Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6378
Title: A STUDY OF STATES AND GUIDLINES OF EDUCATION MANAGEMENT IN SUFFICIENCY ECONOMY AT SUFFICIENCY  BASED SCHOOLS UNDER PHICHIT PRIMARY EDUCATION  SERVICE AREA OFFICE 1
การศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของสถานศึกษาพอเพียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1
Authors: RACHANON PHENGTAENG
รชานนท์ เพ็งแตง
Jitima Wannasri
จิติมา วรรณศรี
Naresuan University
Jitima Wannasri
จิติมา วรรณศรี
jitimaw@nu.ac.th
jitimaw@nu.ac.th
Keywords: การบริหารจัดการศึกษา
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
สถานศึกษาพอเพียง
Educational Management
Sufficiency Economy
Sufficiency Based Schools
Issue Date:  2
Publisher: Naresuan University
Abstract: The objectives of this research were to study of states of education management in sufficiency economy at sufficiency-based schools under Phichit Primary Education Service Area Office 1. The sample in this study comprised the directors and teachers of sufficiency-based schools under Phichit Primary Education Service Area Office 1. The total of sufficiency-based schools are 50 schools. There are 50 directors, 642 teachers. The total is 692 people at sufficiency- based schools under Phichit Primary Education Service Area Office 1 by purposive sampling. The tools used to collect data were the questionnaire on a study of states of education management in sufficiency economy at sufficiency-based schools under Phichit Primary Education Service Area Office 1, which applied the five-level (Rating Scale). The results of the study revealed that; the level of a study of states of education management in sufficiency economy at sufficiency-based schools under Phichit Primary Education Service Area Office 1. On the whole, at the high level. When considering each single aspect, the development of skilled personnel in the school is the highest average score following by the result / success, the curriculum, and the active learning management and the result of Learner development activities. And then the lowest average score is the school management. There were 5 guidelines of education management in sufficiency economy at sufficiency-based schools under Phichit Primary Education Service Area Office 1. To make the lowest average at the guideline to interview for the finding the guideline of education management. Firstly, the school management is following the plan, project and activities of integration with academic to follow education management in sufficiency economy to learn. Second, the curriculum, and the active learning management is the learning management to integrates with unit method of teaching to follow education management in sufficiency economy as the academic standards. Third, the result of learner development activities is the assessment to adjust and develop for the process of learner development activities in a succession system according with education management in sufficiency economy. Forth, the development of skilled personnel in the school is the meeting, train, seminar and field trip about a sufficiency economy for the guidelines. In conclusion, the result / success is the personnel in the school can be management the other resources at the balance with their live life with sufficiency economy.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพในการบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของสถานศึกษาพอเพียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 (2) เพื่อศึกษาแนวทางในการบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของสถานศึกษาพอเพียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1   ในการวิจัยครั้งนี้กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู ของสถานศึกษาพอเพียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 จำนวน 50 โรงเรียน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 50 คน ครู ของสถานศึกษาพอเพียง จำนวน 642 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 692 คน โดยผู้บริหารสถานศึกษา และครูของสถานศึกษาพอเพียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยเลือกเก็บข้อมูลจากโรงเรียนที่เป็นสถานศึกษาพอเพียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม คือ แบบสอบถามสภาพการบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของสถานศึกษาพอเพียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 มีลักษณะเป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) ผลการวิจัยพบว่า (1) การศึกษาสภาพการบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีการปฏิบัติสูงสุด ได้แก่ ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา รองลงมาได้แก่ ด้านผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และด้านที่มีการปฏิบัติต่ำที่สุด ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา (2) แนวทางการบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของสถานศึกษาพอเพียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 จำนวน 5 แนวทาง โดยนำด้านที่มีข้อเฉลี่ยต่ำที่สุดเพื่อนำมาเป็นแนวทางในการสัมภาษณ์และหาแนวทางทางการบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของสถานศึกษาพอเพียง ดังนี้ (1) ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ได้แก่ การติดตามผลแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ด้านวิชาการที่ส่งเสริมการบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนรู้ (2) ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีหน่วยการเรียนรู้บูรณาการ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตรงตามมาตรฐานการเรียนรู้ (3) ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ได้แก่ มีการนำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนาการดำเนินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอย่างเป็นระบบต่อเนื่องสอดคล้องตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (4) ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา ได้แก่ มีการจัดประชุม อบรม สัมมนา ศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ และ (5) ด้านผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ ได้แก่ บุคลากรของสถานศึกษา มีการจัดการทรัพยากรด้านต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุล ที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6378
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63070598.pdf3.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.