Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6405
Title: | The effect of using Open-Approach method on mathematical Literacy of the students grad 6 ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิดที่มีต่อความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 |
Authors: | JUREERAT ARTHAN จุรีรัตน์ อาจหาญ Artorn Nokkaew อาทร นกแก้ว Naresuan University Artorn Nokkaew อาทร นกแก้ว artornn@nu.ac.th artornn@nu.ac.th |
Keywords: | การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิด ความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ Open approach Mathematical Literacy |
Issue Date: | 26 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | This research aimed to study 1) the appropriate learning implementation based on open approach to enhance mathematical literacy and 2) the effect of an open approach on grade 6 students’ mathematical literacy. The participants were 24 students in grade 6 from a small school. The instruments used in this research include lesson plans, the learning reflection form, the mathematical reasoning observation form, worksheets and the mathematical literacy test. The data were analyzed by using content analysis and analytic scoring. The results revealed four instructional guidelines including, preparation before and during the classroom management, using questions to stimulate students' thinking and understanding of mathematical concepts during the classroom, creating and enhancing students’ participation in information exchange and discussion in the classroom, and conclusion by linking mathematical concepts to the activities in the classroom. In addition, after the instruction, 50 percent of students were able to explain the reasoning for representation of a given situation at a good level. and in solving mathematical problems 58.33 percent of students had a good level of thinking about problem situations in mathematics, 62.50 percent of students able to used mathematical principles and processes in problem solving had a fair level, and found that 54.17 percent of students had a fair level of interpretation and evaluation of mathematical results. งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิดที่ส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ตามกรอบการประเมิน PISA 2022 และ 2) ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิดที่มีต่อความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ของนักเรียน กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 24 คน จากโรงเรียนขนาดเล็กแห่งหนึ่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ แบบสังเกตพฤติกรรมการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ใบกิจกรรมและแบบทดสอบความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ ข้อมูลที่ได้จะนำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและวิเคราะห์แบบแยกประเด็น ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิดที่ส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ตามกรอบการประเมิน PISA 2022 มี 4 แนวทาง ประกอบด้วย การเตรียมความพร้อมก่อนและระหว่างการจัดการเรียนรู้ การใช้คำถามเพื่อกระตุ้นการคิดและสร้างความเข้าใจแนวคิดทางคณิตศาสตร์ การสร้างและการรักษาการมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและการสรุปโดยการเชื่อมโยงแนวคิดทางคณิตศาสตร์ 2) นักเรียนร้อยละ 50 สามารถให้เหตุผลสำหรับการแสดงแทนทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับดีและในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ นักเรียนร้อยละ 58.33 มีการคิดสถานการณ์ของปัญหาในเชิงคณิตศาสตร์อยู่ในระดับดี นักเรียนร้อยละ 62.50 มีการใช้หลักการและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ในการแก้ปัญหาอยู่ในระดับพอใช้และนักเรียนร้อยละ 54.17 มีการตีความและการประเมินผลลัพธ์ทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับพอใช้ |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6405 |
Appears in Collections: | คณะศึกษาศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
63090251.pdf | 4.57 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.