Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6379
Title: A STUDY OF TECHNOLOGY DIGITAL FOR  LEARNING  MANAGEMENT OF TEACHER AT SCHOOL UNDER SUKHOTHAI PRIMARY EDUCATION SERVICE AREA OFFICE 2
การศึกษาการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2
Authors: RATTANAWADEE TINGTRONG
รัตนาวดี เที่ยงตรง
Chalong Chatruprachewin
ฉลอง ชาตรูประชีวิน
Naresuan University
Chalong Chatruprachewin
ฉลอง ชาตรูประชีวิน
chalongc@nu.ac.th
chalongc@nu.ac.th
Keywords: การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้ ,การจัดการเรียนรู้ของครู ,เทคโนโลยีดิจิทัล
To Use Technology Digital For Learning Management. Learning Management Of Teacher. Technology Digital.
Issue Date:  3
Publisher: Naresuan University
Abstract: The objectives of research were to study in technology digital for learning management of teacher at school under Sukhothai primary education service area office 2. and to study guideline in development as technology digital for learning management of teacher at school under Sukhothai primary education service area office 2. The research methods were 2 steps. Firstly, the study to use technology digital for learning management under Sukhothai primary education service area office 2. The tools used to collect data was the questionnaire with 302 teachers, which applied by mean and standard deviation. The second step to study guideline in development as technology digital for learning management at school under Sukhothai primary education service area office to collect data from 3 experts, which applied by context method. The result of research was: 1. To study to use technology digital for learning management under Sukhothai primary education service area office 2. Overall, at the highest average swore is the used the technology digital and lowest average Score is the evaluation to use technology digital. 2. The result of a study guideline in development as technology for learning management at school under Sukhothai primary education service area office 2 were 1) design of digital technology: There is a development guideline by the school administrators should develop teachers by allowing them to receive training to change Reskill and Upskill to encourage teachers to study and learn on their own from various learning sources. Use the existing technological processes to support the needs of teachers and the educational area office should have supervision to follow up on the use by creating a follow-up supervision through the supervision process to bring information to summarize the results of corrective actions and development 3)development of digital technology: There is a development guideline by which educational institution administrators should develop teachers to be up to date with the media, know how to use various applications, analyze and synthesize applications to be suitable for learning management activities, encourage teachers to develop themselves through a workshop on using media critically in a digital society. 3) the used the technology digital: There is a development guideline by the school administrators should support and encourage teachers to create an understanding of computer-assisted teaching programs through a workshop, lead talented teachers to help as a mentor to share learning experiences. There is also a budget support and create morale and morale for teachers to work as well as being open to accepting the application of the program. 4) the evaluation to use technology digital: There are guidelines developed by educational institutions that should encourage teachers to create an understanding of the design of learning assessments via e-mail. Criteria to measure effective results according to learning objectives should be supported and organizational budgets should be supported both software and hardware for teachers and students to the fullest. There is a follow-up, measure, and evaluation of the teacher's use via E-mail and see the feedback for improvement and the Educational Service Area Office should conduct regular supervision, supervision, and monitoring of educational institutions.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 และเพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2  โดยใช้แบบสอบถามกับครูจำนวน 302 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาแนวทางในการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 ข้อมูลได้จากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการศึกษาการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปใช้ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการประเมินผลการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล 2. ผลการศึกษาแนวทางในการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 พบว่า 1) ด้านการออกแบบการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล  มีแนวทางการพัฒนาโดยผู้บริหารสถานศึกษาควรพัฒนาครูโดยให้เข้ารับการฝึกอบรมเปลี่ยนทักษะ และเพิ่มเติมทักษะ ส่งเสริมครูศึกษาค้นคว้าเรียนรู้ด้วยตนเอง จากการแหล่งเรียนรู้ต่างๆ นำกระบวนการทางเทคโนโลยีที่มีมาช่วยสนับสนุนความต้องการของครู และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรมีการนิเทศติดตามการใช้งาน โดยสร้างแบบนิเทศติดตาม ผ่านกระบวนการนิเทศ เพื่อนำข้อมูลมาสรุปผลดำเนินการแก้ไขและพัฒนา 2) ด้านการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล  มีแนวทางการพัฒนาโดยผู้บริหารสถานศึกษาควรพัฒนาครูให้มีความรู้เท่าทันสื่อ รู้ถึงการใช้งานแอปพลิเคชันต่างๆ วิเคราะห์และสังเคราะห์แอปพลิเคชัน ให้เหมาะสมต่อกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ สนับสนุนให้ครูผู้สอนพัฒนาตนเองผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการใช้สื่ออย่างมีวิจารณญาณในสังคมยุคดิจิทัล 3) ด้านการนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปใช้  มีแนวทางการพัฒนาโดยผู้บริหารสถานศึกษาควรสนับสนุน ส่งเสริม ครูให้สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ผ่านช่องทางการอบรมเชิงปฏิบัติการ นำครูที่มีความสามารถ มาคอยช่วยชี้แนะ เป็นพี่เลี้ยงให้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ อีกทั้งมีการสนับสนุนงบประมาณ และสร้างขวัญและกำลังใจให้ครูในการทำงาน พร้อมทั้งเปิดใจยอมรับการนำโปรแกรมเข้ามาใช้งาน 4) ด้านการประเมินผลการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล มีแนวทางการพัฒนาโดยสถานศึกษาควรส่งเสริมให้ครูสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับออกแบบการประเมินผลการเรียนรู้ผ่าน E-mail มีการกำหนดเกณฑ์ในการวัดผลอย่างมีประสิทธิภาพตามจุดประสงค์การเรียนรู้และควรสนับสนุนงบประมาณการจัดองค์การทั้งด้านซอฟต์แวร์ และฮาร์ดแวร์ ให้กับครูและผู้เรียนอย่างเต็มที่ มีการติดตามวัดและประเมินผลในการใช้งานผ่าน E-mail ของครู และดูผลข้อมูลย้อนกลับเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตามสถานศึกษาอย่างสม่ำเสมอ
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6379
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63070635.pdf3.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.