Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6390
Title: | THE LEARNING LEADERSHIP AND GUIDELINES FOR DEVELOPING LEARNING LEADERSHIP OF SCHOOL ADMINISTRATORS UNDER THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE SUKHOTHAI ภาวะผู้นำการเรียนรู้และแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย |
Authors: | SUPAPHAN JEESON สุภาพรรณ จี้สอน Jitima Wannasri จิติมา วรรณศรี Naresuan University Jitima Wannasri จิติมา วรรณศรี jitimaw@nu.ac.th jitimaw@nu.ac.th |
Keywords: | ภาวะผู้นำการเรียนรู้ ผู้บริหารสถานศึกษา Learning Leadership School Administrators |
Issue Date: | 2 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | This study aimed to: 1) investigate learning leadership of administrators from schools under the Secondary Educational Service Area Office Sukhothai and 2) determine the guideline for developing learning leadership of administrators from schools under the Secondary Educational Service Area Office Sukhothai. Sample group in the study are Two hundred and ninety-one (291) of personnel under the Secondary Educational Service Area Office Sukhothai in academic year 2021 that determining sample size by using Krejcie & Morgan’s tabel. Study tools are five-point Rating Scale Questionnaire. Analytical statistics used for analyzing obtained data were Frequency, Percentage, Mean and Standard Deviation. Informants about guideline for developing learning leadership is education administrator, school director and educational supervisor were recruited by using Purposive sampling method. Study tools are essay-based interview form were employed to collect data. Analytical statistics used for analyzing obtained data were Content Analysis.
Results indicated that:
1. Learning leadership of administrators from schools under the Secondary Educational Service Area Office Sukhothai, in overall, was at high level. By considering on each aspect, although it was found that at high level in all aspects, learning for self-improvement aspect had highest mean, followed by technology application in educational operations aspect, and learning innovation creation aspect had lowest mean.
2. Guideline for developing learning leadership of administrators from schools under the Secondary Educational Service Area Office Sukhothai as following aspects:
2.1 Learning and self-improvement: habitual knowledge acquisition, continual training attendance, collateral learning at higher level, being as a role model of learning person, applying knowledge to school administration properly, and self-improvement to be skillful person and able to give advice to his/her subordinates.
2.2 Team-based learning: Creating the Professional Learning Community (PLC) to exchange, learn, and use the communication skills to stimulate, motivate, inspire the team members; work together with team; allocate work responsibility and duties among team members by considering on trait and aptitude basis; develop the leadership to gain the potential of team members.
2.3 Learning innovation creation: creating innovation in line with current situation; determining his/her own vision and goals clearly; using research processes to solve problems and leading to learning innovation creation; developing teachers’ understanding and knowledge; and applying PLC process to encourage teachers to create learning innovation.
2.4 Learning – friendly environment: allocating the budgets for making learning – friendly environment appropriately; examining individual development plan (ID PLAN) of teachers thoroughly in order to provide the support that meet their requirements; keeping environment clean and conductive to learning; following the rules and regulations of original affiliation stringently to ensure safety in educational institutions.
2.5 Technology application in educational operations: budget planning for supporting technologies constantly; applying the technologies for self-improvement as knowledgeable and professional persons; using the technologies as tools for operations appropriately, developing teachers and personnel to be able to use the technologies in their works by employing different methods as well as motivating the teachers to use the technologies in learning management. การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาพฤติกรรมภาวะผู้นำการเรียนรู้เป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย ปีการศึกษา 2564 จำนวน 291 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ Krejcie & Morgan เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเรียนรู้เป็นผู้บริหารการศึกษา ผู้อำนวยการสถานศึกษา และศึกษานิเทศก์ จำนวน 3 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์แบบเติมคำตอบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง รองลงมา คือ ด้านการใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติงาน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรมการเรียนรู้ 2. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย ในแต่ละด้าน ดังนี้ 2.1 ด้านการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ได้แก่ แสวงความรู้อยู่เสมอ เข้ารับการอบรมอย่างต่อเนื่อง ศึกษาความรู้เพิ่มเติมในระดับการศึกษาที่สูงขึ้น ทำตัวให้เป็นแบบอย่างในการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ นำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการบริหารสถานศึกษาอย่างเหมาะสม และพัฒนาตนเองให้มีความเชี่ยวชาญจนสามารถให้คำปรึกษาแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาได้ 2.2 ด้านการเรียนรู้เป็นทีม ได้แก่ การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC) เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ใช้ทักษะการสื่อสารเพื่อกระตุ้น จูงใจ สร้างแรงบันดาลใจให้บุคคลในทีม ทำงานไปด้วยกันกับทีม แบ่งหน้าที่การทำงานในทีมโดยวิเคราะห์คนและมอบหมายงานให้ตรงกับความถนัดของบุคคล และพัฒนาผู้นำตามเพื่อดึงศักยภาพของบุคคลในทีม 2.3 ด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ สร้างสรรค์นวัตกรรมให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน กำหนดวิสัยทัศน์และเป้าหมายการทำงานของตนเองให้ชัดเจน ใช้กระบวนการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาและนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ สร้างความเข้าใจให้ครูและใช้กระบวนการ PLC ส่งเสริมครูในการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ 2.4 ด้านการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ได้แก่ จัดสรรงบประมาณเพื่อจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างเพียงพอ ศึกษาแผนพัฒนาตนเอง (ID PLAN) ของครู เพื่อให้การสนับสนุนได้ตรงความต้องการของครู จัดสภาพแวดล้อมให้สะอาดและสะดวกต่อการเรียนรู้ ปฏิบัติตามกฎระเบียบของหน่วยงานต้นสังกัดอย่างเคร่งครัด เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในสถานศึกษา 2.5 ด้านการใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติงาน ได้แก่ วางแผนการใช้งบประมาณเพื่อสนับสนุนด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง ใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาตนเองให้เป็นผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และใช้เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงานอย่างเหมาะสม พัฒนาครูและบุคลากรด้วยวิธีการ ต่าง ๆ เพื่อให้สามารถใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติงานได้ รวมทั้งกระตุ้นให้ครูใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6390 |
Appears in Collections: | คณะศึกษาศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
63070901.pdf | 3.34 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.