Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6391
Title: Technological Leadership in Academic Management of  School Director, Pichit Primary Educational Service Area 1
ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1
Authors: ANURAK THODKHIAW
อนุรักษ์ ถอดเขี้ยว
Sathiraporn Chaowachai
สถิรพร เชาวน์ชัย
Naresuan University
Sathiraporn Chaowachai
สถิรพร เชาวน์ชัย
sathirapornc@nu.ac.th
sathirapornc@nu.ac.th
Keywords: ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยี
การบริหารงานวิชาการ
ผู้บริหารสถานศึกษา
Technological Leadership
Academic Management
School Director
Issue Date:  3
Publisher: Naresuan University
Abstract: This research aims to  study the technology leadership in academic management of the school director in Pichit Primary Educational Service Area 1  and study the development guidelines about technology leadership in academic management of the school director in Pichit Primary Educational Service Area 1   There are 2 sections of the research: Step 1 Study the technology leadership in academic management of the school director. Collected data using questionnaire with school directors in total of 97 person by Stratified Random Sampling. To analyze the data using percent score, mean score, and standard deviation. Step 2 To study the development guidelines about technology leadership in academic management of the school director.  By using the results of section 1 to figure out the guidelines. Collected data using an interview form with 5 qualified person. using content analysis. The results of research were as below:  1. The technology leadership in academic management of the school director in Pichit Primary Educational Service Area 1  is in a high level. Once considered separately, the legal literacy and technology ethics is in a very high level. Another areas ranked as follow: supporting personnel in using technology, which ranked as high level. And the lowest ranked is using technology for educational evaluation.  Which Also ranked in high level.    2. The development guidelines of technology leadership in academic management of the school director found that the school director considering about board of education who has technology literacy cooperate in setting the school’s visions to administrate the school. The directors always developing themselves in technological knowledge and support the teachers in technology literacy. Set up the technology infrastructure and developing the school l’s technology database. Educating their teachers in using technology for education regarding to ethics and legitimacy.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตรเขต 1 และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตรเขต 1 การวิจัยครั้งนี้แบบออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา  เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม กับผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 97 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา จากการนำผลการศึกษาจากขั้นตอนที่ 1 มาศึกษาแนวทาง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ กับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า  1. ผลการศึกษาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตรเขต 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านความรู้ทางกฎหมายและจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการส่งเสริมสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในการจัดการและการปฏิบัติงานของบุคลากร อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการใช้เทคโนโลยีในการวัดและประเมินผลทางการศึกษา อยู่ในระดับมาก 2. ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา คือ ผู้บริหารสถานศึกษาพิจารณาควรเลือกคณะกรรมการสถานศึกษา ที่มีความรู้ความสามารถทางเทคโนโลยี มาร่วมกำหนดวิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยีของสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาพัฒนาตนเองด้านเทคโนโลยีอยู่เสมอและส่งเสริมให้ครูและบุคลากรมีความรู้ทางเทคโนโลยี รวมถึงดำเนินการจัดทำโครงสร้างพื้นฐานและพัฒนาระบบฐานข้อมูลทางเทคโนโลยีของสถานศึกษา รวมถึงการให้ความรู้แก่ครูและบุคลากรเกี่ยวกับการดำเนินงานวิชาการบนหลักพื้นฐานของคุณธรรม จริยธรรม และบทบัญญัติทางกฎหมาย
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6391
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63070949.pdf1.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.