Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6382
Title: State, Problems and Guidelines for the Management of Supplies According to the Principles of Good Governance School Administrators Under the Phichit Primary Educational Service Area Office 1
สภาพ ปัญหาและแนวทางการบริหารงานพัสดุตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1
Authors: WANDEE KETKAEW
วันดี เกตุแก้ว
Tussana Siputta
ทัศนะ ศรีปัตตา
Naresuan University
Tussana Siputta
ทัศนะ ศรีปัตตา
tatsanas@nu.ac.th
tatsanas@nu.ac.th
Keywords: การบริหารงานพัสดุ, ผู้บริหารสถานศึกษา, หลักธรรมาภิบาล
Parcel Management School Administrator Good Governance Principles
Issue Date:  2
Publisher: Naresuan University
Abstract: The objective of this research was to study the state, problems and guidelines for the management of supplies according to the principles of good governance of educational institution administrators Under the Phichit Primary Educational Service Area Office 1, the research method was divided into 2 steps : Step 1 : The state, problem of supplies management according to the good governance of the educational institution administrators. The group of informants consisted of 132 parcel workers in educational institutions for the academic year 2021 by selecting a specific sample group. collect data with questionnaires It is characterized as a 5-level estimation scale with a confidence value of 0. 995 Data were analyzed by means of mean and standard deviation. Step 2 : Study of the guidelines for the management of supplies according to the principles of good governance of the school administrators. The group of informants consisted of 3 experts, obtained by selective selection. Collecting data with an interview form and analyze the data by analyzing the content. The results of the research showed that 1.  The state of the management of supplies in the educational institutions according to the good governance of the administrators of the educational institutions Under Phichit Primary Educational Service Area Office 1, as a whole, it was in a high level. When considering each aspect, it was found that the aspect with the highest average was maintenance and parcel inspection. and the aspect with the lowest average was the distribution of parcels. 2.  Problems in the management of supplies in educational institutions according to the principles of good governance of educational institution administrators Under Phichit Primary Educational Service Area Office 1, the overall level was at a low level. When considering each aspect, it was found that the aspect with the highest average was the procurement of supplies. and the aspect with the lowest average was the maintenance and inspection of parcels. 3.  The results of a study on the guidelines for the management of supplies in educational institutions according to the principles of good governance of educational institution administrators Under the Phichit Primary Educational Service Area Office 1, there are development guidelines as follows :      3.1   In terms of procurement of supplies, it was found that educational institute administrators should select from personnel who are competent and qualified for the job      3.2   In terms of service, it was found that the administrators of the educational institutions should monitor, monitor, and verify the documents to be correct. and take care of storing parcels according to the nature of use clearly.      3.3   In terms of maintenance and inspection of supplies, it was found that educational institution administrators should invite the committee to inspect the annual parcel inspection report. and arrange for maintenance of equipment to be able to be used always.      3.4   Regarding the distribution of parcels, it was found that the administrators of the educational institutes should appoint a committee to examine the value of the parcels based on the clear value of the auction price. and provide an annual report on the distribution of parcels of educational institutions for the Comptroller General's Department to check regularly.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหาและแนวทางการบริหารงานพัสดุตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 มีวิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานพัสดุตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครูพัสดุ จำนวน 132 คน ปีการศึกษา 2564 โดยการเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.995 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และขั้นตอนที่ 2 การศึกษาแนวทางการบริหารงานพัสดุตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน โดยการเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1.  สภาพการบริหารงานพัสดุตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการบำรุงรักษาและการตรวจสอบพัสดุ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการจำหน่ายพัสดุ 2.  ปัญหาการบริหารงานพัสดุตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการจัดหาพัสดุ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการบำรุงรักษาและการตรวจสอบพัสดุ 3.  ผลการศึกษาแนวทางการบริหารงานพัสดุตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 มีแนวทางในการพัฒนา ดังนี้      3.1   ด้านการจัดหาพัสดุ พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาควรคัดเลือกจากบุคลากรที่มีความสามารถ และมีคุณสมบัติเหมาะสมกับงาน      3.2   ด้านการบริการ พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาควร กำกับ ติดตาม ตรวจสอบเอกสารให้มีความถูกต้อง และดูแลการจัดเก็บพัสดุตามลักษณะการใช้งานอย่างชัดเจน       3.3   ด้านการบำรุงรักษาและการตรวจสอบพัสดุ พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาควรเชิญคณะกรรมการเข้ามาตรวจสอบรายงานการตรวจสอบพัสดุประจำปี และจัดให้มีการซ่อมแซมบำรุงอุปกรณ์ให้สามารถใช้งานได้เสมอ      3.4   ด้านการจำหน่ายพัสดุ พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบความคุ้มค่าของพัสดุโดยยึดหลักความคุ้มค่าของราคาขายทอดตลาดให้ชัดเจน และจัดให้มีการรายงานการจำหน่ายพัสดุประจำปีของสถานศึกษาให้กรมบัญชีกลางตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6382
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63070697.pdf2.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.