบ่งปันเอกสารและคลิปวิดีโอการสอน (3) ด้านการนำไปแปรรูป พบว่า มีการนำความรู้จากการอบรมไปผลิตเป็นผืนผ้าและนำไปแปรรูปเป็นงานฝีมือและเครื่องแต่งกายเพื่อจำหน่ายให้กับเพื่อนผู้เข้าอบรมและลูกค้ากลุ่มอื่น (4) ด้านความคุ้มค่า พบว่า เป็นความคุณค่าที่มีลักษณะเป็นนามธรรม เช่น คุ้มค่าที่ได้ลงมือทำในสิ่งที่ชอบ คุ้มค่าที่ได้รับความรู้ที่มีความเฉพาะทาง คุ้มค่าที่ได้ใช้เวลาร่วมกับคนในครอบครัวและเป็นความคุ้มค่าเมื่อเทียบกับมิตรภาพที่ได้รับจากผู้เข้าอบรมด้วยกัน 4) ผลที่เกิดขึ้นกับองค์กร พบว่า (1) ด้านเครือข่าย พบว่า มีการพัฒนารูปแบบเครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้าอบรมและคณะทำงานโครงการผ่านกรุ๊ปไลน์ขนาดเล็ก ซึ่งถูกใช้เป็นพื้นในการถามไถ่สารทุกข์สุกดิบ แลกเปลี่ยนข่าวสารความรู้และประสบการณ์การทำผ้าพิมพ์สีธรรมชาติ (2) ด้านภาพลักษณ์องค์กร พบว่า ผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่ไม่รับรู้ถึงตัวตนและบทบาทการทำงานของกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม แต่จะรับรู้ถึงการทำงานและการมีอยู่ของหน่วยงานหลังจากผ่านการเข้าอบรมไปแล้ว | th |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | Naresuan University | en_US |
dc.rights | Naresuan University | en_US |
dc.subject | ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย | th |
dc.subject | การประเมินโครงการ | th |
dc.subject | การประเมินแบบอิงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย | th |
dc.subject | Stakeholders | en |
dc.subject | Project Evaluation | en |
dc.subject | Stakeholders-based Evaluation | en |
dc.subject.classification | Social Sciences | en |
dc.subject.classification | Education | en |
dc.subject.classification | Education science | en |
dc.title | Stakeholder-based Evaluation of the Eco-Printing Training Workshop Project | en |
dc.title | การประเมินโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการผ้าพิมพ์สีธรรมชาติโดยใช้การประเมินแบบอิงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย | th |
dc.type | Independent Study | en |
dc.type | การค้นคว้าอิสระ | th |
dc.contributor.coadvisor | Saifon Vibulrangson | en |
dc.contributor.coadvisor | สายฝน วิบูลรังสรรค์ | th |
dc.contributor.emailadvisor | saifonv@nu.ac.th | en_US |
dc.contributor.emailcoadvisor | saifonv@nu.ac.th | en_US |
dc.description.degreename | Master of Education (M.Ed.) | en |
dc.description.degreename | การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) | th |
dc.description.degreelevel | Master's Degree | en |
dc.description.degreelevel | ปริญญาโท | th |
dc.description.degreediscipline | Department of Education | en |
dc.description.degreediscipline | ภาควิชาการศึกษา | th |
Appears in Collections: | คณะศึกษาศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
63090442.pdf | 1.8 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.