Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6386
Title: | THE NEEDS AND GUIDELINES TO PROMOTION OF ACADEMIC ADMINISTRATION TOWARDS EXCELLENCE IN SECONDARY SCHOOL UNDER THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE PHICHIT ความต้องการจำเป็นและแนวทางการส่งเสริมการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร |
Authors: | SIRIWAT BOONTONOT ศิริวัฒน์ บุญโตนด Sathiraporn Chaowachai สถิรพร เชาวน์ชัย Naresuan University Sathiraporn Chaowachai สถิรพร เชาวน์ชัย sathirapornc@nu.ac.th sathirapornc@nu.ac.th |
Keywords: | ความต้องการจำเป็น แนวทางการส่งเสริม การบริหารงานวิชาการ ความเป็นเลิศ Essential Needs Promotion Guidelines Academic administration Excellence |
Issue Date: | 2 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | The purpose of the study was to the need and guidelines for promoting academic administration to the excellence of secondary schools under the Phichit Secondary Education Service Area Office. The research method is divided into 2 stages, is step 1 The need and guidelines for promoting academic administration to the excellence of secondary schools under Phichit Secondary Education Service Area Office, by using questionnaires with administrators and teachers in schools under the Phichit Secondary Education Service Area Office, total 285 people, be divided into 30 executives, obtained by Purposive Sampling and teachers a total of 255 people were obtained through a random stratified method, It calculates the proportion of teachers at each school affiliated with the analysis of data using average, standard deviation and the prioritization of the necessary needs (PNImodified ), this is step 2 The guidelines for promoting academic administration to the excellence of secondary schools under Phichit Secondary Education Service Area Office. The information was obtained through interviews with qualified persons, a total of Five people analyzed the data by analyzing the content. The results revealed that.
1. The result of a study on needs academic administration to the excellence of secondary schools under Phichit Secondary Education Service Area Office, overall, equal to 0.399. When considering each aspect, it was found that the areas with the highest demand index are curriculum management and development, followed by education supervision Research for learning development of media and learning resources measurement and evaluation, respectively and the areas with the lowest need index are the organizing and development of learning.
2. The result of a study on guidelines for promoting academic administration to the excellence of secondary schools under Phichit Secondary Education Service Area Office, it was found that Educational Service Area Office, the educational quality development plan, and the action plan of the Educational Service Area Office should be adjusted to be in line with the learning management guidelines for academic excellence of learners. A guide to measuring and evaluating excellence is prepared, the establishment of learning management clinics, including setting policies to encourage teachers to publish and publish research results, into TCI 1 or TCI 2, with tertiary institutions as mentors. School administrators should encourage teachers to organize activities or develop proactive learning management activities. It is consistent with KUSK principles including knowledge, universality, skills of life, and kindness, as well as allowing students to participate in self-determination or measurement and evaluation methods. It focuses on academic excellence and student performance, and there is an exchange of learning using the Peer Coaching model both within and between learning subject groups. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นและแนวทางการส่งเสริมการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร โดยวิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาความต้องการจำเป็นในการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร โดยใช้แบบสอบถามกับผู้บริหารและครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร จำนวน 285 คน โดยแบ่งเป็นผู้บริหารจำนวน 30 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง และครู จำนวน 255 คน ได้มาจากวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (stratified random sampling) โดยคำนวณเทียบสัดส่วนครูแต่ละโรงเรียนในสังกัด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (PNImodified ) ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร ข้อมูลได้มาจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการศึกษาความต้องการจำเป็นในการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร ในภาพรวมเท่ากับ 0.399 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีดัชนีความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ ด้านการบริหารและการพัฒนาหลักสูตร รองลงมา คือ ด้านการนิเทศการศึกษา ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาสื่อและแหล่งเรียนรู้ ด้านการวัดและประเมินผล ตามลำดับ และด้านที่มีดัชนีความต้องการจำเป็นต่ำสุด คือ ด้านการจัดและพัฒนาการเรียนรู้ 2. ผลการศึกษาแนวทางการส่งเสริมการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร พบว่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรปรับแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแผนปฏิบัติการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้สอดคล้องกับแนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการของผู้เรียน มีการจัดทำคู่มือการวัดและประเมินผลความเป็นเลิศ การจัดตั้งคลินิกการจัดการเรียนรู้ รวมถึงการกำหนดนโยบายในการส่งเสริมให้ครูผู้สอนเผยแพร่และตีพิมพ์ผลงานวิจัย ลงใน TCI 1 หรือ TCI 2 โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง (U-School Mentoring) ส่วนผู้บริหารสถานศึกษา ควรส่งเสริมให้ครูผู้สอนจัดกิจกรรมหรือพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และมีความสอดคล้องกับหลักการ KUSK ได้แก่ ความรู้ (Knowledge), ความเป็นสากล (Universal), ทักษะชีวิต (Skills of life) และคุณธรรม (Kindness) รวมถึงควรเปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายหรือวิธีการวัดและประเมินผลด้วยตนเอง โดยมุ่งเน้นความเป็นเลิศทางวิชาการและสมรรถนะของผู้เรียนและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยใช้รูปแบบเพื่อนร่วมพัฒนาวิชาชีพ (Peer Coaching) ทั้งภายในและระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6386 |
Appears in Collections: | คณะศึกษาศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
63070789.pdf | 4.1 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.